pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

3 คำสอน

ทำได้ 3 อย่างนี้ ชีวิตจะมีแต่ความสุข

มีคำถามที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า ” พระพุทธศาสนาสอนอะไร ” , ” พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร “, “พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนอะไรยึดถือและนำไปปฏิบัติกันแน่ เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมายเหลือเกิน” , และคำถามที่ว่า “พอจะจำกัดความและย่นย่อลงให้เลือจำนวนน้อยๆ ข้อ พอให้ได้ยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติได้หรือไม่” ซึ่งพระพุทธศาสนาได้เตรียมคำตอบไว้สำหรับคำถามนี้เรียบร้อยแล้วครับ

หากยึดหลักการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้แก่เหล่าพระสาวก 1,250 รูป ที่เดินทางมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์โดยมิได้นัดหมายกันมาก่อน ณ พระเวฬุวัน (ป่าไผ่) ในวันเพ็ญขึ้น 25 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชานั้น ก็หมายถึงโอวาทปาติโมกข์ 3 ข้อแรก ซึ่งเป็นตัวหลักการ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทานไว้เป็นหลักในการเผยแผ่คำสอนของพระองค์ เพื่อให้ผู้ได้ยินได้ฟัง ได้น้อมนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความสุขความเจริญในการดำเนินชีวิตต่อไป

คำสอนอันถือเป็นหลักการ หรือหัวใจของคำสอนในทางพระพุทธศาสนามี 3 อย่าง ได้แก่

  1. การไม่ทำความชั่วทุกอย่าง
  2. การเลือกทำแต่ความดี
  3. การทำใจให้สบาย สดชื่น แจ่มใส ไร้มลทิน บริสุทธิ์ผุดผ่อง

สำหรับรายละเอียดของคำสอนในแต่ละข้อนั้น จะขอนำมาอธิบายแยกข้อ เพื่อง่ายต่อการกำหนดจดจำและทำความเข้าใจ ดังนี้

1. การไม่ทำความชั่วทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความชั่วทางกาย ความชั่วทางวาจา หรือความชั่วทางใจก็ตาม ก็จะไม่ยอมคิด พูด หรือว่ากระทำการใดๆ ที่เป็นความผิด ความชั่ว หรือความเลวเป็นอันขาด

ซึ่งลักษณะของความชั่วนั้น ก็มีหลักข้อพิจารณาสังเกตให้เห็นได้ง่ายๆ คือ เรื่องอะไรก็ตามที่เมื่อคิดแล้วก็ให้เกิดเป็นความโลภ ความอยากได้ของคนอื่น ความอิจฉา ความริษยา ความแค้นเคืองใจ ความโกรธ ความผูกอาฆาตมาตรร้าย หรือก่อให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น หลงมัวเมาในสิ่งนั้น ความคิดเช่นนี้ จัดว่าเป็นความคิดชั่ว

คำพูดใดก็ตาม ที่เมื่อพูดไปแล้ว ทำให้คนอื่นต้องเข้าใจผิด หลงเชื่อ ถูกหลอกให้เชื่อ ถูกลวงให้หลง ทำให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บใจ เกิดอารมณ์โกรธ เกิดอารมณ์ขุ่นเคือง หรือคำพูดใดที่เมื่อพูดแล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรกับผู้อื่น และไม่มีประโยชน์อะไร แม้กระทั่งกับตัวผู้พูดเอง คำพูดเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่จัดว่าเป็นคำพูดชั่วทั้งนั้น

การกระทำใด ที่เมื่อทำแล้ว ย่อมจะก่อความเดือดร้อน วุ่นวาย พลัดพราก สูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน และของรักของหวงของผู้อื่น การกระทำเช่นนี้ จัดเป็นการกระทำความชั่วทั้งหมด

พระพุทธองค์ทรงสอนให้เว้นจากความชั่วเหล่านี้ทั้งหมด เพราะเมื่อทำได้ตามหลักการคำสอนข้อแรกนี้แล้ว ก็จะเป็นผู้พ้นจากเวรภัยทั้งปวง ไม่ต้องอยู่อย่างสะทกสะท้าน ไม่ต้องอยู่อย่างสะดุ้งหวาดกลัว เพราะเกรงว่าจะมีผู้มาแก้แค้นกระทำคืน ข้อนี้ถือเป็นความสุขอันเกิดจากการทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าข้อแรก

2. การเลือกทำแต่ความดี เมื่อละความชั่วในข้อ 1 ได้แล้ว ก็ขอให้เลือกทำแต่ความดีเท่านั้น ซึ่งความดีนั้น ก็สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 อย่างเช่นเดียวกัน คือ

