pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

สาเหตุที่คนเก่งๆ ต้องลาออกจากองค์กร

คนเก่งๆ กับองค์กร

การที่บริษัท องค์กร ห้างร้าน โรงงาน ฯลฯ มีพนักงาน คนงาน หรือบุคลากรที่มีความเก่งงาน ชำนาญงาน เชี่ยวชาญงาน สามารถจัดการงานต่างๆ ขององค์กรให้เป็นไปด้วยความราบรื่น เรียบร้อย นำมาซึ่งรายได้ กำไร ชื่อเสียง ความเชื่อมั่น และความประทับใจมาสู่องค์การได้นั้น ถือว่าเป็นบุญขององค์กรนั้นๆ ที่มีบุคลากรเก่งๆ มาช่วยเสริมทัพขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์แห่งความสำเร็จที่ตั้งไว้

แต่ถ้าหากว่าวันใดวันหนึ่ง เกิดเหตุการณ์ที่คนเก่งๆ ที่อยู่กับเรา เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อองค์กรของเราขึ้นมา และนำไปสู่การสละเรือ หรือหนีลาออกจากองค์กรไป เมื่อนั้นย่อมจะไม่เกิดผลดีกับองค์กรอย่างแน่แท้ ดังนั้น เมื่อมีคนในองค์กรที่เก่งๆ มาช่วยขับเคลื่อนองค์กรได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็พยายามรักษาพวกเขาเอาไว้ มิเช่นนั้นเล้ว องค์กรที่เราบริหารอยู่นั้น อาจจะสูญเสียบุลากรที่เรียกว่าเป็นมือดีขององค์กรไปให้กับองค์กรอื่นอย่างน่าเสียดาย หรืออาจจะเรียกกันทางศัพท์ของนักบริหารว่าเกิดอาการ “สองไหล” ขึ้นในองค์กรนั่นเอง

เพราะว่าการที่จะคัดเลือกได้บุคลากรเก่งๆ มาทำงานให้กับองค์กรของเราสักคนหนึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อบุคลากรที่เก่งๆ เหล่านั้นเข้ามาทำงานกับเราแล้ว ก็ต้องได้รับการฝึกหัด ขัดเกล่า พัฒนา กว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญงานในแต่ละแผนกแต่ละหน้าที่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่เมื่อผลิตและพัฒนาได้แล้ว วันหนึ่งกลับต้องสูญเสียบุคลากรที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ไปจากองค์กรของเรา ก็น่าเสียดายไม่ใช่น้อย และถ้าหากว่าสาเหตุของการสูญเสียบุคลากรที่ทรงคุณค่าเหล่านั้น มาจากน้ำมือของตัวผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ หรือหัวหน้าทีม หัวหน้าแผนก หัวหน้าฝ่ายนั้นๆ เอง ก็คงจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายและเสียใจไม่ใช่น้อยๆ เลยทีเดียว

บทความนี้จะนำทุกท่านได้มาทำความรู้จักกับ 6 สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้บุคลากรเก่งๆ ต้องลาออกจากองค์กรไปอย่างน่าเสียดาย จะมีอะไรบ้าง ขอเชิญศึกษาเรื่่องนี้ไปพร้อมๆ กันเลยครับ

Center of Management & Organization Effectiveness ได้วิจัยในเรื่องของสาเหตุที่ทำให้คนเก่ง (Talent) ขององค์กรตัดสินใจลาออกไปจากองค์กร อันได้แก่

1. ลาออกเพราะทนพฤติกรรมของหัวหน้าไม่ไหว

ไม่มีคนเก่งคนไหนที่อยากจะทำงานก้มหัวให้กับหัวหน้าที่มีพฤติกรรมแย่ๆ เช่น พูดจาไม่มีเหตุผล ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีความเป็นธรรม ให้ความเป็นธรรมกับลูกน้องไม่ได้ รับแต่ชอบ ไม่ยอมรับผิด หมายความว่า ถ้าสิ่งไหนดี เป็นประโยชน์ และเป็นความสำเร็จก็จะยืดอกรับว่าเป็นผลงานของตัวเอง แต่ถ้าหากว่าสิ่งไหนที่เป็นสิ่งผิดพลาด เสียประโยชน์ และเป็นความล้มเหลวแล้วล่ะก็ จะไม่ยอมยืดอกออกมารับแบบแมนๆ อย่างเด็ดขาด เพราะใจจริงแล้วเป็นคนเห็นแก่ตัว เป็นคนขี้ขลาด นั่นเอง ไม่มีการดูแลลูกน้องให้ดีเท่าที่ควร ไม่พยายามสร้างความเป็นกันเองกับลูกน้อง ไม่พูดคุย ไม่เจรจา ไม่สร้างความสนิทสนมกับลูกน้อง ชอบวางก้าม วางตัวใหญ่โต อยู่บนหอคอยงาช้าง ไม่สนใจสารทุกข์สุขดิบของลูกน้อง ไม่สนใจความเดือดร้อนลำบากของลูกน้อง ไม่แสดงน้ำใจหรือแสดงความยินดีเมื่อลูกน้องประสบความสำเร็จ ปล่อยให้ทำงานไปตามเรื่องตามราว ไม่มีการเข้าไปช่วยดูแลจัดการอย่างทั่วถึง ไม่กำกับดูแลใดๆ เป็นต้น พฤติกรรมสุดแย่ของหัวหน้าเช่นนี้ ก็อาจเป็นเหตุผลให้ลูกน้องต้องตีตัวออกห่าง หรือว่าตัดสินใจลาออกไปหาหัวหน้าดีๆ หรือองค์กรที่มีผู้บริหารที่ดีกว่าที่ทำงานอยู่ด้วยเช่นนี้

