pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

สัตว์ดิรัจฉาน

ความหมาย

สัตว์ดิรัจฉาน“, “สัตว์เดรัจฉาน” หรือ “สัตว์เดียรฉาน” มาจากศัพท์บาลีว่า “ติรจฺฉานโยนิ” แปลว่า “กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน

ดิรัจฉาน แปลว่า “ผู้เจริญไปในทางขวาง” เพราะหากจะพิจารณาจากรูปลักษณ์ของสัตว์ดิรัจฉานส่วนมากแล้ว ก็จะเห็นว่า สัตว์ดิรัจฉานจะมีลำตัวขนานไปกับพื้นโลก ไม่ได้มีร่างกายตั้งตรงตั้งฉากกับพื้นโลกเหมือนกับมนุษย์

หากจะกล่าวกันโดยเนื้อหาสาระแล้ว ความหมายที่พึงเข้าใจได้ง่ายก็คือ สัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยสัญชาติญาณพื้นฐานทั่วไป มีสติปัญญาในการพัฒนาร่างกายและจิตใจได้น้อยกว่ามนุษย์ และไม่สามารถพัฒนาจิตจนกระทั่งบรรลุความเป็นพระอริยบุคคล หรือบรรลุมรรคผลใดๆ ในชาติที่เป็นสัตว์ดิรัจฉานนั้นได้

จึงมักจะมีชื่อเรียกสัตว์ดิรัจฉานอีกชื่อหนึ่งว่า “อภัพพสัตว์” แปลว่า “ผู้มีคุณสมบัติไม่เหมาะหรือไม่ควรแก่การได้บรรลุมรรคผลและนิพพาน (ในขณะที่เป็นสัตว์ดิรัจฉานนั้น)”

ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนานั้น “สัตว์เดรัจฉาน” ก็คือเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในอบายภูมิเดียวอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกันกับสัตว์นรก เปรต และอสุรกาย ต่างกันก็แต่เพียงว่า สัตว์ดิรัจฉานนั้น อยู่ในภพภูมิเดียวกันกับมนุษย์ ซึ่งมนุษย์สามารถมองเห็นได้ และมักมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น ในฐานะเป็นอาหารของมนุษย์ ในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ ในฐานะสัตว์พาหนะของมนุษย์ ในฐานะสัตว์ผู้ใช้แรงงานให้มนุษย์ และในฐานะของสัตว์ผู้ร่วมโลกกับมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะร่วมกันกับมนุษย์ก็คือ มีความเกิด แก่ เจ็บ และตาย มีความทุกข์กายทุกข์ใจ หรือสุขกายสุขใจได้ เช่นเดียวกันกับมนุษย์เรา ต่างก็แต่ว่าสัตว์ดิรัจฉานนั้นจัดอยู่ในทุคติภูมิหรืออบายภูมิอย่างหนึ่ง ซึ่งจะมีความลำบาก ความยากแค้นลำเค็ญในการใช้ชีวิต ในการเสี่ยงต่อภยันตรายต่างๆ ทั้งจากพวกเดียวกันเอง สัตว์ผู้ล่า และจากมนุษย์

ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนานั้นถือว่า สัตว์เดรัจฉานเกิดจากที่ผู้นั้นได้ทำกรรมเอาไว้ในวัฏสงสารตั้งแต่ชั้นพรหมลงมา หมายความว่า ผู้ที่ทำกรรมชั่ว หรืออกุศลกรรมที่มีผลทำให้เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับภพภูมิต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา หรือว่าเกิดเป็นระดับพรหมแล้วก็ตาม หากมีบุพกรรมที่ประกอบด้วยอกุศลอันเป็นปัจจัยให้เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานได้แล้ว ก็มีโอกาสได้มาถือกำเนิดในสัตว์จำพวำสัตว์ดิรัจฉานได้ทั้งนั้นเหมือนกัน

สัตว์ดิรัจฉานแบ่งได้เป็น 4 ประเภท 

1. อปทติรัจฉาน  คือ สัตว์ดิรัจฉานที่ไม่มีขาและไม่มีเท้า เช่นสัตว์จำพวก งู ไส้เดือน พยาธิ เป็นต้น
2. ทวิปทติรัจฉาน  คือ สัตว์ดิรัจฉานที่มี 2 ขา หรือมีเท้า 2 เท้า ส่วนมากเป็นสัตว์จำพวกสัตว์ปีก เช่น ไก่ และนกชนิดต่างๆ
3. จตุปทติรัจฉาน  คือ สัตว์ดิรัจฉานที่มี 4 ขา หรือมี 4 เท้า เช่น สัตว์จำพวก ช้าง ม้า วัว ควาย กวาง ละมั่ง กระทิง เป็นต้น
4. พหุปทติรัจฉาน คือ สัตว์ดิรัจฉานที่มีมากกว่า 4 ขา เป็นสัตว์ประเภทพหุปบาท คือมีเท้ามากมาย เช่น แมงมุม ตะขาบ กิ้งกือ แมงป่อง เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังสามารถแบ่งสัตว์ดิรัจฉานออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ตามหลักทางวิทยาศาสตร์คือ

