pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

หลักภาษาไทย

หลักภาษาไทย

ภาษาไทยมีหลักไวยากรณ์เป็นของตัวเอง ถือว่าเป็นภาษาที่มีความยากมากอีกภาษาหนึ่งในโลก เพราะถือว่าเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ซับซ้อน และยากต่อการเข้าใจ โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่เริ่มสนใจเรียนหลักไวยากรณ์ภาษาไทย ก็ต้องฝ่าด่านความยากของหลักไวยากรณ์ภาษาไทย และคำภาษาไทยที่ประกอบไปด้วยวรรณยุกต์ที่ให้เสียงสูงต่ำแตกต่างกันไป และในขณะเดียวกันก็ให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไปด้วย เพราะแค่เพียงเปลี่ยนวรรณยุกต์ให้กับคำหรือพยางค์นั้นๆ ก็ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปแล้ว แม้ว่าคำหรือพยางค์เหล่านั้นจะออกเสียงคล้ายกันมากแค่ไหนก็ตาม

ไวยากรณ์ภาษาไทย เป็นการรวมเอาหลักภาษาที่มีที่มาจากหลากหลายไวยากรณ์เข้าด้วยกัน และมีการนำเอาคำที่มาจากภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยด้วย อาจจะเนื่องด้วยภาษาไทยมีภาษาที่เป็นคำมูลจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการเลือกใช้งานที่มีความแตกต่างหลากหลายแตกต่างกันออกไปตามบริบทที่เลือกใช้งาน ดังนั้น คำในภาษาไทยจึงมักเป็นคำโดดๆ สั้นๆ มักจะมีเพียงพยางค์เดียว ไม่มีความไพเราะเพียงพอสำหรับนำไปใช้ในบทประพันธ์หรือบทร้อยกรอง โดยเฉพาะการเขียนคำคล้องจอง หรือคำที่มีความสละสลวยในเชิงฉันทลักษณ์

นอกจากนั้น ภาษาไทยยังได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ อันเกี่ยวเนื่องด้วยอิทธิพลทางศาสนา เช่น ภาษาบาลี มีอิทธิพลจากการรับเอาศาสนาพุทธนิกายเถรวาทหรือหีนยานเข้ามายอมรับนับถือในประเทศไทย คนไทยจีงมีความผูกพันกันภาษาบาลีตั้งแต่นั้นมา และมีการนำเอามาปรับประยุกต์ใช้ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทยได้อย่างแนบเนียนไร้รอยต่อ และหากมองเผินๆ แล้ว อาจจะคิดไปว่าเป็นภาษาไทยแท้เสียด้วยซ้ำ

ภาษาไทยยังได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธแบบมหายาน และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มีการเผยแผ่ศาสนาโดยเลือกใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาหลักในการจารึกในคัมภีร์สำคัญๆ และนำมาใช้ในการเผยแผ่ศาสนาด้วย ผู้คนในดินแทนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา จึงได้รับอิทธิพลทางภาษาสันสกฤตผ่านทางการเผยแผ่ศาสนาดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น และก็อีกเช่นเดียวกัน ภาษาสันสกฤตก็ได้ผนวกรวมกลายเป็นภาษาไทยในชีวิตประจำวันไปแล้ว โดยที่บางทีคนไทยผู้ใช้ภาษาไทยเอง ก็อาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นภาษาที่มาจากต่างประเทศ

ภาษาขอม, ภาษาเขมร ก็มีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของภาษาที่มีบทบาทสำคัญในหลักไวยากรณ์ภาษาไทยอย่างไม่อาจจะปฏิเสธได้เลย เพราะเท่าที่หลักฐานจะมีปรากฏได้ การใช้ภาษาไทยในสมัยโบราณ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา จนกระทั่งถึงช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ปรากฏว่า ประเทศไทยมีการนำเอาอักษรขอมมาจารึกในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญๆ เช่น พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และคัมภีร์ทางศาสตร์ว่าด้วยการรักษาแบบแผนโบราณ ตำรายา ตำรามวย ตำราลายไทย ตำราคชลักษณ์ และอื่นๆ อีกมากมาย ก็ล้วนแล้วแต่จดจารจารึกกันด้วยอักษรขอมทั้งสิ้น นอกจากนั้น ยังมีการนำเอาภาษาเขมรมาใช้ในภาษาไทยอย่างดาษดื่น กลืนเป็นคำไทยแท้แปลเปลี่ยนพูดเพี้ยนกันไปตามแบบสำเนียงไทย จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทย ที่คนไทยแยกไม่ออกว่าคำไหนเป็นคำไทยแท้ คำไหนเป็นคำที่ถูกยืมมาใช้จากภาษาเขมร และเป็นการยืมมาใช้โดยไม่มีการส่งคืนเจ้าของภาษาแต่อย่างใด หากแต่ว่าคนไทยเรายังนำมาใช้เป็นภาษาราชการ และภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ภาษลาว ก็ยังถูกนำมาใช้ในภาษาไทยอยู่บ่อยครั้ง ทั้งในชีวิตประจำวัน และในบทประพันธ์คำร้อยกรองต่างๆ เพราะถือว่า คนลาวกับคนไทยเป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน และลาวก็เคยเป็นประเทศราช ที่อยู่ในการปกครองของไทยมาอย่างยาวนาน ดังนั้นจึงมีการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรมระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมทางภาษา ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา จึงประกฏว่า มีคำในภาษาลาวหลายคำ ที่ถูกใช้ในภาษาไทย และกลมกลืนกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแยกไม่ออก

นอกจากนั้นแล้ว ภาษาไทยก็ยังได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นๆ อีกด้วย เช่นภาษามาเลเซีย ภาษามะลายู ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตากาล็อก และภาษาอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ร่วมด้วย ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งภาษาอาหรับเปอร์เซียและภาษาอังกฤษที่หลายคนคุ้นเคย ก็ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในภาษาไทยด้วยเช่นเดียวกัน

เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ภาษาใดภาษาหนึ่งของชนชาติใดชนชาติหนึ่งจะมีที่มาจากอิทธิพลของชาติและศาสนาอื่นๆ เข้ามาประกอบด้วย

ดังนั้น หลักภาษาไทยมีที่มาจากไวยากรณ์และคำจากหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา และหลากหลายวัฒนธรรมประเพณี ยักย้ายถ่ายเทวัฒนธรรมระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมทางภาษาที่มีการผสมผสานกลืมกลืนกันอย่างลงตัว แต่มีความเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นลงตัว ในแบบฉบับของภาษาไทยที่คนไทยภาคภูมิใจ…