pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

พยัญชนะในภาษาไทย

พยัญชนะในภาษาไทย

พยัญชนะไทย คือ เครื่องหมายหรือตัวอักษร ก-ฮ ที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะในภาษาไทย เพื่อนำไปประกอบเป็นคำที่มีความหมายสำหรับใช้สื่อสาร พยัญชนะไทยมี ๔๔ ตัว ๒๑ เสียง แบ่งได้เป็นอักษร ๓ หมู่ หรือไตรยางศ์ หาคำตอบว่าพยัญชนะไทยมีอะไรบ้าง และมีกี่เสียง รวมทั้งสื่อการสอนและแบบฝึกเขียนพยัญชนะไทย ๔๔ ตัว

สรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับพยัญชนะไทย

๑. พยัญชนะไทยคืออะไร? 

พยัญชนะไทย คือ เครื่องหมายหรือตัวอักษร ก-ฮ ที่ใช้แทนเสียงในภาษาไทย

๒. พยัญชนะไทยมีกี่ตัว? 

พยัญชนะไทยมี ๔๔ ตัว (รูป) และ ๒๑ เสียง

๓. ไตรยางศ์คืออะไร และพยัญชนะไทยแบ่งออกเป็นกี่หมู่? 

ไตรยางศ์ คือ ระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็น ๓ หมู่ตามไตรยางศ์ คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ

๔. อักษรสูงมีอะไรบ้าง? 

อักษรสูง มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

๕. อักษรกลางมีอะไรบ้าง? 

อักษรกลาง มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ

๖. อักษรต่ำมีอะไรบ้าง? 

อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

พยัญชนะไทยคืออะไร

พยัญชนะไทย คือ เครื่องหมายหรือตัวอักษร ก-ฮ ที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะในภาษาไทย เพื่อนำไปประกอบเป็นคำที่มีความหมายสำหรับใช้สื่อสาร เสียงของพยัญชนะ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมา โดยจะแตกต่างกันออกไปตามการถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง ทำให้ได้เสียงที่หลากหลาย

พยัญชนะไทยจะอ่านและเขียนโดยเรียงจากซ้ายไปขวา ขณะที่สระอาจวางอยู่ด้านหน้า หลัง บน หรือ ล่างพยัญชนะเพื่อประกอบเป็นคำ ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของสระ

พยัญชนะไทยมีกี่ตัวและมีตัวอักษรอะไรบ้าง

ตัวอักษรไทยหรือพยัญชนะไทยมีทั้งหมด ๔๔ ตัว ก-ฮ หรือ ๔๔ รูป ๒๑ เสียง ดังต่อไปนี้

ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช
ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด
ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ
ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส
ห ฬ อ ฮ

พยัญชนะไทยมี ๔๔ รูป ๒๑ เสียง เนื่องจากพยัญชนะบางตัวมีเสียงซ้ำกัน เช่น ข ฃ ค ฅ ฆ และมีพยัญชนะสองตัวที่ไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งได้แก่ ฃ และ ฅ

พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็นกี่หมู่ และไตรยางศ์คืออะไร

พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็น ๓ หมู่ หรือที่รู้จักกันว่า “ไตรยางศ์” ทั้งนี้ ไตรยางศ์ คือ ระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทยโดยรูปพยัญชนะ ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ของพยัญชนะแต่ละหมวด โดยยึดเอาพื้นเสียงของพยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์เป็นเกณฑ์ โดยเสียงวรรณยุกต์ หมายถึง ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา

การจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น ๓ หมู่ตามไตรยางศ์ คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ

อักษรสูง

  • อักษรสูง มี ๑๑ ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห โดยผันได้ ๓ เสียง คือ เอก โท จัตวา
  • วิธีท่องจำอักษรสูง คือ ผี ฝาก ถุง (ฐ, ถ) ข้าว (ฃ, ข) สาร (ศ, ษ, ส) ให้ ฉัน

อักษรกลาง

  • อักษรกลาง มี ๙ ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ โดยผันได้ ๕ เสียง คือ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
  • วิธีท่องจำอักษรกลาง คือ ไก่ จิก เด็ก (ด, ฎ) ตาย (ต, ฏ) บน ปาก โอ่ง

อักษรต่ำ

  • อักษรต่ำมี ๒๔ ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ โดยผันได้ ๓ เสียง คือ สามัญ โท ตรี
  • อักษรต่ำยังแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ อักษรคู่ (มีอักษรสูงเป็นคู่) ๑๔ ตัว และอักษรเดี่ยว ๑๐ ตัว
  • วิธีจำอักษรต่ำเดี่ยว คือ งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก
  • วิธีจำอักษรต่ำคู่ คือ พ่อ (พ, ภ) ค้า (ค, ฅ) ฟัน ทอง (ฒ, ฑ, ท, ธ) ซื้อ ช้าง ฮ่อ

ไตรยางค์ หรือ ไตรยางศ์?

