pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

ชวนชมกวีฟรีดอม

บทกวีแนวเชิญชวน เชิญชม ให้เข้ามาอ่านและทำความรู้จักกับสุนทรียะแห่งกวีที่เป็นสไตล์เฉพาะตัวของ “กวีฟรีดอม” นี้ มีที่มาที่ไปที่อยากจะนำมาบอกกล่าวให้กับทุกท่านได้รับทราบเป็นปฐมบทเบื้องต้น ก่อนที่จะได้เข้าไปดื่มด่ำกับสุนรีย์รสแห่งบทกวี ที่สื่อสารออกมาตามแนวความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และรสนิยมของผู้แต่งอย่างตรงไปตรงมา และที่มีเนื้อหาซับซ้อน ชวนให้ตีความกันเพิ่มเติมอีกก็คงมีอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน มีความสุขกับการเสพรสแห่งกวีศิลป์ของ “กวีฟรีดอม” ไปพร้อมๆ กันเลยครับ

เริ่มแรก ขออนุญาตทุกท่านนำบทกวีบทแรกมานำเสนอให้กับทุกท่านได้อ่านและศึกษาเป็นปฐมบท ดังภาพประกอบที่อยู่ด้านบนของบทความนี้แล้ว ด้วยการประพันธ์เป็นกลอนกระทู้ (กลอน 8) ที่ว่า

ชวน เถิดเชิญ เลิร์นนิ่ง สิ่งสรรค์สร้าง

ชม ช่องทาง วางคีย์ วิถีศิลป์

กวี ตรึก ฝึกเน้น เป็นอาจิณ

ฟรีดอม อิน ศิลปะ ชโลมใจ ฯ

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากคำแรกไล่เรียงลงมาในแต่ละบาทแล้ว คือคำว่า “ชวนชมกวีฟรีดอม” ก็จะเห็นได้ว่า มีความหมายและอมความได้หมดในตัวของมันเองแล้ว แต่ก็ยังได้ขยายความหมายของแต่ละคำออกไปอีก โดยถ่ายทอดเป็นทบกลอนออกมา เพื่อให้มีความหมายชี่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไปอีก

แนวคิด

สำหรับแนวคิดในการประพันธ์บทกวีบทนี้ขึ้นมา ก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการใช้ถ้อยคำในเชิงกวีศิลป์ เชิญชวนให้ทุกท่านหันมาสนใจ และทดลองเสียสละเวลาสักนิดของแต่ละท่าน เข้ามาอ่านและเยี่ยมชมให้กำลังใจกับผู้ประพันธ์ ที่ได้ใช้ความอุตสาหะและตั้งใจอย่างยวดยิ่ง ที่จะกลั่นกรองเอาความรู้และจิตนาการเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด มาขบคิดและกลั่นกรองออกมาเป็นบทกวี ซึ่งอาจจะกล่าวไม่ได้ว่าเป็นบทกวีที่ดีที่สุด หรือมีความถูกต้อง สมบูรณ์พร้อมที่สุดแต่อย่างใด หากแต่ได้ประพันธ์เอาไว้ เพื่อเป็นของฝาก ของขวัญ ไว้ให้เป็นบรรณาการแก่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่ได้กรุณาเสียสละเวลาในการเข้ามาอ่านและให้ความสนใจ ตลอดจนให้กำลังใจผู้ประพันธ์ ให้มีแรงใจในการผลิตผลงานออกมาสู่สายตาของสาธารณชน แม้ว่าจะอยู่ในวงจำกัดสักเพียงใดก็ตาม ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “กวีฟรีดอม” จะได้ทำหน้าที่รับใช้ทุกท่านได้พอสมควร ในมิติที่ทุกท่านเปิดใจปรารถนาต้องการจะให้ “กวีฟรีดอม” ได้รับใช้ในมุมมองใดของแต่ละท่านนั่นเอง

แรงบันดาลใจ

สำหรับแรงบันดาลใจที่นำมาสู่การประพันธ์บทกลอนบทนี้ก็คือ เมื่อได้ริเริ่มที่จะทำเพจหรือบทความที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับบทกวีต่างๆ แล้ว ก็อยากจะมีคำโปรย หรือคำเชิญชวนที่น่าสนใจร่วมด้วย เพื่อเพิ่มอรรถรสของการนำเข้าสู่เนื้อหาสาระที่อยู่ภายในในความหมายเชิงเชิญชวนโดยนำเอาเทคนิคการประพันธ์แบบกลอนกระทู้เข้ามาใช้ในการสื่อความหมาย

ความหมาย

สำหรับความหมายของบทกวีบทนี้ ก็สามารถจำแนกออกได้เป็นข้อๆ ตามเนื้อหาของบทกวีที่ได้ประพันธ์ไว้ข้างต้นนั้น ดังนี้

