
AAA High Quality Luxury Replica Watches UK Online Sale At https://replicaclone.is.
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ พยางค์ประกอบด้วย เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และอาจมีเสียงตัวสะกดด้วย เช่น
มา | ม เป็นเสียงพยัญชนะต้น +า เป็นเสียงสระ + เสียงวรรณยุกต์สามัญ |
บ้าน | บ เป็นเสียงพยัญชนะต้น +า เป็นเสียงสระ +น เป็นเสียงตัวสะกดแม่กน + เสียงวรรณยุกต์โท |
องค์ประกอบของพยางค์
พยางค์มีองค์ประกอบ ดังนี้
๑. | เสียงพยัญชนะต้น |
๒. | เสียงสระ |
๓. | เสียงวรรณยุกต์ |
๔. | เสียงสะกด |
เสียงพยัญชนะต้น คือ เสียงที่เปล่งออกมาก่อน บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยว บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำก็ได้ เช่น
อ่าง | พยัญชนะต้น คือ | อ |
ลิฟท์ | พยัญชนะต้น คือ | ล |
ดาว | พยัญชนะต้น คือ | ด |
คลอง | พยัญชนะต้น คือ | คล |
ไกร | พยัญชนะต้น คือ | กร |
ขวาน | พยัญชนะต้น คือ | ขว |
เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งตามติดมากับเสียงพยัญชนะ เช่น
งา | เสียงสระ | อา |
ชล | เสียงสระ | โอะ |
เกาะ | เสียงสระ | เอาะ |
ไก่ | เสียงสระ | ไอ |
ดี | เสียงสระ | อี |
เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาพร้อมกับเสียงสระ เพื่อให้มีระดับเสียงสูงต่ำต่างกันไป
ใหญ่ | เสียงวรรณยุกต์ | เอก |
เพื่อ | เสียงวรรณยุกต์ | โท |
สี | เสียงวรรณยุกต์ | จัตวา |
พยางค์
การที่เราเปล่งเสียงออกมาจากลำคอครั้งหนึ่ง ๆ นั้น เราเรียกเสียงที่เปล่งออกมาว่า “พยางค์” แม้ว่าเสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม เช่น เราเปล่งเสียง “สุ” ถึงจะไม่รู้ความหมาย หรือไม่รู้เรื่องเราก็เรียกว่า ๑ พยางค์
หากเราเปล่งเสียงออกมาอีกครั้งหนึ่งว่า “กร” จะเป็น “สุกร” จึงจะมีความหมาย คำว่า “สุกร” ซึ่งเปล่งเสียง ๒ ครั้ง เราก็ถือว่ามี ๒ พยางค์
เสียงที่เปล่งออกมาครั้งเดียวมีความหมาย เช่น นา หมายถึง ที่ปลูกข้าว เสียงที่เปล่งออกมาว่า “นา” นี้เป็น ๑ พยางค์
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม ถ้าเปล่งเสียงออกมา ๑ ครั้ง ก็เรียก ๑ พยางค์ เปล่งออกมาสองครั้งก็เรียก ๒ พยางค์
พยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ออกมาพร้อม ๆ กัน พยางค์ที่มีความหมายอาจจะเป็นพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ พยางค์แต่ละพยางค์จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วนขึ้นไป คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์
การประกอบสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าเป็นพยางค์เรียกว่า การประสมอักษรมี ๔ วิธี คือ
๑. การประสมสามส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ เช่น กา มีองค์ประกอบ คือ ๑) พยัญชนะต้น คือ ก ๒) สระ อา ๓) วรรณยุกต์ เสียงสามัญไม่มีรูป
๒. การประสมสี่ส่วน คือ การประสมพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ เช่น เกิด มีองค์ประกอบคือ ๑) พยัญชนะต้น ก ๒) สระ เออ ๓) วรรณยุกต์ เสียงเอกไม่มีรูป ๔) ตัวสะกด ด
๓. การประสมสี่ส่วนพิเศษ คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้าย พยางค์ที่ไม่ออกเสียงหรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์ เช่น เล่ห์ มีองค์ประกอบ คือ ๑) พยัญชนะต้น ล ๒) สระ เอ ๓) วรรณยุกต์ เสียงโท ๔) ตัวการันต์ ห
๔. การประสมห้าส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือตัวสะกด พยัญชนะท้ายพยางค์ที่ไม่ออกเสียง หรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์ เช่น สรุป โครงสร้างของพยางค์
พยางค์ = เสียงพยัญชนะ + เสียงสระ + เสียงวรรณยุกต์
https://hdmovie2.st/
คำ
คำ คือเสียงที่เปล่งออกมามีความหมาย จะมีกี่พยางค์ก็ได้ เช่น
นา | มี ๑ พยางค์ | อ่านว่า นา | หมายถึง | พื้นที่ราบทำเป็นคันกั้นน้ำเป็นแปลงๆ |
นาวา | มี ๒ พยางค์ | อ่านว่า นา – วา | หมายถึง | เรือ |
นาฬิกา | มี ๓ พยางค์ | อ่านว่า นา – ลิ – กา | หมายถึง | เครื่องบอกเวลา |
นาฏดนตรี | มี ๔ พยางค์ | อ่านว่า นา – ตะ – ดน- ตรี | หมายถึง | ลิเก |
นาวิกโยธิน | มี ๕ พยางค์ | อ่านว่า นา – วิ – กะ – โย – ทิน | หมายถึง | ทหารเรือฝ่ายบก |

ขอบคุณที่มา :
www.kroobannok.com
www.trueplookpanya.com
www.tutorferry.com