pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

อย่าประมาท

คำสอนในพระพุทธศาสนานั้น ว่ากันว่ามีมากมายถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ ย่อลงมาอีกคงเหลือ 3 คือศีล สมาธิ และปัญญา และย่อลงมาให้เหลือแต่เพียงหลักใหญ่ใจความหลักอันเป็นหัวใจสำคัญของคำสอนก็คือ “ตัวสติ” เพราะสติเพียงอย่างเดียวทำให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายสามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในร่องในรอยแห่งความดีงาม และใช้ชีวิตด้วยความตื่นรู้ ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่งมงาย ไม่หลับไหล ไม่ลุ่มหลง ซึ่งพระพุทธศาสนาเรียก “สติ” นี้ ในนิยามของคำว่า “ความไ่ประมาท”

คำสอนว่าด้วยความไม่ประมาท

จะว่าไปแล้ว “ความไม่ประมาท” นั้น ถือเป็นหัวใจหลักของคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ที่สอนให้สรรพสัตว์ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ตื่นรู้อยู่ตลอดเวลา และมีความแช่มชื่นเบิกบานอยู่ตลอดเวลา

“สติ” หรือ “ความไม่ประมาท” จึงได้ชื่อว่าเป็น “พรหมจรรย์” คือ “หลักความประพฤติอย่างประเสริฐ” ตามคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เพราะศาสนาพุทธ เป็นศาสนาแห่งการ “รู้”, “ตื่น” และ “เบิกบาน”

“ความรู้” ก็คือ “ตัวสติ” เป็นตัวรับรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง ซึ่งเมื่อมีสติรับรู้แล้ว ในกระบวนการนี้จึงเป็นกระบวนการของปัญญารู้เท่าทันตามสิ่งที่เป็นจริงโดยสภาพแท้จริงของมัน หรือในทางศัพท์ภาษาบาลี ใช้คำว่า “ยถาภูตํ” แปลว่า “ตามความเป็นจริง” หมายความว่า “รู้ตามสิ่งที่มันเป็น มันปรากฏ มันแสดงออก โดยสภาวะของมันจริงๆ ไม่ผ่านการปรุงแต่ง เติมแต่งอะไรเจือปนลงไปทั้งสิ้น”

หรืออาจจะเคยเห็นหรือได้ยินอีกคำหนึ่งว่า “ยถาภูตญาณทัสสนะ” ซึ่งแปลความตามภาษาไทยว่า “การเห็นตามความเป็นจริง” ซึ่งไม่ใช่การเห็นในแบบที่มนุษย์ปุถุชนเห็นกันโดยทั่วไป

แต่เป็นการมองเห็นหยั่งลึกลงไปถึงแก่นแท้และรากเหง้าของสิ่งนั้นๆ อย่างถ่องแท้ ถูกต้อง ครบถ้วน ตามความเป็นจริง โดยไม่นำเอาอคติ กล่าวคือ ความชอบ ความชัง ความกลัว หรือความไม่รู้จริงของตนเข้าไปปรุงแต่งให้เป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการหรือปรารถนาอยากจะให้เป็น ซึ่งมีผลคือความทุกข์ความขัดใจเป็นสิ่งตอบแทน

แต่ถ้าหากมนุษย์มองสรรพสิ่งล้วนให้เห็นตามสิ่งที่เป็นจริงโดยสภาวะ ปราศจากการปรุงแต่งแล้ว ก็จะได้เห็นในสิ่งที่เป็นปรมัตถธรรมในสรรพสิ่ง ไม่ต้องไปรู้สึกชอบ หรือชังในสิ่งใดๆ มองให้เห็นเป็นเพียงสภาวะธรรมเท่านั้น เมื่อมองเห็นได้เช่นนี้ ก็ปลอดโปร่งโล่งสบายใจ ไม่ต้องมีความชอบ ความชัง ความรู้สึกว่าสุข หรือความรู้สึกว่าทุกข์ในสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น เพราะมองว่าทุกสรรพสิ่งได้ทำหน้าที่ของมันไปตามเหตุปัจจัย ตามสภาวะ และมีการแปรเลี่ยนไป ไม่สามารถจะฉุดรั้ง หรือเหนี่ยวนำให้เป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการ หรือให้เป็นไปอย่างที่ใจเราไม่ต้องการได้เลย เพราะทุกสรรพสิ่งเป็นอิสระจากกัน ไม่สามารถจะบังคับให้เป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการได้เลยแม้สักอย่างเดียว