ความดีทางความคิด ได้แก่คิดแต่เรื่องให้ เรื่องแบ่งปัน เรื่องเสียสละ เรื่องทำประโยชน์แก่สาธารณะส่วนรวม คิดแต่เรื่องเมตตา รัก และปรารถนาดีต่อผู้อื่น คิดแต่เรื่องที่ประกอบด้วยธรรม เป็นไปตามหลักความถูกต้องชอบธรรม อย่างนี้เรียกว่า “คิดดี

ความดีทางวาจา ก็ได้แก่ การพูดถ้อยคำที่เป็นคำสัตย์ คำจริง ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจ ปลุกพลังแห่งความดีในตัวตนของผู้อื่น เป็นถ้อยคำที่มีความไพเราะอ่อนหวาน น่าดึงดูดใจผู้คนไว้ได้ และเป็นถ้อยคำที่มีประโยชน์ คือเมื่อพูดแล้วก็จะเกิดประโยชน์ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นหรือแม้กระทั่งตนเองก็ตาม นี้เรียกว่า “พูดดี

ความดีทางกาย ได้แก่ การกระทำใดๆ ก็ตามที่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูล อนุเคราะห์-สงเคราะห์ผู้อื่นด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ประสบความสำเร็จ คอยช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนต่างๆ ได้ การประกอบสัมมาอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยกำลังความรู้ความสามารถของตนเอง การซื่อสัตย์ในคู่ครองของตน เป็นคนรักเดียวใจเดียว และไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ อย่างนี้เรียกว่า “ทำดี

พระพุทธองค์ทรงสอนให้คนเราเลือกทำแต่ความดีเหล่านี้เท่านั้น เพราะเมื่อทำได้ตามหลักการคำสอนข้อที่สองนี้แล้ว ชีวิตก็จะมีต้นทุนแห่งความดีเป็นเกราะกำบัง ช่วยให้พ้นจากสิ่งเลวร้าย หรืออุปัทวันตรายต่างๆ เข้าข่ายคำพูดที่ว่า “คนดี ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้” อีกทั้งยังเป็นต้นทุนทางสังคม ทำให้มีคนเคารพ รัก ศรัทธา มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจของคนโดยทั่วไป ก็จะบันดาลให้เกิดความสุขในชีวิตได้เช่นเดียวกัน ข้อนี้ถือเป็นความสุขอันเกิดจากการทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าข้อที่สอง

3. การทำใจให้สบาย สดชื่น แจ่มใส ไร้มลทิน บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นหนึ่งในคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เรียกได้ว่าเป็นผลพวงมาจากการละเว้นจากความชั่ว และการเลือกทำแต่สิ่งดีๆ ในข้อ 1 และข้อ 2 ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

เมื่อคนเราไม่ได้ทำความชั่วแล้ว ก็หันมาทำแต่ความดี เมื่อทำความดีแล้ว ผลแห่งความดีก็เกิดขึ้นเป็นอานิสงส์ ทำให้จิตใจนั้นผุดผ่อง ผ่องใส แจ่มชัด บริสุทธิ์ สดใส ไร้มลทินมัวหมองใดๆ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะจิตไม่ต้องเสพอารมณ์ที่ความชั่วอกุศลใดๆ ได้แต่เพลิดเพลินในการทำความดีมีประการต่างๆ เช่น การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญจิตภาวนา จึงทำให้จิตใจปลอดโปร่งโล่งสบาย เป็นจิตใจที่มีความอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุและอารมณ์ใดๆ

เมื่อใจมีความเป็นอิสระ ไม่ต้องตกเป็นทาสของอารมณ์ความรู้สึก หรือสิ่งที่มากระทบแล้ว จิตใจก็มีแต่ความเบาสบาย ไร้ความวิตกกังวล เป็นจิตใจที่เข้าถึงความสุขอย่างแท้จริงโดยไม่ต้องอิงอาศัยอามิสสิ่งใดมาเป็นตัวช่วยอำนวยความสุขให้ เป็นจิตใจที่มีความสุขได้ด้วยตัวของมันเอง

เมื่อทำตามหลักการแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 อย่างนี้ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการแล้ว ก็จะมีผลทำให้ชีวิตของผู้นั้น มีแต่ความสุข สดชื่น และสดใสได้อย่างปัจจุบันทันด่วนในปัจจุบันขณะนี้เอง ไม่ต้องรอให้ถึงชาติหน้าแต่อย่างใด

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”