pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

ภัย 3 อย่าง

คำว่า “ภัย” นั้น แปลว่า “ความกลัว” ซึ่งความจริงแล้ว ในโลกนี้มีภัยอยู่มากมายหลายประการ และมากกว่า 3 ประการที่จะกล่าวต่อไปนี้ เพราะมนุษย์ทุกคนที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ มีภัยมาก คือ มีความกลัวมาก ซึ่งสาเหตุของความกลัวก็มาจากเหตุและปัจจัยหลากหลายอย่างแตกต่างกันไป

คำพระท่านกล่าวว่า ที่คนเรามี “ความกลัว” ก็เพราะมาจากความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ ความคาดเดาไม่ได้ ความคาดการณ์ไม่ได้ ความควบคุมไม่ได้ ความไม่แน่นอน และอยู่นอกเหนืออำนาจการกำกับดูแลของเรา

หากจะกล่าวโดยสรุปแล้วก็คือ สาเหตุสำคัญที่คนเรามีความกลัวต่อสิ่งต่างๆ นั้นก็เพราะ คนๆ นั้น หรือสิ่งๆ นั้น สามารถให้คุณให้โทษเราได้ สามารถดลบันดาลให้ชีวิตของเรามีความเจริญรุ่งเรืองหรือตกต่ำ ดลบันดาลให้เรามีความสุขความทุกข์ได้ และคนๆ นั้น หรือสิ่งๆ นั้น มีอำนาจ มีความรู้ มีสติปัญญาเหนือกว่าเรา เราจึงรู้สึกกลัวขึ้นมา

นั่นเป็นเพราะอะไร นั่นก็เป็นเพราะเรามองว่า ตัวเรานั้นเป็นคนตัวเล็กๆ สู้อำนาจวาสนา สู้สติปัญญา สู้บารมีของคนๆ นั้น หรือสิ่งๆ นั้นไม่ได้ จึงต้องสยบยอมต่อคนๆ นั้น หรือสิ่งๆ นั้น ด้วยความขยาดกลัวว่าคนๆ นั้น หรือสิ่งๆ นั้นจะบันดาลโทษทุกข์ให้แก่เรา

ในทางตรงกันข้าม ด้วยอาศัยเหตุผลคือความกลับหรือ “ภัย” ดังกล่าวแล้วข้างต้นนั้น มนุษย์และสัตว์จำนวนมากที่ตกอยู่ในภาวะแห่งความกลัว ต่างก็พยายามแสดงออกถึงความเคารพนบนอบ ความสยบยอม ด้วยการยอมจำนนต่ออำนาจ และทำสิ่งต่างๆ ที่คิดว่าน่าจะเป็นที่พอใจแก่คนๆ นั้น หรือสิ่งๆ นั้น เพื่อให้ดลบันดาลความสุขสมหวังให้กับตนเองและคนที่เรารัก หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่บัลดาลทุกข์หรือลงโทษเราและคนที่เรารักก็ยังดี

จากเหตุผลดังที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้น คนๆ นั้น หรือสิ่งๆ นั้น อาจจะมีอำนาจ มีสติปัญญา มีฤทธิ์ในการดลบันดาลความสุขความทุกข์ ความผิดหวัง ความสมปรารถนาให้กับเราจริงเท็จอย่างไรก็ไม่อาจจะรู้ได้จริง

เพราะมนุษย์และสัตว์ส่วนมากในโลกนี้มีความกลัวเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว ซึ่งสาเหตุของความกลัวส่วนใหญ่แล้วก็มาจากอวิชชา คือความไม่รู้จริง ความไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมีอำนาจดลบันดาลให้เราได้จริงหรือเปล่า หรือแท้จริงแล้วเราเพียงแต่คิดไปเอง หรือเข้าใจไปเอง

ความเป็นจริงแล้ว คนๆ นั้น หรือสิ่งๆ นั้น อาจไม่ได้มีอำนาจสามารถดลบันดาลทุกข์สุขให้ใครได้เลยก็เป็นได้ หรือถ้าหากจะมีอำนาจสามารถดลบันดาลสุขทุกข์ให้คนเราได้จริงๆ แล้ว ทำไมเราจะต้องเอาชะตาชีวิต ความโชคดี ความโชคร้ายของเราไปฝากไว้กับอารมณ์ขึ้นลงของคนๆ นั้น หรือสิ่งๆ นั้น ซึ่งใช้อำนาจดลบันดาลเราได้ตามอำเภอใจเล่า

