pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

คำมูลและคำประสม

คำมูล และคำประสม มีความแตกต่างกัน เพราะว่า คำมูล คือ คำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือ เป็นคำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะอาจเป็นคำไทยดั้งเดิมหรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ก็ได้ และจะเป็นคำ ” พยางค์ ” เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้

ส่วนคำประสมนั้น คือ คำที่สร้างจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป เกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ แต่ยังมีเค้าของความหมายเดิม ส่วนมากมักเป็นการประสมคำระหว่างคำไทยกับคำไทยแต่อาจมีคำประสมบางคำที่ประสมระหว่างคำไทยกับคำภาษาอื่น ดังนั้น จึงต้องมีการแยกแยะจำแนกประเภทและลักษณะของคำมูลและคำประสมให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการนำเอาคำเหล่านี้ไปใช้ในงานเขียน งานประพันธ์ และการให้ความหมายของคำในประโยคการสื่อสารได้อย่างถูกต้องต่อไป

คำมูล

คำมูล คือ คำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือ เป็นคำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะอาจเป็นคำไทยดั้งเดิมหรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ก็ได้ และจะเป็นคำ ” พยางค์ ” เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
“พยางค์” คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ ซึ่งจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ วิธีนับว่ามีกี่พยางค์นั้นโดยเมื่อเราอ่านออกเสียง ๑ ครั้ง ถือว่าเป็น ๑ พยางค์ ถ้าออกเสียง ๒ ครั้งถือว่าเป็น ๒ พยางค์

เช่น สิงโต (สิง-โต) มี ๒ พยางค์
จักรวาล (จัก-กระ-วาน) มี ๓ พยางค์
มหาวิทยาลัย (มะ-หา-วิด-ทะ-ยา-ลัย) มี ๖ พยางค์ เป็นต้น

คำมูลแบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ
๑.คำมูลพยางค์เดียว เช่น เพลง,ชาม,พ่อ,ยืน,หิว,ยิ้ม,สุข,ใน ( คำไทยแท้ ) ฟรี,ไมล์,ธรรม ( คำที่มาจาก

ภาษาอื่น )ตัวอย่างของคำมูล

ภาษาไทย – พ่อ แม่ หมู หมา แมว น้อง
ภาษาจีน – เกี๊ยะ เกี๊ยว เจี๊ยะ แป๊ะ ซิ้ม
ภาษาอังกฤษ – ไมล์ เมตร ปอนด์ ฟุต

  ๒. คำมูลหลายพยางค์ เป็นคำหลายพยางค์ เมื่อแยกแต่ละพยางค์แล้ว อาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ แต่ความหมายของแต่ละพยางค์ไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคำมูลนั้นเลย เช่น กระดาษ ศิลปะ กำมะลอ หรือกล่าวได้ว่า คำมูล คือคำที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
            ๒.๑ ประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น จิ้งหรีด จะเห็นว่าพยางค์ ” จิ้ง ” และ ” หรีด ” ต่างก็ไม่มีความหมาย
            ๒.๒ ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายเพียงบางพยางค์ เช่น กิริยา จะเห็นว่าพยางค์ ” ยา ” มีความหมายเพียงพยางค์เดียว
            ๒.๓ ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมาย แต่ความหมายของคำนั้นไม่มีเค้าความหมายของแต่ละพยางค์เหลืออยู่เลย


ข้อสังเกตคำมูล
คำมูลหลายพยางค์ ควรดูว่าในคำหลายพยางค์นั้นมีความหมายทุกพยางค์หรือไม่ ถ้ามีความหมายบ้างไม่มีความหมายบ้างเป็นคำมูลหลายพยางค์ เช่น
มะละกอ = คำมูล ๓ พยางค์ นาฬิกา = คำมูล ๓ พยางค์
          มะ = ไม่มีความหมาย นา = มีความหมาย
          ละ = มีความหมาย ฬิ = ไม่มีความหมาย
          กอ = มีความหมาย กา = มีความหมาย