ดังนั้น การมีสติพิจารณาสรรพสิ่งในโลกและจักรวาลตามความเป็นจริงเช่นนี้ จึงเป็นชื่อเรียกของสติ กล่าวคือ มองโลกหรือพิจารณาเห็นโลกด้วยความไม่ประมาทนั่นเอง

ความไม่ประมาทที่ปรากฏในคำสอนทางพระพุทธศาสนา

คำสอนในทางพระพุทธศาสนานั้น กล่าวถึงเรื่องของความไม่ประมาทไว้ผ่านคำสอนและบทพุทธศาสนสุภาษิตที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีว่า

อัปปะมาโท อะมะตัง ปะทัง

ความไม่ประมาทเป็นแนวทางแห่งความอมตะ (ไม่มีวันตาย, เป็นจริงอยู่อย่างนั้นตลอดไป)

ปะมาโท มัจจุโน ปะทัง

ความประมาทเป็นแนวทางแห่งความตาย (คนประมาทที่มีชีวิตอยู่ ก็ประหนึ่งว่าได้ตายไปแล้ว)

นอกจากนี้แล้ว พระพุทธศาสนายังได้จำแนกประเภทของความประมาทไว้เป็นหลักใหญ่ได้ 3 ประการด้วยกัน คือ

1. ประมาทในชีวิต

ความประมาทในชีวิต คือความคิดประมาท เลินเล่อ ดูดายว่า ชีวิตของเราจะดำรงคงอยู่อีกนานเท่านาน ความตายคงจะไม่มาถึงเราง่ายๆ หรือในเร็วๆ นี้หรอก เรายังสามารถใช้ชีวิตได้อีกนานแสนนาน ชีวิตของเราเป็นชีวิตที่มีความสุข จะไม่มีวันประสบกับความทุกข์หรือความเสื่อมใดๆ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเรา เราสามารถควบคุม หรือกำหนดให้อะไรๆ เป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการได้ทั้งสิ้น หรือจะสรุปความลงให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ มีความคิดว่า “เราคงไม่ตายง่ายๆ หรอก” หรือ “ชีวิตของเราเป็นของเที่ยงแท้คงเดิมตลอดไป, ชีวิตเป็นเรื่องสนุกมีแต่ความสุขแบบนี้ตลอดไป และมองว่าอะไรๆ ก็ได้ดังใจของเราไปเสียทุกอย่าง” ซึ่งความคิดหรือการมองโลกและชีวิตในลักษณะเช่นนี้ จัดอยู่ในความประมาทในชีวิต ในประการที่ 1 นี้

2. ประมาทในวัย

ความประมาทในวัยก็คือ ความประมาทในวัยเด็ก วัยหนุ่ม วัยสาวของตนเองว่า ความเป็นหนุ่มเป็นสาวของเราจะอยู่กับเราตลอดไป เรายังหนุ่มยังสาวอยู่ ไม่ต้องสร้าง ไม่ต้องหา ไม่ต้องขวนขวายอะไร เพราะว่าอายุของเราก็เพียงแค่นี้เอง ยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อีกนาน เรื่องของการศึกษา การทำงานทำกรสร้างหลักฐานของชึวิต สร้างฐานะความร่ำรวย การแสวงหาความรู้ และการก่อร่างสร้างบุญกุศลความดีใดๆ ยังไม่ต้องรีบเร่งก็ได้ เอาไว้ทำตอนที่อายุมากขึ้นอีกหน่อย ยังมีเวลาอีกมากสำหรับคนวัยรุ่นหนุ่มสาวอย่างเรา

และเมื่อเวลาผ่านไปๆ ก็ก้าวเข้าสู่วัยกลางคน วัยสูงอายุ ก็ยังคิดอย่างนี้อยู่ ในที่สุดเมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ ก็ไม่สามารถตั้งตัวสร้างฐานะได้ ไม่ได้สร้างคุณงามความดีใดๆ ก็แก่ลงอย่างไรคุณค่า แก่ลงอย่างไร้สมบัติพัสถานใดๆ เพราะมัวแต่ประมาทในวัยว่ายังหนุ่มยังสาว ยังมีเวลาเตรียมตัวอีกมากมาย

บางคนหนักหนาสาหัสกว่านั้นอีกก็มี เช่น ต้องพิการทุพพลภาพตั้งแต่ยังหนุ่มยังสาว ต้องเป็นโรคร้ายแรงตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มเป็นสาว และต้องเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มเป็นสาว โดยไม่มีโอกาสได้ทำคุณงามความดีให้กับตนเองเลย

เพราะในโลกสันนิวาสนี้ ไม่มีอะไรแน่นอน “ความเพียรเป็นเรื่องที่ต้องทำภายในวันนี้ ใครล่ะจะรู้ว่าเราจะมีชีวิตอยู่ไปได้นานสักแค่ไหน เราอาจจะตายวันนี้หรือพรุ่งนี้ก็ได้” เพราะชีวิต…เป็นของไม่แน่นอน…

3. ประมาทในสุขภาพ

ความประมาทในสุขภาพนี้ก็เช่นเดียวกัน หลายคนมองว่า เรายังอายุไม่มาก สุขภาพแข็งแรง คงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บใดๆ มาเบียดเบียนบีฑาได้ ก็ใช้ชีวิตด้วยความประมาท ไม่รักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง มิหนำซ้ำ ยังใช้ร่างกายนี้ไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ นำสิ่งที่เป็นโทษเข้าสู่ร่างกาย เช่นสุรายาเสพติด สารเคมีอันตราย อาหารที่มีผลร้ายต่อสุขภาพ หรือพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

เมื่อเป็นเช่นนี้ สุขภาพร่างกายก็ค่อยๆ ทรุดโทรมเสื่อมลงอย่างช้าๆ และส่งผลให้เห็นเป็นสัญญาณอันตรายต่อชีวิตในที่สุด มารู้ตัวอีกที ก็ไม่สามารถจะเยียวยารักษาสุขภาพนี้ให้ยังคงแข็งแรงดังเดิมได้อีกต่อไปแล้ว และนี่ก็คือความประมาทในสุขภาพ ดังนั้น การใช้ชีวิตของเราทุกคน นอกจากจะใส่ใจในเรื่องอื่นๆ ในชีวิตเป็นอย่างดีแล้ว ก็อย่าลืมหันมาสนใจ ใส่ใจในสุขภาพของเราให้ดีด้วย

เพราะถ้าหากว่าสุขภาพร่างกายและจิตใจย่ำแย่ทรุดโทรมไป เราก็เหมือนกับขาดเครื่องมือสำคัญอันเป็นต้นทุนในการกระทำคุณงามความดีหรือสร้างผลงานใดๆ ให้กับชีวิตของเราไปอย่างสิ่นเชิง

สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจจึงเป็นสิ่งที่เราต้องคอยทำนุบำรุงดูแลรักษา ให้คงความสดชื่นแข็งแรงและพร้อมสำหรับการใช้งานในทุกกิจกรรมของชีวิต จงอย่าได้ประมาทในเรื่องปัญหาสุขภาพกันอีกต่อไปเลย

4. ประมาทในเวลา

ความประมาทในเวลาก็คล้ายๆ กับการประมาทในวัย ต่างกันก็แต่เพียงว่า ความประมาทในเวลานั้น เป็นความประมาทในการใช้เวลาไปกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือการใช้เวลาไปกับชีวิตนี้ ว่ามีเราได้ใช้เวลาไปอย่างคุ้มค่า หรือเกิดประโยชน์กับชีวิตของเราหรือกับสังคมโลกนี้อย่างไรบ้าง หรือว่าได้ใช้เวลาไปอย่างฟุ่มเฟือยกับสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ มิหนำซ้ำยังเป็นโทษกับชีวิตของเราและสังคมโดยรวมโดยส่วนใหญ่หรือไม่

