pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

คำสมาส

คำสมาส คือ คำที่เกิดจากการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดคำใหม่ ที่มีความหมายใหม่ โดยยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่

หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย 
๑. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป 
๒. เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ
๓. พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก (ยกเว้นคำบางคำ เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น) 
๔. แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, เทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของเทวดา,ราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน 
๕. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ) 
๖. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส (เช่น พระกร พระจันทร์)
๗. ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา (เช่น ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ จิตวิทยา)
๘. อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น

ประวัติศาสตร์อ่านว่าประ –หวัด –ติ –ศาสตร์
นิจศีลอ่านว่านิจ –จะ –สีน
ไทยธรรมอ่านว่าไทย –ยะ –ทำ
อุทกศาสตร์อ่านว่าอุ –ทก –กะ –สาด
อรรถรสอ่านว่าอัด –ถะ –รด
จุลสารอ่านว่าจุน –ละ –สาน

๙. คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี ภัย ภัณฑ์ ภาพ ลักษณ์ วิทยา ศาสตร์ 

ข้อสังเกต
๑. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น

เทพเจ้า(เจ้า เป็นคำไทย)
พระโทรน(ไม้ เป็นคำไทย)
พระโทรน(โทรน เป็นคำอังกฤษ)
บายศรี(บาย เป็นคำเขมร)

๒.คำที่ไม่สามารถแปลความจากหลังมาหน้าได้ไม่ใช่คำสมาส เช่น

ประวัติวรรณคดีแปลว่าประวัติของวรรณคดี
นายกสมาคมแปลว่านายกของสมาคม
วิพากษ์วิจารณ์แปลว่าการวิพากษ์และการวิจารณ์

๓. คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ของคำหน้า เช่น

ปรากฏอ่านว่าปรา –กด –กาน
สุภาพบุรุษอ่านว่าสุ –พาบ– บุ –หรุด
สุพรรณบุรีอ่านว่าสุ –พรรณ– บุ –รี
สามัญศึกษาอ่านว่าสา –มัน –สึก –สา

ตัวอย่างคำสมาส

ธุรกิจกิจกรรมกรรมกรขัณฑสีมาคหกรรม
เอกภพกาฬทวีปสุนทรพจน์จีรกาลบุปผชาติ
ประถมศึกษาราชทัณฑ์มหาราชฉันทลักษณ์พุทธธรรม
วรรณคดีอิทธิพลมาฆบูชามัจจุราชวิทยฐานะ
วรรณกรรมสัมมาอาชีพหัตถศึกษายุทธวิธีวาตภัย
อุตสาหกรรมสังฆราชรัตติกาลวสันตฤดูสุขภาพ
อธิการบดีดาราศาสตร์พุพภิกขภัยสุคนธรสวิสาขบูชา
บุตรทานสมณพราหมณ์สังฆเภทอินทรธนูฤทธิเดช
แพทย์ศาสตร์ปัญญาชนวัตถุธรรมมหานิกายมนุษยสัมพันธ์
วิทยาธรวัฏสงสารสารัตถศึกษาพัสดุภัณฑ์เวชกรรม
เวทมนตร์มรรคนายกอัคคีภัยอุดมคติเอกชน
ทวิบาทไตรทวารศิลปกรรมภูมิศาสตร์รัฐศาสตร์
กาฬพักตร์ราชโอรสราชอุบายบุตรทารกทาสกรรมกร
พระหัตถ์พระชงฆ์พระพุทธพระปฤษฏางค์วิทยาศาสตร์
กายภาพกายกรรมอุทกภัยวรพงศ์เกษตรกรรม
ครุศาสตร์ชีววิทยามหกรรมอัฏฐางคิกมรรคมหาภัย
อุบัติเหตุกรรมกรสันติภาพมหานครจตุปัจจัย

จะเห็นได้ว่า คำสมาสนี้ เป็นการนำคำในภาษาบาลีและสันสกฤต มาเรียงต่อกัน โดยไม่ได้มีการแปลงสระ เสริมพยัญชนะหรือว่าลงนิคคหิต-แปลงนิคคหิตเป็นตัวอักษรอื่นๆ ดังเช่นคำสนธิ (คำเชื่อม) แต่อย่างใด มีคำศัพท์ที่เราสังเกตเห็นได้ง่ายๆ ว่า คำเหล่านี้คือคำสมาส ก็เพราะมีจุดเด่นๆ ที่พิจารณาเห็นได้ในทันทีว่าคือคำสมาส ดังคำศัพท์ที่ได้ยกตัวอย่างมาพอให้เห็นเป็นตัวอย่างข้างต้นนั้นแล้ว อย่าลืมนะครับว่า คำสมาสต่อโดยไม่ได้เชื่อมไม่ได้แปลงอะไร ไม่ได้สวมกลืนระหว่างคำระหว่างศัพท์เข้าด้วยกันเหมือนคำสนธิ เพราะคำสมาสคือการนำศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ มาเรียงต่อกัน โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ให้แตกต่างไปจากเดิมมากนัก แค่นำคำศัพท์ตั้้งแต่ ๒ ศัพท์มาเรียงต่อกันให้กลายเป็นคำใหม่ ซึ่งอาจจะคงความหมายแบบเดิม หรือเปลี่ยนความหมายไปเลยก็ได้…