คำประสม

คำประสม

คำประสม คือ คำที่สร้างจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป เกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ แต่ยังมีเค้าของความหมายเดิม ส่วนมากมักเป็นการประสมคำระหว่างคำไทยกับคำไทยแต่อาจมีคำประสมบางคำที่ประสมระหว่างคำไทยกับคำภาษาอื่น

ลักษณะสำคัญของคำประสม

๑. .เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาประสมกัน แล้วเกิดความหมายใหม่แต่ยังมีเค้าความหมายเดิมอยู่เช่น

พ่อตา หมายถึง พ่อของภรรยาประสมกันระหว่างคำว่าพ่อ หมายถึง สามีของแม่
ตา หมายถึง ด่อของแม่
ลูกน้ำ หมายถึง ลูกของยุงประสมกันระหว่างคำว่าลูก หมายถึง บุตร
น้ำ หมายถึง ของเหลว

๒. สามารถแยกเป็นคำๆได้ และคำที่แยกได้แต่ละคำมีความหมายต่างกัน เมื่อนำมารวมกันความหมายต่างจากคำเดิม เช่น

แม่    หมายถึง   หญิงผู้ให้กำเนิด
บ้าน หมายถึง ที่อยู่อาศัย
=แม่บ้าน   หมายถึง  หญิงผู้จัดการงานในบ้าน
คอ หมายถึง ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับลำตัว
ห่าน หมายถึง สัตว์เลี้ยงจำพวกเป็ด คอยาว
=คอห่าน หมายถึง ส่วนของโถส้วม

๓. คำที่มาประสมกันจะเป็นคำมูลในภาษาใดก็ได้ เช่น

เข็มทิศมาจากคำในภาษาไทย + สันสกฤต
รถเก๋งบาลี + จีน
ห้องโชว์ไทย + อังกฤษ
ราชวังบาลี + ไทย
ปักษ์ใต้สันสกฤต + ไทย
โปรแกรมหนังอังกฤษ + ไทย

๔. ประสมที่เกิดจากคำมูล ซึ่งมีลักษณะเป็นการย่อคำหลาย ๆ คำ ส่วนมากมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า    นัก   ชาว    ช่าง    หมอ    การ    ความ    ผู้    ของ    เครื่อง    เช่น

นักนักร้อง นักเขียน นักเรียน นักสู้ นักเลง นักรัก นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
ชาวชาวบ้าน ชาวเมือง ชาวนา ชาววัง ชาวไร ชาวดอย ชาวเขา ชาวเล ฯลฯ
ช่างช่างไม้ ช่างเสริมสวย ช่างปูน ช่างไฟฟ้า ช่างกล ช่างยนต์ ช่างพูด ฯลฯ
หมอหมอดู หมอความ หมอยา หมอผี หมอหนวด ฯลฯ
การการบ้าน การเมือง การไฟฟ้า การเงิน การคลัง การโรงแรม ฯลฯ
ความความดี ความชั่ว ความสุข ความร้อน ความหนาว ความเย็น ความทุกข์ ความเหนื่อยล้า ฯลฯ
ผู้ผู้ใหญ่ ผู้ดี ผู้อำนวยการ ผู้น้อย ผู้ร้าย ผู้ช่วย ผู้ต้องหา ฯลฯ
ของของใช้ ของไหว้ ของเล่น ของตาย ของชำร่วย ของขลัง ของกลาง ฯลฯ
เครื่องเครื่องหมาย เครื่องบิน เครื่องมือ เครื่องครัว เครื่องใน ฯลฯ
ที่ที่นอน ที่ดิน ที่เขี่ยบุหรี่ ที่เที่ยว ที่พัก ที่กิน ที่ดำเนิน ที่นั่ง ที่ทาง ฯลฯ

