pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

ศิลปะ

“ศิลปะ” นับได้ว่ามีความสำคัญกับชีวิตของมวลมนุษยชาติมาอย่างช้านาน เพราะศิลปะแต่ละแขนงนั้น เป็นเครื่องมือในการรับใช้มวลมนุษยชาติ ตั้งแต่อดีตมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ศิลปะกับการรับใช้มวลมนุษยชาติ

1. ศิลปะกับอารมณ์ความรู้สึก

“ศิลปะ” เป็นเครื่องมือรับใช้มวลมนุษยชาติ ในฐานะที่เป็นสื่อตัวกลางในการแสดงออกถึงความต้องการ ความปรารถนา ความเคียดแค้น หรือความไม่พอใจ รวมไปถึงการแสดงออกในแง่มุมของความรักอีกด้วย

จะว่าไปแล้ว “ศิลปะ” เป็นเครื่องมือในการกำหนดกฎเกณฑ์และรูปแบบของสังคมให้มีรูปแบบหรือวิวัฒนาการเป็นไปอย่างที่ใจมนุษย์มีความปรารถนาและต้องการ นั่นหมายความว่า มวลมนุษย์สื่อแสดงออกถึงความต้องการ ความเบื่อหน่าย ควารัก ความโกรธ ความแค้นเคือง ความอบอุ่น ความเหงา ความเศร้า และแง่มุมทางความคิด ผ่านงานศิลปะทั้งสิ้น

2. ศิลปะกับสถาปัตยกรรมสิ่งปลูกสร้าง

อาจกล่าวได้ว่า “ศิลปะ” ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายไปในที่สุด ดังจะเห็นได้จาก การตั้งชุมชนและบ้านเมือง ก็ต้องมีรูปแบบการออกแบบทางด้านผังเมือง การสร้างบ้าน การสร้างอาคาร งานสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบและรสนิยมทางศฺลปะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ แต่ละท้องถิ่น ตามความนิยมของชุมชนนั้น บ้านเมืองนั้น หรือตามรสนิยมของผู้ก่อสร้าง เป็นต้น

3. ศิลปะกับเครื่องแต่งกาย

“ศิลปะ” เข้ามารับใช้มวลมนุษยชาติ ผ่านเครื่องแต่งกาย แต่ละชนชาติ แต่ละพื้นที่ แต่ละชุมชน ก็มีการแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป โดยสะท้องถึงความงาม ความปรารถนา และการแสดงออกถึงรสนิยมที่แตกต่างกันไป รวมไปจนถึงปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ และสภาพดินฟ้าอากาศประกอบด้วย ส่งผลให้ศิลปะการแต่งกายของมนุษยชาติแตกต่างกันไปอย่างน่าสนใจ

4. ศิลปะกับอาหารการกิน

“ศิลปะ” ยังเข้ามามีบทบาทสำคัญกับเรื่องของอาหารการกินของแต่ละพื้นที่ แต่ละชุมชน แต่ละชนชาติอีกด้วย ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอกที่แตกต่างกัน รวมไปจนถึงรสนิยมความชื่นชอบรสชาติของอาหาร รูปลักษณ์หน้าตาของอาหาร รวมถึงวัตถุดิบและเครื่องเทศเครื่องปรุง ที่ก็มีความแตกต่างกันไปแต่ละชนชาติ เนื่องจากปัจจัยด้านความเชื่อ ทัศนคติ ประสบการณ์ และรสนิยมที่แตกต่างกัน จึงทำให้ศิลปะของอาหารหวานคาวหรือการรับประทานอาหารของแต่ละท้องที่ และละชุมชนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

5. ศิลปะกับสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

“ศิลปะ” ยังมีความเกี่ยวข้องกันกับเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ เช่นอุปกรณ์เครื่องมือจับสัตว์ เครื่องใช้ในครัวเรือน ยวดยานพาหนะ ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิตมนุษย์ ก็ล้วนแล้วแต่สะท้อนรสนิยมทางความคิด ความปรารถนา และความพึงพอใจของผู้คนแต่ละพื้นที่ แต่ละชุมชนอีกด้วย

6. ศิลปะกับการสื่อสาร

“ศิลปะ” นอกจากจะรับใช้มนุษย์ผ่านที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งหุ่ม ของใช้ไม้สอย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิตมนุษย์แล้ว “ศิลปะ” ยังทำหน้าที่รับใช้มวลมนุษย์ในด้านการสื่อสาร การรับรู้เรื่องราวต่างๆ ผ่านตัวอักษร ลวดลาย รูปร่างลักษณะ งานวรรณกรรม กาพย์กลอนต่างๆ เพื่อสะท้อนความปรารถนา ความต้องการที่จะสื่อสารในสิ่งที่ตนเองรับรู้ผ่านงานศิลปะในแง่มุมต่างๆ ดังนั้น มนุษย์จึงใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการส่งผ่านความรู้สึกนึกคิด และจินตนาการของตนเผยแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างน่าอัศจรรย์

บทสรุปของงานศิลปะ

“ศิลปะ” จึงนับได้ว่า ซึมซาบกำแทรกซ้อนอยู่ในทุกลมหายใจของมวลมนุษยชาติ ดังนั้น การศึกษางานศิลปะผ่านการนำเสนอและสื่อสารออกไปในหลากหลายรูปแบบ จึงน่าจะสามารถจรรโลกสรรพชีวิตให้ดื่มด่ำไปกับความงามที่กระทบกับอารมณ์และความรู้สึกของมวลมนุษยชาติได้ดีที่สุด ผ่านสิ่งที่เราเรียกว่า “ศิลปะ” ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการมีชีวิตและลมหายใจอยู่บนโลกใบนี้…

แพรวพราวดอทคอม/

praewprouds.com

“แพรวด้วยความรู้

พราวด้วยประสบการณ์”