  1. ชวน เถิดเชิญ เลิร์นนิ่ง สิ่งสรรค์สร้าง หมายถึง การเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านและท่านผู้สนใจลองเปิดใจมาศึกษา (มีการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า (เลิร์นนิ่ง – Learning ซึ่งแปลว่า การเรียน หรือการศึกษา ในบทกวีนี้ด้วย) ตัวอย่างบทกวีที่ถือว่าเป็นสิ่งใหม่ เป็นนวัตกรรม เป็นสิ่งสร้างสรรค์ที่ช่วยจรรโลงจิตใจของทุกคนให้ได้อรรถรสไปกับบทกวี ที่สามารถสื่อความหมายและอารมณ์ รวมถึง แนวคิด ทัศนคติ ค่านิยม ข้อคิด คติธรรม และจินตนาการการมองโลกและชีวิตของผู้ประพันธ์ว่า มีแนวโน้มไปในทิศทางใด และพยายามจะสื่อสารอะไรกับผู้อ่านเป็นสำคัญ
  2. ชม ช่องทาง วางคีย์ วิถีศิลป์ หมายถึง การเปิดใจที่จะชื่นชมงานประพันธ์ที่นำเสนอนี้อย่างพินิจพิเคราะห์ ผ่านช่องทางด้านหลักเกณฑ์ของกวีนิพนธ์ ด้วยกฎเกณฑ์ และเทคนิคการประพันธ์ในรูปแบบที่น่าสนใจ ในแนวทางของงานศิลปะกรรมแขนงหนึ่งอันทรงคุณค่าของไทยและของโลก
  3. กวี ตรึก ฝึกเน้น เป็นอาจิณ หมายถึง ในส่วนตัวของผู้ประพันธ์เอง ก็จะพยายามฝึกหัดทักษะทางด้านการประพันธ์บทกวีอยู่อย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะไม่อาจจัดบทกวีที่ผู้ประพันธ์เหล่านี้ให้เป็นบทกวีที่มีคุณค่า ได้รับการยอมรับ และได้รับความนิยม หรือมีความสมบูรณ์แบบที่สุด แต่ก็จะพัฒนาทักษะในการประพันธ์บทกวีให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปกว่าเดิมอย่างแน่นอน
  4. ฟรีดอม อิน ศิลปะ ชโลมใจ หมายความว่า แม้จะเป็นบทกวีที่มีการประพันธ์ตามกฎและหลักเกณฑ์ในเชิงฉันทลักษณ์ตามแบบฉบับที่โบราณาจารย์ได้วางกฎเกณฑ์ไว้อย่างเหนียวแน่นก็ตาม แต่ก็ยังคงแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ของผู้ประพันธ์เอาไว้อย่างเด่นชัด นั่นก็คือ การใช้คำว่า “ฟรีดอม” ซึ่งเป็นการทับศัพท์มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษที่ว่า ” Freedom” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า “อิสรภาพ” หรือ “ความอิสระ” คือ ผู้ประพันธ์ยังคงมีอิสระในการแต่งบทกวีในอัตลักษณ์ของตัวเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับความต้องการ หรือสิ่งบงการอื่นใดมาครอบงำ และอาจหมายความไปถึง การที่ผู้ประพันธ์สามารถที่จะนำเสนอแง่มุมต่างๆ จากประสบการณ์ แนวคิด และความเห็นส่วนตัว ผ่านการมองโลก ชีวิต สิ่งแวดล้อม และปรากฏการณ์ต่างๆ ผ่านบทกวี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสังคมในทางใดทางหนึ่งได้ด้วย เพราะการให้ความอิสระมาใช้ในงานศิลปะ (อิน มาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “In” ซึ่งแปลว่า “ใน”) ก็ส่งผลให้งานศิลปะได้ทำงานรับใช้สังคมอย่างสร้างสรรค์ได้ด้วย (ชโลมใจ)

การเลือกใช้คำ

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ในบทประพันธ์นี้ มีการเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับบริบทที่ผู้ประพันธ์ต้องการจะสื่อสารเพื่อเชิญชวนให้มาอ่านและศึกษาบทกวีนิพนธ์ที่ผู้ประพันธ์ได้เขียนขึ้นอย่างเป็นอิสระจากสิ่งครอบงำทางความคิดใดๆ ซึ่งนอกจากจะมีการใช้คำศัพท์ในภาษาไทยที่สื่อความหมายได้ตรงกับสิ่งที่ผู้ประพันธ์ต้องการสื่อสารออกไปแล้ว ยังมีการนำเอาศัพท์ในภาษาอังกฤษมาใช้ในการอธิบายความหมายมาสอดแทรกเสริมให้บทประพันธ์มีความทันสมัย โดยยังคงรักษากฎเกณฑ์ของการประพันธ์บทกวีไว้ได้อย่างครบถ้วน ทั้งสัมผัสสระ สัมผัสอักษร สัมผัสนอก และสัมผัสใน เป็นต้น ก็ยังคงอยู่ในกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และถึงแม้ว่าจะมีการออกนอกเหนือกฎเกณฑ์ทางฉันทลักษณ์บ้างก็ตาม แต่ก็คงอยู่ในลักษณะที่ยังพอรับได้ ไม่ถือว่าเป็นการผิดหลักเกณฑ์ที่ร้ายแรงแต่อย่างใด ในแนวคิดของ “กวีฟรีดอม” นี้

ความพิเศษ

สำหรับความพิเศษของบทกวีบทนี้ ก็คือ การเลือกใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษมาประพันธ์ผูกกับคำศัพท์ในภาษาไทย ผ่านกฎเกณฑ์และข้อบังคับทางฉันทลักษณ์ได้อย่างลงตัวในระดับหนึ่ง ซึ่งถือว่าใช้ได้ แม้จะยังไม่สมบูรณ์แบบที่สุดก็ตาม….

แพรวพราวดอทคอม/

praewprouds.com

“แพรวด้วยความรู้

พราวด้วยประสบการณ์”