แน่นอนที่สุด คนเราทุกคนมีเวลาในแต่ละวันเท่ากันคือ 24 ชั่วโมง เท่ากันเสมอเหมือนกันหมด ไม่มีใครได้รับเวลามากเป็นเศษกว่าใคร หรือน้อยเป็นพิเศษกว่าใคร ต่างแต่ว่า ใครจะทำเวลาที่ได้รับการจัดสรรให้มาในแต่ละวันในทางที่เกิดประโยชน์แก่ตนเองและแก่สังคมได้มากน้อยกว่ากันเท่านั้น

แม้ว่าคนเราจะมีระยะเวลาในการมีชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ไม่เท่ากันทั้งหมด แต่วันเวลาที่เรามีอยู่ในปัจจุบันนี้ เราสามารถบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นไปเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมโดยรวมได้มากน้อยสักเพียงใด

เมื่อเราได้สร้างประโยชน์ให้กับตนเองและสังคมอย่างเต็มกำลังความสามารถ ในสิ่งที่พึงกระทำอย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว แม้ว่าเราจะต้องตายลงในวินาทีนี้ก็ตาม เราก็จะไม่มีความรู้สึกเสียดาย หรือเสียใจกับการใช้เวลาของชีวิตในช่วงอดีตที่ผ่านมาเลยแม้แต่น้อย

ในทางตรงกันข้าม หากว่าในช่วงอดีตที่ผ่านมานั้น เราใช้เวลาไปอย่างไร้ค่า ไร้ประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดคุณกับทั้งตัวเอง กับคนที่เรารัก และกับสังคมใดๆ เลย เมื่อความพิการทุพพลภาพมาถึง ความตายได้ย่างกรายเข้ามาถึง และฉุดพาเราให้ต้องจากโลกใบนี้ไปอย่างกระทันหันแล้ว

แม้ว่าคงเหลือแต่วิญญาณ ก็จะรู้สึกเสียดายและเสียใจที่เราได้ใช้เวลาของชีวิตไปอย่างไร้ค่า และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดเลย และมีความปรารถนาอ้อนวอนอยู่ในใจว่า ถ้าหากเป็นไปได้ ก็ขอโอกาสย้อนเวลากลับไปแก้ไขในสิ่งที่ล่วงผ่านมาแล้วให้ดีกว่านี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว โอกาสที่จะย้อนเวลากลับไปแก้ไขสิ่งต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมาแล้ว ก็ไม่สามารถจะมีทางเป็นจริงได้เลย

ฉะนั้น จึงขอเตือนทุกท่านไว้ด้วยจิตปรารถนาดีว่า เราทุกคนอย่าได้พากันลุ่มหลงประมาทในเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้เลย

5. ประมาทในธรรมะและบุญกุศล

หลายๆ คนมองว่า เรื่องของการศึกษาธรรมะ การเรียนรู้หลักธรรมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรม ส่งเสริม ปรับปรุง และพัฒนาชีวิตให้มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไปนั้น เป็นเรื่องที่ยังพอมีเวลาอยู่ ยังมีเวลาอีกมาก เรื่องของธรรมะ เรื่องของการพิจารณาให้จิตใจได้ก้าวเข้าสู่ความเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริงนั้น เป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของพระของแม่ชี เป็นเรื่องของนักบวช เป็นเรื่องของคนแก่ เรายังไม่จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้อะไร

เพราะลำพังแค่เพียงทำมาหากินก็ยากเย็นแสนเข็ญอยู่แล้ว อย่าให้เรื่องธรรมะธัมโมอะไรต้องกลายมาเป็นเรื่องที่ต้องแบกรับเพิ่มเติมอะไรอีกเลย อย่าปล่อยให้เรื่องของการสร้างทานการกุศล ต้องพลอยมาทำให้ชีวิต้องสับสนวุ่นวายไปกว่านี้เลย

ความคิดในทำนองดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั้น เป็นความติดของบุคคลผู้ประมาทในธรรม เป็นแนวคิดของคนผู้ประมาทในบุญกุศล

นั่นเป็นเพราะเหตุใด นั่นก็เป็นเพราะเขามองว่า เรื่องธรรมะเป็นเรื่องไกลตัว เรื่องบุญกุศลเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตของมนุษย์โดยตรง

มนุษย์ส่วนใหญ่มักมองว่า เรื่องของการทำมาหากิน เรื่องของการใช้ขีวิตในโลกนี้เพื่อให้สามารถมีชีวิตรอด สร้างฐานะ มีองค์ความรู้ มีหน้ามีตาในสังคมนี้ต่างหาก เป็นเรื่องที่ต้องเร่งรีบขวนขวายให้เกิดมีในชีวตนี้อย่างเร่งด่วน และมักจะแยกเรื่องของธรรมะและบุญกุศลต่าง ๆ ออกจากกระบวนการของชีวิตไปอย่าสิ้นเชิง

โดยหารู้ไม่ว่า ในความเป็นจริงแล้ว ธรรมะก็คือชีวิตประจำวันของเรา ชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายของเราก็เป็นไปตามสภาวะธรรมที่เรียกโดยรวมว่า “ธรรมะ” นั่นเอง

ชีวิตที่พัฒนาแล้วหรือกำลังได้รับการพัฒนาก็คือชีวิตที่มีบุญประกอบด้วยกุศลคือความฉลาดในการใช้ชีวิต เพราะหาไม่แล้ว เราก็จะใช้ชีวิตไปโดยปราศจากการปรับปรุงพัฒนาทางจิตใจ ไม่เคยยกระดับคุณภาพของจิตใจ ไม่เคยสร้างปัญญาแห่งการรับรู้ และการมองโลกและชีวิตตามความเป็นจริง จึงกลายเป็นผู้ที่มีความเข้าใจโลกและชีวิตที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง และรู้สึกต้องทุกข์โศกเศร้าตรมในยามที่อะไรๆ ไม่เป็นไปได้ดั่งใจ

มนุษย์เราจะรู้สึกฮึกเหิม เลินเล่อ เอิกเกริก และมีความรู้สึกคึกคะนองในความสำเร็จหรือความสมปรารถนาอย่างไม่สามารถควบคุมบังคับบัญชาตนเองให้อยู่ในกรอบที่เหมาะที่ควรได้ และต้องทุกข์ใจอย่างแสนสาหัสอีกครั้ง เมื่อความสำเร็จนั้นแปรผันไปเป็นอย่างอื่น หรือไม่เป็นไปอย่างที่หวังตั้งใจ และไม่ดำรงคงอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวรอย่างที่ตนเองเข้าใจมาตลอด ก็ก่อให้เกิดความทุกข์ขึ้น

ซึ่งความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนั้น เป็นความทุกข์อันเกิดจากการขาดความเข้าใจในเรื่องของโลกและชีวิตตามความเป็นจริง ขาดความรู้และความเข้าใจในเรื่องของธรรมะและเรื่องของบุญกุศล

ดังนั้น ขออย่าได้ประมาทในธรระมและในบุญกุศลเลย เพราะในโลกนี้ เราไม่สามารถจะแยกออกระหว่างชีวิตการทำงาน ชีวิตประจำวันกับธรรมะและบุญกุศลได้เลย เพราะทุกสรรพสิ่ง ล้วนแล้วแต่อิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นทั้งนั้น

ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาให้เห็นถ่องแท้ถูกต้องตามความเป็นจริง และใจที่แข็งแกร่งพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลานั่นต่างหากเล่า เป็นผลจากการเรียนรู้ธรรมะและการสั่งสมตามสร้างบุญกุศลของคนเรา จึงเป็นที่พึ่งของคนเราได้อย่างแท้จริง

ความเข้าใจด้วยปัญญาดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น จะไม่ทำเราให้ต้องรู้สึกสุขหรือทุกข์ไปตามสภาวการณ์ที่บีบคั้นโดยหลักไตรลักษณ์และโลกธรรมทั้ง 8 ซึ่งเปรียบเสมือนกับนายพรานเบ็ด ผู้สามารถฉุดกระชากดึงรั้งปลาตัวที่กำลังติดเบ็ดไปสู่ทิศทางที่ตนต้องการได้ตามปรารถนาฉะนั้น…

แพรวพราวดอทคอม/
praewprouds.com
“แพรวด้วยความรู้
พราวด้วยประสบการณ์”