2. ไม่มีบทบาทและอำนาจหน้าที่ตำแหน่งงานในการทำงาน

คนเก่งต้องการมีบทบาท อำนาจ หน้าที่ และตำแหน่งที่จะต้องติดสินใจในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ใช่ต้องทำงานตามคำสั่งแต่เพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่สามารถตัดสินใจอะไรด้วยตัวเองได้เลย มีปัญหาอะไรๆ ขึ้นมา ก็ต้องวิ่งเข้าหาหัวหน้าเพื่อให้ช่วยตัดสินใจตลอดเวลา เพราะจุดศูนย์รวมอำนาจอยู่ที่หัวหน้าเพียงคนเดียว ไม่กระจายอำนาจให้ลูกน้องได้ช่วยแบ่งเบาภาระบ้าง เช่นนี้แล้ว คนเก่งก็ไม่อาจอดทนทำงานอยู่ด้วยได้อีก จำเป็นต้องหางานใหม่ที่สามารถแสดงบทบาท มีอำนาจ มีหน้าที่ มีตำแหน่งรับผิดชอบ และสามารถตัดสินใจในอำนาจหน้าที่ตำแหน่งงานของตัวเองด้ เพราะคนเก่งเปรียบเสมือนปลาตัวใหญ่ ที่ต้องการพื้นที่ในการแหวกว่ายน้ำที่มากกว่าปลาตัวเล็กๆ เป็นธรรมดา

3. มีการเล่นพรรคเล่นพวกในองค์กรมากเกินไป

คนเก่ง คือคนที่ต้องการสร้างผลงานให้กับองค์กร เป็นคนที่ไม่ต้องการที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองในองค์กรมากมายอะไรนัก เข้าต้องการที่จะเข้าไปใช้พลังและความสามารถทั้งหมดไปสร้างผลงานให้กับองค์กรเป็นสำคัญ ไม่ได้มีเวลาไปเล่นพรรคเล่นพวก ไปกีดกัน ไปกดดัน ไปทำร้าย ไปรังแกใครๆ หรือต้องทนถูกใครข่มเหงรังแก ดังนั้น องค์กรที่มีการเล่นพรรคเล่นพวกกันในองค์กรมากๆ มักจะไม่มีคนเก่งอยากทำงานด้วย

4. ขาดการดูแลเอาใจใส่จากหัวหน้างาน

คนเก่ง แม้ว่าจะมีความเก่งกาจ มีความสามารถในการทำงานมากมายสักเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังคงอยากได้รับการยอมรับจากหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาของตัวเองเสมอ ในเวลาที่ทำงานได้ดี หรือประสบความสำเร็จในการทำงานให้กับองค์กร ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ มีกำไร มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับ ก็ต้องการคำชื่นชม ต้องการการยกย่องบ้าง แม้จะเป็นเพียงแค่สิ่งเล็กน้อยก็ตาม ก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากที่จะเป็นแรงผลักดันให้คนเก่งเกิดมีกำลังใจในการทำงาน รักษามาตรฐานของงาน และพัฒนามาตรฐานของงานให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้อีก สาเหตุหลักที่คนเก่งอยู่กับองค์กรของตนเองไม่ได้ก็คือ ไม่ได้รับการสนอกสนใจ ดูดำดูดีจากหัวหน้างานของตนเอง เมื่อทำงานดี ก็ไร้เสียซึ่งคำชม ในเวลาทำงานออกมาย่ำแย่ ล้มเหลว หรือเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานขึ้น ก็ดุด่า ลงโทษ บั่นทอนจิตใจให้ท้อแท้หมดกำลังใจอยู่เสมอๆ อย่างนี้ เชื่อเหลือเกินว่า ไม่ใช่เฉพาะแต่คนเก่งเท่านั้นที่ไม่สามารถอดทนทำงานในองค์กรนี้ต่อไปได้ แม้กระทั่งคนงานธรรมดาๆ ที่ไม่มีความเก่งกาจสามารถ ไม่ได้มีตำแหน่งงานหรือบทบาทสำคัญใดๆ ในองค์กร และไม่มีทางเลือกในการทำงานมากมายนัก ก็คงจะไม่สามารถอดทนทำงานกับหัวหน้าเช่นนี้ต่อไปได้เช่นกัน