๕. ประสม จะเป็นคำชนิดใดประสมกันก็ได้ เช่น

นาม + นามเช่นแม่น้ำ พ่อบ้าน แปรงฟัน แมวน้ำ ปลาทะเล ฯลฯ
นาม + กริยาแบบเรียน เข็มกลัด เข็มเข็ด ยาดม ยานวด ฯลฯ
กริยา + นามเล่นตัว เข้าใจ ได้หน้า กินใจ ทำตัว ฯลฯ
กริยา + กริยาต้มยำ พิมพ์ดีด จดจำ ท่องจำ กล่าวขาน ตบตี สั่นสู้ ฯล
นาม + วิเศษณ์น้ำแข็ง ถั่วเขียว สะพานแดง หัวหอม ฯลฯ
บุพบท + นามข้างถนน นอกคอก ต่อหน้า ลับหลัง กับข้าว ฯลฯ
วิเศษณ์ + วิเศษณ์อ่อนหวาน หวานเย็น สูงลิ่ว ฯลฯ
วิเศษณ์ + นาม อ่อนข้อ สองหัว ฯลฯ

หลักการสังเกตคำประสม

คำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปรวมกัน เกิดคำใหม่ มีความหมายใหม่ เป็นคำประสม  ตัวอย่าง เช่น

พัดลมหมายถึงเครื่องพัดให้เย็นด้วยแรงไฟฟ้า
มือแข็งไม่ค่อยยกมือไหว้คนง่ายๆ
เสื้อกล้ามเสื้อชั้นในชาย
ลูกน้องผู้ที่คอยติดสอยห้อยตาม

คำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปรวมกัน ไม่เกิดความหมายใหม่ ไม่ใช่คำประสม  ตัวอย่างเช่น

ลมพัดหมายถึงลมโชยมา
มือขาดมือถูกสิ่งใดสิ่งหนึ่งตัดขาด
คอเจ็บคออักเสบ

สรุป

คำประสม คือ คำมูลสองคำขึ้นไปประสมกัน เกิดคำใหม่ มีความหมายใหม่ เช่น

น้ำ + ยา + ล้าง + จานเป็นน้ำยาล้างจาน
ไม้ + แขวน + เสื้อเป็นไม้แขวนเสื้อ

คำมูลสองคำขึ้นไปรวมกันไม่เกิดคำใหม่ ไม่เกิดความหมายใหม่ ไม่ใช่คำประสม เช่น

หางเสือหมายถึงหางของเสือ (เป็นวลี ไม่ใช่คำประสม)
หางเสือหางเสือเรือ (เป็นคำประสม)
ผ้าขาวผ้าสีขาว (เป็นคำวลี ไม่ใช่คำประสม)
น้ำขาวน้ำเมา (เป็นคำประสม)
ปูตายปูแสดงอาการตาย (เป็นประโยค ไม่ใช่คำประสม)
ปูม้าปูทะเลชนิดหนึ่ง (เป็นคำประสม)

ข้อสังเกตคำประส
๑) คำประสมจะเป็นวิทยาการสมัยใหม่ เช่น เตารีด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เย็น เครื่องอบผ้า เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ
๒) คำประสมเป็นคำเดียวกันจะแยกออกจากกันไม่ได้ ความหายจะไม่เหมือนเดิม เช่น นางแบบ  รับรอง  มนุษย์กบ  คำประสมจะเป็นคำใหม่เกิดขึ้น
๓) วิธีสังเกตค่ำประสมนักจะมีลักษณะนามให้เห็นอย่างเด่นชัด เช่น ใบนี้  คนนี้ ชุดนี้ ฯลฯ   เช่น วันนี้ไม่มีคนใช้คนนี้เลย  (คำประสม)
๔) คำประสมที่ขึ้นตนด้วยคำว่า “ลูก แม่” ต้องหมายถึงคนจึงจะเป็นคำประสม เช่น ลูกเสือ (คน)   แม่มด (คน)   ถ้าเป็นลูกของเสือ แม่ของมด  จะเป็นคำเรียงกันธรรมดา  ยกเว้น ลูกน้ำเป็นคำประสม  เพราะมีความหมายเปลี่ยนไป ไม่ใช่ลูกของน้ำ แต่เป็นลูกของยุง เป็นต้น