pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

หนีตาย…

ขึ้นชื่อว่า “ความตาย” ย่อมทำให้เกิดความรู้สึกสะดุ้งหวาดกลัวทุกครั้งที่ได้ยิน เพราะสรรพชีวิตในโลกนี้ ต่างก็มีความรักตัวกลัวตายด้วยกันทั้งนั้น

ไม่มีคนหรือสัตว์ประเภทใดเลยที่มีความต้องการอย่างแรงกล้าปรารถนาแต่เรื่องตาย หรือกระเสือกกระสนทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะได้ตาย เว้นเสียแต่คนที่ได้รับความทุกข์ทรมานร่างกายและจิตใจอย่างแสนสาหัส ต้องการที่จะหนีให้พ้นจากสภาพที่เป็นอยู่ อารมณ์ความรู้สึกที่ต้องแบกรับ ความอับอายอัปยศที่ถูกคนอื่นดูถูกดูแคลน เหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เสียจนไม่เหลือความภาคภูมิใจใดๆ ในตัวเองเลย

แต่ถึงจะอย่างนั้นก็เถอะ เอาเข้าจริงแล้ว ความรู้สึกภายในก้นบึ้งของหัวใจที่แท้จริง ลึกๆ แล้ว ก็รู้สึกขยาดหวาดกลัวต่อความตายอย่างที่สุดเหมือนกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ทุกชีวิตต่างก็ดิ้นรนเพื่อจะมีชีวิตอยู่ ดิ้นรนเพื่อจะให้ตนเองนั้นรอดพ้นจากความตาย

เพราะความตายในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นมารประเภทหนึ่ง ในบรรดามาร 5 ประเภท ที่ถูกกล่าวไว้ในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา นั่นก็คือ “มัจจุมาร” หมายถึง “ความตาย”

ถามว่า แล้วทำไม “ความตาย” จึงถูกจัดว่าเป็น “มาร” นั่นก็เป็นเพราะว่า “ความตาย” เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้คนเราเสียโอกาส หมดโอกาสในการได้ทำความดีในชาตินี้ หมดโอกาสที่จะได้ทำในสิ่งที่เป็นยอดปรารถนาในชีวิต หรือหมดโอกาสในการได้ทำตามอุดมการณ์ ความหวัง ความตั้งใจ และความฝันที่ได้ตั้งเป้าปรารถนาไว้ เหมือนกับคำที่มีผู้กล่าวไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า

น่าเสียดายที่ต้องตาย ก่อนใช้เงินหมด น่าสลดเมื่อใช้เงินหมด แต่ยังไม่ตาย”

บางคนมีอุดมการณ์ มีภารกิจ มีความฝัน หรือมีสิ่งที่จะต้องจัดต้องทำให้สำเร็จก่อนที่จะตายไปก่อน แต่ปรากฏว่าเกิดเจ็บป่ายร้ายแรง หรือประสบอุบัติเหตุรุนแรง

หรือไม่ว่าจะเป็นเพราะสาเหตุอื่นใดก็ตาม ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องเสียชีวิตไปก่อนที่จะได้ทำตามอุดมการณ์ ก่อนที่จะได้ทำภารกิจให้ลุล่วง ก่อนที่จะได้ทำตามความฝัน ก่อนที่จะได้จัดการกับสิ่งที่ยังค้างคาใจ

แบบนี้ท่านกล่าวว่า “ตายตาไม่หลับ” คือตายไปทั้งๆ ที่ยังมีความวิตกกังวลค้างคาใจ ตายไปพร้อมกับจิตที่ผูกพันกับสิ่งที่ยังทำไม่สำเร็จนั้น ซึ่งอาจส่งผลให้ชักนำดวงจิตไปเกาะกุม เกาะเกี่ยว ก่อเกิดในทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามหลักความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายของพระพุทธศาสนา

จะอย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ประเภทไหนก็ตาม ไม่ว่าจะได้ตระเตรียมความพร้อมสำหรับความตายไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม ความตายก็ไม่เคยจะส่งสัญญาณบอก หรือรับฟังเหตุผลการต่อรองของใครทั้งสิ้น

เพราะเมื่อความตายมาถึง ทุกชีวิตต่างก็จะต้องยินยอมน้อมรับแต่โดยดีด้วยกันทั้งนั้น เพราะการที่จะขอผ่อนปรน ผัดผ่อนต่อพญามัจจุราช (ความตาย) ซึ่งมีเสนามาก ย่อมไม่มีสำหรับคนอย่างเราๆ

สมดังบทกลอนที่นักปราชญ์ท่านได้ขบคิดจนตกผลึก ตีแผ่แนวความคิดเรื่องความตายร่ายเป็นบทประพันธ์คำกลอนออกมาได้อย่างไพเราะน่าจับใจ เต็มเปี่ยมไปด้วยความหมายที่ชวนสะกิดให้พิจารณาไปพร้อมๆ กันว่า

จะหนีอื่นหมื่นแสนในแดนโลก พอย้ายโยกหลบลี้หนีพ้นได้

แต่หนีหนึ่งซึ่งมีชื่อคือความตาย หนีไม่ได้หลบไม่พ้นสักคนเดียว “

สรรพชีวิตที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ ดำรงชีวิตอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น สุดท้ายปลายทางแล้วก็จะต้องเดินทางมุ่งสู่ความตายอันเป็นฉากสุดท้ายของชีวิตด้วยกันทั้งสิ้น ตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามธรรมดาของโลก”

เรื่องนี้เป็นสัจธรรม คือเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ การหนีสิ่งอื่นท่านกล่าวว่ายังพอจะหนีพ้นได้บ้าง แต่ว่าการหนีจากความตายสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวนี้ ท่านกล่าวว่าไม่สามารถจะหลบลี้หนีพ้นได้สักคนเดียว

เพราะสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลก เกิดขึ้นมาแล้วจำนวนเท่าไร ก็ต้องตายไปเท่าจำนวนนั้น หรือจะพูดเพียงสั้นๆ ให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า “เกิดเท่าไหร่ ตายเท่านั้น” เพราะไม่ว่าสัตว์ทั้งมวลจะพยายามหลบหลีกลี้หนีความตายสักเท่าใด ขึ้นชื่อว่าผู้ที่สามารถหลบหลีกหนีพ้นจากความตายยังไม่เคยปรากฏมีแม้แต่ตนเดียว

เมื่อความตายเป็นของมีอยู่คู่กับโลกซึ่งไม่มีใครสามารถหนีพ้นได้ สิ่งที่จะทำให้เราไม่ต้องทุกข์ร้อนกังวลกับความตายก็คือ ต้องยอมรับความจริงให้ได้ว่า สุดท้ายแล้ว วันหนึ่งเราก็ต้องตาย สมดังคำพระท่านสอนไว้ว่า “อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง” แปลว่า “เราจะต้องตายอย่างแน่นอน”

ดังนั้น สิ่งที่ควรคิดหรือควรกระทำเกี่ยวกับความตายนี้ จึงไม่ใช่การหนีความตาย หากแต่ทำอย่างไรที่จะเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับความตายได้ ในเมื่อวันหนึ่ง ยังไงความตายก็ต้องเดินทางมาถึงตัวเราจนได้

และเมื่อความตายมาถึงแล้ว ก็จะพรากเราไปจากอัตภาพร่างกายนี้ พรากเราไปจากหน้าที่การงาน จากคนรักญาติพี่น้องผองชน พรากเราไปจากสิ่งที่เรายึดมั่นถือมั่นอยู่ว่าคืออุดมการณ์หรือความฝันอันเป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จของชีวิตอย่างที่เราเข้าใจ

เพราะสุดท้าย เราก็ต้องจำใจละทิ้งสิ่งทั้งปวงนี้ไปอย่างไม่ทันได้เตรียมเนื้อเตรียมตัวบอกกล่าวร่ำลา หรือจัดการธุรกิจธุรกรรมต่างๆ ให้สำเร็จมดังตั้งใจ

มันไม่สำคัญหรอกว่า คุณจะต้องตายจากไปเร็วหรือช้าแค่ไหน คุณจะมีชีวิตยืนยาวอยู่ได้เท่าใด คุณจะต้องตายที่ไหน เมื่อไหร่ ตายอย่างไร แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ให้เรายึดมั่นในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าคือ “ความไม่ประมาทในการใช้ชีวิต”

หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุท่านได้สอนไว้ว่า “ให้เราเตรียมตัวก่อนตาย” หรือ “ตายก่อนตาย” หมายความว่าให้ซ้อมตายก่อนให้เกิดความคุ้นชิน เมื่อถึงเวลาจะต้องตายจริงๆ แล้วจะได้ทำตัวถูก

หมายความว่าจะได้มีสติทำใจยอมรับได้ อีกประการหนึ่งก็คือสอนให้คนเราไม่ประมาทหลงมัวเมาในการใช้ชีวิตนั้นเอง เพราะหาไม่แล้ว เราก็จะต้องเกิดความรู้สึกเสียใจ รู้สึกค้างคาใจว่า เวลาที่ผ่านไปๆ ในแต่ละวันที่ผ่านมานั้น เราไม่ได้ใช้มันให้เกิดประโยชน์คุ่มค่าต่อตัวของเราและสังคมโลกนี้เลย

เมื่อถึงเวลาจะต้องตายก็เกิดความรู้สึกเสียดายวันเวลา รู้สึกค้างคาใจ เกิดความรู้สึกว่า “สิ่งนี้ก็ยังไม่ได้ทำ สิ่งนั้นก็ยังไม่สำเร็จ”

เพราะฉะนั้นแล้ว แทนที่เราจะคอยวิ่งหนีความตาย ซึ่งได้กล่าวให้เหตุผลไปตั้งแต่ต้นบทความแล้วว่าไม่มีวันที่เราจะหนีพ้นได้แน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ให้เรามาทำความรู้จักความตาย ทำความเข้าใจความตายอย่างถูกต้องถ่องแท้ เพื่อที่จะได้รับมือกับความตายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเมื่อความตายมาเยือน

ตอนตายนั้น ไม่สำคัญเท่าตอนมีชีวิตอยู่”

ตอนมีชีวิตอยู่ คุณได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อคนที่คุณรัก ต่อสังคม ต่อประเทศชาติ ต่อโลก และต่อจักรวาลนี้แค่ไหนอย่างไร

นั่นเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการที่ต้องมาคอยหวาดระแวงเฉพาะแต่เรื่องของความตาย โดยลืมไปว่าคุณจะฝากอะไรเป็นอนุสรณ์ให้กับผู้คนและโลกใบนี้ คุณจะฝากความทรงจำที่แสนประทับใจอย่างไม่รู้ลืม หรือจะเลือกฝากความทรงจำที่เป็นบาดแผลสร้างความเจ็บปวด และความอิดหนาระอาให้กับผู้คนและโลกใบนี้ คุณเท่านั้นที่จะเป็นผู้เลือกตัดสินใจ

ใช้ชีวิตให้เสมือนหนึ่งว่า เราจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงวันนี้วันเดียวเท่านั้น วันพรุ่งนี้อาจไม่มีสำหรับเรา”

“แพรว…ด้วยความรู้ – พราว…ด้วยประสบการณ์”