5. หัวหน้าเป็นคนหลักลอย บริหารงานอย่างไร้ทิศทาง

คนเป็นหัวหน้า เป็นผู้บริหารคน บริหารงาน บริหารองค์กร ถ้าหากไร้เสียซึ่งวิสัยทัศน์แล้ว ก็ยากที่จะบริหารงานให้ประสบความสำเร็จได้ คนเก่งๆ ที่ทำงานในแต่ละองค์กร มีความต้องการความชัดเจนในการทำงาน ต้องการทราบทิศทาง เป้าประสงค์ วิสัยทัศน์ที่ผู้บริหารหรือหัวหน้าขององค์กรนั้นๆ ต้องการไปให้ถึง และต้องเป็นวิสัยทัศน์ที่ต้องให้ทุกคนในองค์กรได้รับรู้เป็นภาพใหญ่ภาพเดียวกันด้วย ดังนั้น ถ้าเกิดหัวหน้าหรือผู้บริหารขององค์กรขาดวิสัยทัศน์เสียแล้ว ก็จะทำให้คนเก่งๆ ที่ทำงานอยู่ในองค์กรนี้รู้สึกไม่ชัดเจนในทิศทางและเป้าหมายหรือแนวทางการบริหารงานงานขององค์กร รู้สึกว่าทำงานไปอย่างไร้จุดหมาย ไร้เป้าประสงค์ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ต้องลาออกไปไหาทำงานกับองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน มีทิศทางและแนวทางในการบริหารงานที่แน่นอนชัดเจน สามารถเป็นที่พึ่งที่ดีให้กับคนเก่งๆ เหล่านั้นได้

6. บริหารโดยเน้นระบบอาวุโสเป็นสำคัญ

องค์กรที่บริหารโดยใช้ระบบอาวุโส คือ เน้นหนักไปที่พนักงานหรือบุคลากรขององค์กรที่อยู่มานาน ทำงานมานาน เป็นสำคัญ ใครอยู่กับองค์กรมานานๆ ก็จะได้รับการยอมรับ และการให้ความสำคัญมากกว่าคนที่ทำงานเก่งๆ แต่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่ หรือทำงานได้ระยะหนึ่ง ยังไม่นานเท่าใดนัก คนเก่งๆ ในแต่ละองค์กรมักจะไม่ชอบหรือไม่ถูกโฉลกกับการทำงานในระบบอาวุโส เพราะการยอมรับในระบบอาวุโส ไม่ได้พิสูจน์ฝีมือกันจริงๆ ในด้านของเนื้องาน หากแต่ไปให้ความสำคัญกับประสบการณ์ หรือการวัดกันว่าใครที่อยู่กับองค์กรผ่านระยะเวลายาวนานมากกว่ากัน ดังนั้น คนเก่งๆ ก็เลยตัดสินใจลาออกจากองค์กรเพื่อไปทำงานกับองค์กรที่เน้นการใช้ฝีมือการทำงานและสร้างผลงานมากกว่าระบบอาวุโสเช่นนั้น

องค์ใหญ่ๆ ที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน จึงมักให้ความสำคัญกับคนเก่งๆ ที่สามารถช่วยเสริมทัพขับเคลื่อนงานขององค์กรให้มีชื่อเสียง มีกำไร และได้รับการยอมรับมากกว่าคนที่อยู่กับองค์กรมานานๆ แต่ปราศจากฝีมือและผลงานใดๆ หรือทำแบบเดิมๆ เช้าชามเย็นชาม

ดังนั้น องค์กรใดก็ตาม ผู้บริหารองค์กรใดก็ตาม หัวหน้างานในองค์กรใดก็ตามที่ยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยง มีพฤติกรรมและรูปแบบการบริหารงานที่สร้าง 6 สาเหตุสำคัญ อันทำให้พนักงานเก่งๆ ต้องจากลาองค์กรไปอย่างน่าเสียดาย ดังที่กล่าวไปแล้วในข้างต้นนั้น ก็ควรปรับตัว ปรับพฤติกรรมการบริหาร และวัฒนธรรมองค์กรเสียใหม่ ก่อนที่เราจะสูญเสียคนเก่งๆ จากองค์กรไปมากกว่านี้…. สวัสดีครับ

แพรวพราวดอทคอม/

praewprouds.com

“แพรวด้วยความรู้

พราวด้วยประสบการณ์”