  1. สัตว์บก ได้แก่ สัตว์ที่อาศัยอยู่เฉพาะบนบกเท่านั้น เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เก้ง กวาง ละมั่ง กระทิง สุนัข กระต่าย เป็นต้น
  2. สัตว์น้ำ ได้แก่ สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำทั้งหมด เช่น ปลา วาฬ โลมา หมึก กุ้ง ปู งูทะเล เป็นต้น
  3. สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได่แก่ สัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ มีชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ เช่น กบ อึ่งอ่าง ปลาตีน จรเข้ และเต่า เป็นต้น

สัตว์ดิรัจฉาน ยังจัดเป็น 2 จำพวกได้อีก คือ

  1. สัตว์เลือดอุ่น ได้แก่ สัตว์ที่อยู่บนบกทั้งหมด เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย
  2. สัตว์เลือดเย็น ได้แก่ สัตว์ที่อยู่ในน้ำทั้งหมด และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น ปลา กบ อึ่งอ่าง และจรเข้ เป็นต้น

 สัตว์ดิรัจฉานยังมีการถือกำเนิดใน 4 ลักษณะด้วยกัน คือ

  1. เกิดจากครรภ์ คือ สัตว์ดิรัจฉานที่เกิดในท้องของแม่ มีการอุ้มท้องตามระยะเวลาสั้นหรือยาวนานแล้วแต่ประเภทของสัตว์ดิรัจฉานชนิดนั้นๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย แพะ แกะ กวาง เก้ง โลมา วาฬ และงูบางชนิด เป็นต้น
  2. เกิดจากไข่ คือ สัตว์ดิรัจฉานประเภทสัตว์ปีก และสัตว์เลื้อยคลานเกือบทุกประเภท เช่น เป็ด ไก่ จิ้งจก จิ้งเหลน ตุ๊กแก และงูหลายชนิด
  3. เกิดจากเถ้าไคล หรือสิ่งสกปรก สิ่งปฏิกูล น้ำครำ น้ำโคล หรือน้ำขัง เช่น พยาธิ หนอน ยุง แมลงปอ เป็นต้น
  4. เกิดอุบัติขึ้น โตเป็นหนุ่มสาวเลยทันที สัตว์ดิรัจฉานจำพวกนี้ก็คือสัตว์ดิรัจฉานกึ่งเทพบางประเภท เช่น นาค และครุฑ บางจำพวก (เพราะนาคและครุฑบางจำพวกก็ถือกำเนิดเกิดจากไข่ตามวิสัยของสัตว์ดิรัจฉานก็มี)

สัตว์เดรัจฉานมีสัญญา 3 ประการ (สัญชาติญาณ 3 ประการ)

1. กามสัญญา  รู้จักเสพกาม
2. โคจรสัญญา  รู้จักกินและนอน
3. มรณภยสัญญา  รู้จักกลัวความตาย

สัตว์ดิรัจฉานจะมีชีวิตหรือใช้ชีวิตอยู่ด้วยสัญชาตญาณเท่านั้น ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษและการับผิดชอบชั่วดีแต่อย่างใด เพราะการรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี หรือ “ธัมมสัญญา” ตามที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา ก็จะมีเฉพาะในสัตว์จำพวกมนุษย์เท่านั้น

พระพุทธศาสนาจึงได้แบ่งประเภทของสัตว์ไว้ 2 ประเภทด้วยกัน คือ

1) สัตว์ประเสริฐ ได้แก่มนุษย์

2) สัตว์ดิรัจฉาน คือสัตว์ที่ไม่มีธัมมสัญญา ยังไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี หรือยังไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษในแบบที่มนุษย์มี

แต่สำหรับพระโพธิสัตว์นั้น คือผู้ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งนั้น บางพระชาติของพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสัตว์ดิรัจฉานหรือกึ่งเทพกึ่งสัตว์ดิรัจฉาน เช่น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญานาคชื่อว่าภูริทัต เสวยพระชาติเป็นพญาช้างและพญาลิงเป็นต้น ก็มี ในข้อนี้ เป็นความพิเศษเฉพาะสัตว์ดิรัจฉานที่เป็นพระโพธิสัตว์เท่านั้น ซึ่งจะมี “ธัมมสัญญา” คือ เป็นตัวสำนึกรู้จักบาปบุญคุณโทษต่างจากสัตว์ดิรัจฉานทั่วไป

แพรวพราวดอทคอม/

praewprouds.com

“แพรวด้วยความรู้

พราวด้วยประสบการณ์”