ทำไมเราถึงไม่ใช้สติปัญญาความสามารถของเรา พลังภายในตัวเราที่มีอยู่ สร้างสรรค์ และดลบันดาลให้ชีวิตของเราประสบกับความสุข สมหวัง และความรุ่งเรืองด้วยกำลังร่างกาย และกำลังสติปัญญาของเราเองเลยเสียทีเดียว ทำไมต้องยอมสยบจำนนให้กับคนอื่นหรือสิ่งมีอำนาจอื่นๆ ด้วยเล่า

เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว ช่างเป็นเรื่องที่ไร้ศักดิ์ศรี และเป็นเรื่องที่น่าอดสู น่าสมเพชเวทนายิ่งนัก กับการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีสติปัญญาพัฒนาสู่ความเป็นพระอริยบุคคลได้ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร

แต่ก็นั่นแหละ ด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา ด้วยความรู้เท่าไม่ทันใครตามความเป็นจริง เราจึงถูกหลอกอยู่ร่ำไป และมักประสบกับการถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ นั่นเป็นเพราะอะไร นั่นก็เป็นเพราะว่าเราดูถูกดูแคลนสติปัญญาและความรู้ความสามารถของเรา เรามักดูถูกพลังของเราที่มีอยู่มากมายไม่น้อยไปกว่าคนอื่นหรือสิ่งอื่นเลย เพียงแต่ว่าเราไม่เคยใช้มันให้เกิดประโยชน์ หรือพัฒนาพลังที่มีอยู่ภายในตัวตน ภายในจิตใจของเราอย่างเต็มศักยภาพสักทีเท่านั้นเอง

ที่กล่าวไปแล้วข้างต้นทั้งหมดนั้น เป็นการกล่าวถึงภัยคือความกลัวจากสิ่งต่างๆ เช่น ภัยธรรมชาติ เช่นอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย ทุพภิกขภัย เป็นต้น เมื่อมีภัยธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว มนุษย์ส่วนมากก็มองว่าเป็นการลงโทษจากเทพเจ้า หรือมองว่ามนุษย์เราคงจะทำอะไรให้เทพเจ้าพิโรธไม่พอใจอยู่เป็นแน่ เทพเจ้าจึงได้ลงโทษเราเช่นนี้ ส่วนจะเป็นเรื่องจริงเท็จอย่างไรก็ไม่มีใครรู้ได้ แต่ก็พากันมีความเชื่อเช่นนี้ไปแล้วอย่างยากที่จะแก้ไขได้

แต่ว่าภัยธรรมชาติเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ยังมีวันที่จะพอช่วยเหลือแก้ไขได้ หรือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ดำรงอยู่ระยะหนึ่ง ส่งผลกระทบให้กับมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอยู่ในระยะเวลาประมาณหนึ่งก็ค่อยๆ กลับคืนฟื้นสภาพดังเดิมได้ สามารถยื่นมือ ยื่นความช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ให้กันได้บ้าง

แต่ “ภัยของชีวิต” ที่มาพร้อมกับการเกิดของสรรพสัตว์นั้น เป็นภัยที่มีความอันตรายและรุนแรงมากไปกว่านั้นมากนัก และที่สำคัญที่สุด ภัยเหล่านี้ เจ้าของชีวิตของคนๆ นั้น ต้องรับไปเต็มๆ ไม่สามารถที่จะแบ่งปันยกให้ใครรับแทนได้ แม้จะรักแสนรักกันสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจรับแทนกันได้ หรือเป็นแทนกันได้ ภัยของชีวิตดังกล่าวนี้มีอยู่ 3 ประการ คือ

1. ชะราภะยัง – ภัยคือความแก่

ภัยคือความแก่ ภัยประเภทนี้ ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของแห่งชีวิตต้องยอมจำนนรับภัยชนิดนี้ไปแบบเต็มๆ ไม่สามารถจะให้ใครมาแก่แทนเราได้ ถึงแม้ว่าบุตรชาย บุตรสาว พ่อแม่ ญาติพี่น้อง จะรักเราสักเพียงใดก็ตาม จะแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีด้วยการยอมรับเอาสภาวะคือความแก่ชราปันเอามาเป็นของตัว ก็ไม่สามารถทำได้ ไม่สามารถที่จะแก่แทนใครๆ ได้ ความแก่เป็นของๆ ตน ไม่มีใครจะมาช่วยเหลือแบ่งปันหรือทำให้เราไม่แก่ได้เลย เพราะได้ชื่อว่าเป็นภัยเฉพาะบุคคล

2. พยาธิภะยัง – ภัยคือความเจ็บไข้ได้ป่วย

ภัยคือความเจ็บไข้ได้ป่วย พ่อแม่บุพการี เมื่อเห็นบุตรอันเป็นที่รักต้องทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วย รู้สึกสงสารจับใจ ถึงแม้ว่าภายในใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่นั้น อยากจะแบกรับเอาความเจ็บป่วยทุกข์ทนทรมานของบุตรนั้นไว้เสียเองสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่สามารถจะทำได้ ไม่สามารถจะเจ็บป่วย ทุกข์ทรมานแทนบุตรนั้นได้เลย ทำได้แต่เพียงคอยเฝ้าดูแล บำบัดความทุกข์ให้ตามอาการด้วยใจที่ห่วงหาอาทรเท่าที่สามารถจะทำได้เท่านั้น จะให้เจ็บป่วยแทนก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะภัยคือความเจ็บไข้ได้ป่วยนี้ ก็จัดว่าเป็นภัยเฉพาะบุคคลเช่นกัน

3. มะระณะภะยัง – ภัยคือความตาย

ภัยคือความตาย เมื่อความตายมาถึง หรือ เมื่อถึงวาระเวลาที่ต้องตาย คนอื่นๆ ใครๆ จะรักกันสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่สามารถจะยื้อยุด ฉุดรั้ง ผัดผ่อนขอเวลา หรือซื้อเวลาให้มีชีวิตยืนยาวต่อไปอีกได้ จำต้องทำใจยอมรับ จำต้องยอมปล่อยมือ จำต้องให้กฎแห่งกรรม จำต้องให้เหตุปัจจัยแห่งธรรมชาติได้ทำหน้าที่ของมันไป ต่อให้รักแสนรักกันสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจจะแบ่งเบาหรือสามารถตายแทนกันได้เลย เพราะภัยคือความตายนี้ ก็จัดว่าเป็นภัยส่วนตัว เป็นภัยของใครของมัน ไม่อาจจะรับไปตายแทนกันได้เลย

จะเห็นได้ว่า กฎแห่งกรรมนั้นยุติธรรมเสมอ แม้ว่าเราจะสามารถติดสินบนใครต่อใคร จะยอมจ่ายทรัพย์สินเงินทองมากมายเท่าใด เพื่อให้เราได้ในสิ่งที่เราปรารถนาต้องการก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถที่จะติดสินบนให้กฎแห่งกรรมทำตามที่ใจเราปรารถนาต้องการได้เลย ไม่สามารถที่จะไปแก่แทนใคร เจ็บป่วยแทนใคร หรือตายแทนใครได้เลย ถึงแม้ว่าเราจะรักและผูกพันกับคนๆ นั้นมากมายสักเท่าใดก็ตาม

ในทำนองเดียวกัน คนอื่นๆ ที่แม้จะมีความรัก ความห่วงใย ความทุ่มเทเสียสละ ความจงรักภักดีต่อเรามากมายสักเพียงใดก็ตาม เขาเหล่านั้น ก็ไม่สามารถจะแก่แทนเราได้ ไม่สามารถจะเจ็บไข้ได้ป่วยแทนเราได้ และไม่สามารถตายแทนเราได้เลย เพราะภัยทั้ง 3 อย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้วเหล่านั้น เป็นกรรมเฉพาะของๆ ตน ไม่มีใครสามารถรับไปแทนกันได้

ดังนั้น คนเราทุกคนที่เกิดขึ้นมาในโลกใบนี้ ถึงแม้ว่าเราจะมีอำนาจวาสนาบารมี มีเงินมีทองมากมาย มีเพื่อนพ้องข้าทาสบริวารมากมายสักเท่าใดก็ตาม สุดท้ายแล้ว เราก็ไม่สามารถจะให้คนเหล่านั้น หรือทรัพย์สินเหล่านั้นมาเป็นเครื่องช่วยป้องกันหรือยอมที่จะแก่ ยอมที่จะเจ็บป่วย ยอมที่จะตายแทนเราได้เลย เพราะท้ายที่สุดแล้ว….

คนเรามาคนเดียวก็ต้องไปคนเดียว

คนเราทำกรรมอันใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม

เราต้องรับผลของกรรมนั้นอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

เพราะคนเรามีกรรมเป็นของๆ ตน

ไม่สามารถจะยกกรรมของตนให้ส่งผลกับคนอื่นใดได้เลย

แพรวพราวดอทคอม/
praewprouds.com
“แพรวด้วยความรู้
พราวด้วยประสบการณ์”