๑) คำที่ถูกต้อง คือ : ไตรยางศ์

๒) คำที่มักเขียนผิด คือ : ไตรยางค์

ตัวสะกดที่ถูกต้องตามพจนานุกรม คือ ไตรยางศ์ (ศ ศาลา) โดยที่ “ไตรยางศ์” แปลว่า สามส่วน มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย + อํศ (ไตร + องศ์)

หน้าที่ของพยัญชนะไทย

ตัวอย่างหน้าที่ของพยัญชนะ ได้แก่

  • เป็นพยัญชนะต้นของคำ เป็นตัวแรกของคำหรือพยางค์ เช่น คน สวย
  • เป็นพยัญชนะท้ายคำหรือตัวสะกด ซึ่งเรามักเรียนรู้ในรูปมาตราตัวสะกด เช่น คำว่า ตก หรือ สุข ที่มีตัวสะกดอยู่ในมาตราแม่ กก
  • เป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำ เช่น กล้า (กล)
  • เป็นอักษรนำ-อักษรตาม เช่น หวาน หรูหรา อย่า อยู่ อย่าง อยาก
  • เป็นอักษรย่อ เช่น ม.ค. ย่อมาจาก มกราคม
  • เป็นตัวการันต์ เช่น จันทร์ สัตว์

ประวัติอักษรไทยและเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับภาษาไทย

  • พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย หรือ “ลายสือไทย” ขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๘๒๖ โดยดัดแปลงมาจากอักษรมอญ อักษรขอม และอักษรอินเดียฝ่ายใต้
  • หลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหง อักษรไทยได้มีการปรับปรุงต่อมาเรื่อย ๆ และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๒๓ ตัวอักษรไทยได้เริ่มมีรูปทรงคล้ายกับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
  • พยัญชนะมี ๔๔ รูป แต่มีเสียงเพียง ๒๑ เสียงเท่านั้น เพราะพยัญชนะบางรูปจะมีเสียงซ้ำกัน
  • สระในภาษาไทยมี ๒๑ รูป
  • วรรณยุกต์ไทยมี ๔ รูป ๕ เสียง
  • พยัญชนะไม่สามารถออกเสียงตามลำพังได้ โดยต้องอาศัยเสียงสระช่วยเพื่อให้ออกเสียงเป็นคำ
  • ภาษาไทยมีความเป็นเอกลักษณ์ เพราะประกอบไปด้วยพยัญชนะไทย สระ และวรรณยุกต์
  • ภาษาไทยมีเลขไทย หรือตัวอักษรไทยที่เป็นตัวเลข ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
  • วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย

คุณค่าของพยัญชนะไทย

พยัญชนะไทยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งอดีตกรุงสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงคิดค้นประดิษฐ์อักษรไทย หรือ ลายสือไทยโดยดัดแปลงมาจากทั้งอักษรขอม มอญ และอินเดียใต้ และได้วิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้่งในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้มีลักษณะของตัวอักษรหรือพยัญชนะต่างๆ คล้ายๆ กับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่เชิงว่าจะเป็นตัวอักษรแบบที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้เลยทีเดียว แต่ได้มีการพัฒนาการรูปลักษณ์ของตัวอักษรมาเรื่อยๆ ทั้งในส่วนของพยัญชนะ รูปสระ รูปวรรณยุกต์ และเครื่องหมายทางภาษาต่างๆ อีกมากมาย รวมถึงตัวเลขที่ใช้ด้วย

เมื่อเราได้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของอักษรไทย ที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องและทรงไว้ซึ่งคุณค่าควรแก่ความภาคภูมิใจเช่นนี้แล้ว จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอนุรักษ์ภาษาไทยให้เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนไทยเราไปตราบนานเท่านาน…