pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

สระในภาษาไทย

สระในภาษาไทย

สระในภาษาไทย หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักของภาษา สระมีความสำคัญมาก เพราะพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระ จึงจะสามารถอ่านออกเสียงได้ ตลอดจนทำให้คำๆ นั้นมีความหมายขึ้นมา หรือเป็นสิ่งที่ทำให้เสียงที่เปล่งออกมานั้นมีความหมาย 

สระภาษาไทย แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้ 

๑. รูปสระ 

สระมีทั้งหมด ๒๑ รูป โดยแต่ละรูป มีคำเรียกที่แตกต่างกันออกไป และหลายๆ รูปสระ คำเรียกก็ได้ถูกเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป หรือความนิยม เช่น (ะ) ปัจจุบันนิยมเรียกว่า “สระอะ” ไม่นิยมเรียกว่า “วิสรรชนีย์” หรือ “ประวิสรรชนีย์” อีกแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาภาษาไทยให้ถ่องแท้เข้าถึงความหมายดั้งเดิมของคำเรียกสระต่างๆ ก็จำเป็นต้องรู้จักทั้งรูปสระ และคำเรียกที่ถูกต้อง ดังนี้ 

รูปสระคำเรียก
ะ วิสรรชนีย์
ั ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด
็ ไม้ไต่คู้
ลากข้าง
ิ พินทุ หรือ พิทุอิ
่ ฝนทอง
ฟันหนู
ํ นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
ุ ตีนเหยียด
ู ตีนคู้
เ ไม้หน้า
ใ ไม้ม้วน
ไ ไม้มลาย
โ ไม้โอ
อ ตัวออ
ตัวออ
ตัวออ
ฤ ตัว ฤ (รึ)
ฤๅตัว ฤๅ (รือ)
ฦ ตัว ฦ (ลึ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
ฦๅ ฦ (ลึอ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

๒. เสียงสระ 

เสียงสระในภาษาไทยมี ๓๒ เสียง ดังนี้

อาอิอีอึอือุอู
เอะเอเเอะเเอเอียะเอียเอือะเอือ
อัวะอัวโอะโอเอาะออเออะเออ
อำใอไอเอาฤๅฦๅ

เสียงสระ แบ่งออกเป็น ๕ เสียง คือ 

 ๒.๑ สระเสียงสั้น ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา

๒.๒ สระเสียงยาว ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ

๒.๓ สระเดี่ยว ได้แก่ สระที่เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสมมี ๑๘ ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ

๒.๔ สระประสม คือ สระที่มีเสียงสระเดี่ยว ๒ ตัวประสมกัน มี ๖ ตัวได้แก่

เอียะ เสียง อิ กับ อะ ประสมกัน

เอีย เสียง อี กับ อา ประสมกัน

เอือะ เสียง อึ กับ อะ ประสมกัน

เอือ เสียง อื กับ อา ประสมกัน

อัวะ เสียง อุ กับ อะ ประสมกัน

อัว เสียง อู กับ อา ประสมกัน

๒.๕ สระเกิน คือ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว ต่างกันก็แต่ว่าสระเกินจะมีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี ๘ ตัว ได้แก่

– ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ (รึ รือ ลึ ลือ) มีเสียงพยัญชนะ ร ล ประสมอยู่

– อำ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ม สะกด

– ใอ ไอ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ย สะกด (คือ อัย)

– เอา มีเสียง อะ และพยัญชนะ ว สะกด

สระทั้ง ๒๑ รูป และ ๓๒ เสียงทั้งหมดนี้ เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักภาษาไทยและการใช้สระของไทย มีประโยชน์สำหรับการนำเอาไปใช้ สำหรับผู้ที่สนใจการเรียนภาษาไทย เพราะเป็นรากฐานของการเรียนรู้ภาษาไทย และนำมาซึ่งความภาคภูมิใจในภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับการสืบทอดและพัฒนามาอย่างยาวนานและต่อเนื่องจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรมทางภาษาที่คนไทยภาคภูมิใจ