pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

คำสนธิ

คำสนธิคืออะไร

คำสนธิ ในภาษาไทย หมายถึง คำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต มาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง

๑. สระสนธิ คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น

วิทย+อาลัย = วิทยาลัย พุทธ+อานุภาพ = พุทธานุภาพ มหา+อรรณพ = มหรรณพ นาค+อินทร์ = นาคินทร์ มัคค+อุเทศก์ = มัคคุเทศก์ พุทธ+โอวาท= พุทโธวาท รังสี+โอภาส = รังสิโยภาส ธนู+อาคม = ธันวาคม

๒. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น รหสฺ + ฐาน = รโหฐาน มนสฺ + ภาว = มโนภาว(มโนภาพ) ทุสฺ + ชน = ทุรชน นิสฺ + ภย = นิรภัย

๓. นฤคหิตสนธิ ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนฤคหิต กับคำอื่นๆ เช่น สํ + อุทัย = สมุทัย สํ + อาคม = สมาคม สํ + ขาร = สังขาร สํ + คม = สังคม สํ + หาร = สังหาร สํ + วร = สังวร

ความหมาย

คำสนธิ เป็นการนำคำมูลที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มาเชื่อมเข้าด้วยกัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ หรือนิคหิตที่เชื่อม ให้ท้ายเสียงของคำหน้ากับต้นเสียงของคำหลังมีเสียงกลมกลืนกันเป็นคำใหม่

หลักการสังเกต

๑. คำสนธิต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น

๒. เมื่อนำคำมาสนธิกันแล้ว จะกลายเป็นคำเดียว และจะต้องแปลจากคำหลังมาคำหน้า

๓. คำที่จะนำมาสนธิกัน จะต้องมีทั้งสระหน้าและสระหลัง

๔. เมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ หรือนิคหิตที่เชื่อมเสมอ

วิธีการจำ

สนธิ = เชื่อม, การเชื่อมคำด้วยสระ พยัญชนะ และนิคคหิต

ตัวอย่างคำสนธิ

พุทธานุภาพ มหรรณพ มหัศจรรย์ เทศภิบาล วิทยาคม ภัณฑาคาร พันธนาการ ปริยานุช รัฏฐาภิบาล ราโชวาท โลกาธิบดี โลกาธิปไตย วชิราวุธ วัตถาภรณ์ วันทนาการนาคินทร์ มหินทร์ ราเมศวร มหิทธิ ปรมินทร์ ปรเมนทร์ รัชชูปการ มัคคุเทศก์ ราชูปโภค จตุราริยสัจจ์ โสตทัศนูปกรณ์

จะเห็นได้ว่า คำสนธิ ก็คือการเชื่อมคำระหว่างคำมูลที่มาจากภาษาบาลี หรือภาษาสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำ ขึ้นไป รวมเป็นคำเดียวกัน มีการเชื่อมกลืนกันโดยใช้หลักการแปลสระ ลงพยัญชนะเพิ่มเติม และการแปลงนิคคหิต ซึ่งล้วนแล้วแต่มีวิธีการแปลงตามหลักไวยากรณ์ที่เป็นที่นิยม จึงได้คำใหม่ออกมา ซึ่งนอกจากจะเป็นคำที่มีความสละสลวยแล้ว ยังสามารถย่นย่อคำให้เป็นไปได้ดั่งใจของผู้ทำการสนธิอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถสร้างคำที่มีความหมายใหม่ หรือเสริมความหมายของคำให้ดูมีความพิเศษเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งถ้าหากผู้ในใจลองพิจารณาสังเกตดูให้ดี และทดลองเชื่อมคำ และแยกคำตามหลักการสนธิได้แล้ว ก็จะเพิ่มอรรถรสในการเรียนภาษาไทยได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเลยทีเดียว…