pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

ยักษ์

ยักษ์คืออะไร

ยักษ์ เป็นอมนุษย์ประเภทหนึ่งที่มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี ยักษ์ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดูและจากศาสนาพุทธ ขณะที่ความเชื่อในภูมิภาคอื่นของโลก มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ชอบกินของสดของคาว ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน

ยักษ์ แปลว่า ผู้ที่ถูกบูชา ผู้ที่ถูกเซ่นสรวง หรือผู้ทำความพยายามให้คนอื่นบูชา ผู้ที่ทำความพยายามให้คนอื่นเซ่นสรวง หากจะว่าโดยความหมายก็คือ ผู้ที่คนอื่นเห็นแล้วต้องหวาดกลัว เห็นแล้วต้องหวาดหวั่น เห็นแล้วต้องยำเกรง เมื่อมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายมีความหวาดกลัวและยำเกรงต่อยักษ์เช่นนี้แล้ว จึงได้ทำการเซ่นสรวง บูชายัญด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ยักษ์เกิดความยินดี เกิดความพอใจ และเมื่อยักษ์เกิดความยินดีและพอใจในสิ่งที่ผู้คนเซ่นสรวงบูชาแล้ว ก็จะไม่มาทำร้ายมนุษย์และสัตว์เหล่านั้น ผู้ทำการบวงสรวงบูชาจนยักษ์เกิดความพึงพอใจ หากแต่ว่าต้องเซ่นสรวงบูชายัญอยู่บ่อยๆ ไม่ให้ขาด ไม่ให้ลืม ยักษ์จึงจะไม่ประทุษร้าย หรือทำร้ายมนุษย์ เพราะมีสิ่งอื่นตอบแทนยักษ์ไปแทนชีวิตมนุษย์ไปแล้ว

ยักษ์มีหลายระดับ ตั้งแต่ยักษ์ชั้นสูง ยักษ์ชั้นกลาง ยักษ์ชั้นล่าง มีความละเอียดประณีตแตกต่างกันตามกำลังบุญที่ได้สร้างและบำเพ็ญมาที่แตกต่างกัน

เรื่องราวเกี่ยวกับยักษ์

ยักษ์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู กล่าวถึงยักษ์ไว้อย่างน่าสนใจว่า เมื่อครั้งที่พระพรหมสร้างโลกขึ้น เมื่อให้กำเนิดน้ำ พระองค์ต้องการให้มีผู้รักษาน้ำนั้น จึงทรงสร้างอมนุษย์ขึ้นมา 2 จำพวก คือ

1. อมนุษย์พวกที่ 1 เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ร้องว่า “หิว” อยู่เป็นนิจ พระพรหมจึงเรียกอมนุษย์พวกนั้นว่า “ยักษ์” แปลว่า “ผู้หิว

2. อมนุษย์พวกที่ 2 ทรงให้รักษาทางน้ำนั้น ทรงตรัสเรียกอมนุษย์จำพวกที่ 2 นี้ว่า “รากษส” แปลว่า “ผู้รักษา” ยักษ์และรากษสจึงเป็นอมนุษย์ที่เป็นพี่น้องกัน

พวกยักษ์นั้น มีลักษณะเหมือนเทวดา แต่มีรัศมีและวรรณะทรามกว่า แต่ยักษ์นั้น เป็นผู้มีทรัพย์มาก มีความสามารถในการค้นหาและรักษาทรัพย์ เป็นผู้ชอบในการดื่มกินอาหาร

ยังมียักษ์อีกจำพวกหนึ่ง มีลักษณะต่ำเตี้ยเหมือนคนแคระ พุงพลุ้ย ผมหยิก เรียกว่า “คุหยัก” เป็นผู้เฝ้ารักษาทรัพย์ตามถ้ำในป่าเขา ส่วนพวกรากษสนั้นมักอาศัยในป่าเขา ในน้ำ ในถ้ำ และจะเฝ้ารักษาอาณาเขตนั้น มีนิสัยดุร้ายกว่าพวกยักษ์ พวกยักษ์นั้นมีทั้งพวกที่ดีและชั่วร้าย

ยักษ์ทั้งหลายถูกปกครองโดยท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสวรรณ) อยู่ที่เมืองอลกา บนยอดเขาคันธมาทน์ แต่ยักษ์บางจำพวกก็ปกครองกันเอง บางพวกก็เป็นมิตรกับอสูร

ยักษ์ในศาสนาพุทธนั้น มักจะหมายถึงเทวดาในชั้นจาตุมมหาราชิกา จะมีหลายระดับขึ้นกับบุญบารมี แบ่งออกเป็น 3 จำพวก คือ

1. ยักษ์ชั้นสูง จะมีวิมานเป็นทอง เป็นแก้วมณี มีรูปร่างสวยงาม มีเครื่องประดับ มีรัศมี แต่ผิวจะดำ ดำอมเขียว อมเหลือง ดำแดงก็มี แต่ว่าดำเนียน มีอาหารทิพย์ มีบริวารคอยรับใช้ ปกติไม่เห็นเขี้ยว เวลาโกรธจึงจะมีเขี้ยวงอกออกมา มีความเป็นอยู่เสวยทิพยสมบัติดังเทวดา

2. ยักษ์ชั้นกลาง ส่วนใหญ่จะเป็นบริวารคอยรับใช้ของยักษ์ชั้นสูง

3. ยักษ์ชั้นต่ำ เป็นยักษ์ที่ทำบุญมาน้อยก็จะมีรูปร่างน่าเกลียด ผมหยิก ตัวดำ ตาโปน ผิวหยาบ เหมือนกระดาษทราย นิสัยดุร้าย

กำเนิดของยักษ์ 3 จำพวก

ยักษ์สามารถถือกำเนิดมาได้ 3 แบบ หรือ 3 จำพวก คือ

1. เกิดแบบโอปปาติกะ คือ เกิดแบบผุดอุบัติขึ้นในทันที เกิดแล้วโตทันที

2. เกิดแบบชลาพุชะ เกิดในครรภ์ คือปฏิสนธิอยู่ในครรภ์ของมารดาก่อนจะคลอดออกมาในภายหลัง

3. เกิดแบบสังเสทชะ เกิดในเหงื่อไคล เกิดในเถ้าไคล หรือเกิดในสิ่งที่หมักหมมต่างๆ

ที่อยู่ของยักษ์

สำหรับที่อยู่ของยักษ์นั้นก็มีหลากหลายขึ้นอยู่กับบุญและกรรมที่ทำมาแตกต่างกัน เช่น ยักษ์บางจำพวกก็มีอยู่ตามถ้ำ ตามเขา ในน้ำ ในดิน ในภพภูมิของมนุษย์ ในอากาศ ยักษ์บางจำพวกมีวิมานอยู่ที่เขาสิเนรุในสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา เสวยทิพยสมบัติในทิพยวิมานประหนึ่งเทวดาชั้นสูง จัดเป็นยักษ์จำพวกที่เป็นผู้อยู่ในการปกครองของท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวรมหาราชผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศเหนือ

บุพกรรมของผู้ที่มาเกิดเป็นยักษ์

สำหรับบุพกรรมที่เป็นสาเหตุให้สัตว์มาเกิดเป็นยักษ์ หรือในภพภูมิแห่งยักษ์นี้ ก็เพราะเมื่อครั้งเป็นมนุษย์นั้น ได้ทำบุญด้วยอารมณ์ความโกรธ ความหงุดหงิด ความกระสับกระส่าย เหนื่อยหน่าย และรำคาญใจ ฯลฯ

แพรวพราวดอทคอม/

praewprouds.com

“แพรวด้วยความรู้

พราวด้วยประสบการณ์”