pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

อักษรในภาษาไทย

อักษรในภาษาไทย

คำว่า “อักษร” หมายรวมถึงทั้งสิ่งที่เป็นรูปพยัญชนะ (สิ่งที่ทำเนื้อความให้ปรากฏ, ทำเนื้อความให้ชัดเจน) และสระ (คือเสียง หมายถึงสิ่งที่เปล่งออกมาให้ได้ยิน) และนอกจากนั้นแล้วก็ยังหมายถึงระดับความสูง-ต่ำของเสียงแต่ละเสียงอีกด้วย นั้นก็หมายถึงวรรณยุกต์ (ระดับความสูง-ต่ำของเสียงที่แตกต่างกันออกไป)

ดังนั้น เราจึงแบ่งออกอักขระ หรืออักษรในภาษาไทยออกเป็น ๓ ประเภทด้วยกัน คือ

๑) เสียงแท้ หมายถึง สระ เพราะเสียงที่เปล่งออกมาจากสระนั้น ถือเป็นเสียงแท้ ซึ่งเมื่อนำไปผสมรวมกับพยัญชนะแล้วก็สามารถรู้ความหมาย หรือทำให้เนื้อความหรือเสียงที่เปล่งออกมาแตกต่ากันออกไปได้ด้วย และหากนำไปผสมกับวรรณยุกต์ด้วยแล้ว ก็ยังสามารถทำให้เสียงมีความแตกต่างออกไป และสื่อความหมายไปได้แตกต่างหลากหลายได้อีกด้วย

๒) เสียแปร หมายถึง พยัญชนะ ซึ่งไม่ใช่เสียงแท้ที่เปล่งออกมาจริงๆ แต่คือเสียงที่ต้องอาศัยสระ คือเสียงแท้ช่วยในการช่วยให้ออกเสียง เพราะพยัญชนะ (เสียงแปร) ไม่สามารถออกเสียงได้โดยลำพังตัวเอง เป็นแต่เพียงทำหน้าที่สวมเข้าไปกับเสียงสระ หมายความว่าต้องอาศัยสระซึ่งเป็นเสียงแท้ จึงสามารถออกเสียงได้ แต่ก็ใช่ว่าเสียงแปร หรือพยัญชนะนี้จะไร้ค่า หรือไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด หากแต่เสียงพยัญชนะหรือเสียงแปรนี้ ยังช่วยให้เสียงสระ ที่เป็นเสียงแท้ มีเนื้อความที่แตกต่างกันออกไป พร้อมทั้งให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น อักษรเสียงแปร หรือพยัญชนะนี้ จึงได้ชื่อว่าอักษรที่ทำเนื้อความให้ปรากฏ หรือเสียงที่มีความหมายนั่นเอง

๓) เสียงดนตรี หรือเสียงวรรณยุกต์ เป็นเสียงที่ให้ระดับความสูง – ต่ำ เหมือนกับระดับเสียงที่สูง-ต่ำของเสียงดนตรี มีทั้งหมด ๕ ระดับด้วยกัน ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา

และนี่ก็คือ อักขระ หรือ อักษร ที่มีการใช้ในหลักภาษาไทยทั้ง ๓ ประเภทครับ