pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

4 ข้อ ที่คนเป็นผู้นำต้องมี

ทุกท่านเชื่อหรือไม่ครับว่า หัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารหลายๆ คน จากหลากหลายบริษัท หลายๆ องค์กร ตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมาของเขาเหล่านั้น เริ่มต้นชีวิตการทำงานมาจากจุดเล็กๆ หรือตำแหน่งเล็กๆ จากผู้ปฏิบัติการ เรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์ และปีนป่ายไต่เต้าตำแหน่งขึ้นมาจนกระทั่งได้นั่งอยู่ในตำแหน่งของหัวหน้าทีม กลายเป็นผู้นำ เป็นผู้บริหาร หรือเป็นผู้ที่ถึงวาระที่จะต้องกลายมาเป็นหัวหน้าทีม กลายเป็นผู้นำ และกลายมาเป็นผู้บริหาร โดยที่อยากจะเป็นโดยสมัครใจ หรือจำใจต้องเป็นก็ตาม

ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากการเคยเป็นลูกน้อง ผู้ปฏิบัติการ หรือผู้ที่ต้องคอยทำตามคำสั่งของคนอื่น กลายมาเป็นผู้ที่ต้องมอบหมาย สั่งการ และนำพาทีม หน่วยงาน องค์กร ไปสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ด้วยความสำเร็จที่งดงามได้นั้น นับว่าเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านที่ค่อนข้างจะยากลำบากอยู่ไม่น้อย สำหรับหัวหน้าใหม่ๆ ผู้นำใหม่ๆ หรือผู้บริหารใหม่ๆ และหลายต่อหลายคน ก็ประสบความล้มเหลวในการเป็นหัวหน้า เป็นผู้นำ หรือเป็นผู้บริหารไปอย่างน่าเสียดาย เพราะขาดประสบการณ์ ขาดเคล็ดลับสำคัญในการก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำนั่นเอง

ทักษะ ประสบการณ์ และเคล็ดลับสำคัญสำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้าคน เป็นผู้นำคน หรือเป็นผู้บริหารในหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ ที่สำคัญๆ พอจะสรุปออกมาให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆ และสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทันทีและได้ผล มี 4 ข้อ ต่อไปนี้ คือ

1. วิสัยทัศน์ นโยบาย กลยุทธ์

ในการนำพาทีมไปสู่ความสำเร็จ ต้องมองภาพความสำเร็จขององค์กรให้ออก ต้องมองเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรให้ออก และที่สำคัญ มององค์กร บริษัท หรือหน่วยงานของตนให้ออกว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ทำอะไร ผลิตอะไร ให้บริการอะไร แบบไหน อย่างไร เพื่ออะไร ต้องมองภาพรวมของงานโดยภาพรวมให้ออก แล้วกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ออกมาให้กระชับและทุกคนในทีม สามารถเข้าใจได้ และร่วมเป็นฟันเฟืองต่างๆ ขับเคลื่อนองคาพยพของทีมให้สำเร็จตามที่วาดหวังไว้

นอกจากนั้น ก็ยังต้องกำหนดนโยบาย คือ มีนโยบายหรือยุทธศาสตร์ที่สำคัญอย่างไรบ้าง ที่จะนำพาองค์กรหรือทีมงานผลักดันให้วิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้นั้น สำเร็จผลออกมาอย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดเป็นหลักการใหญ่ๆ ไว้อย่างชัดเจน อาจไม่จำเป็นต้องมีมากมายหลายข้อแต่อย่างใด อาจจะมีนโยบายหรือยุทธศาสตร์เพียงไม่กี่ข้อ แต่ว่าต้องเป็นเคล็ดวิชาสำคัญ โดดเด่น และต้องเด็ดมากๆ ซึ่งเมื่อนำไปปฏิบัติตามแล้ว สามารถที่จะผลักดันให้วิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้สำเร็จประโยชน์อย่างแท้จริง

เมื่อกำหนดนโยบาย และยุทธศาตร์หลักๆ ได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ การกำหนดกลยุทธ์ คือวิธีการที่แยกย่อยออกมาเป็นข้อๆ อีกทีหนึ่งเพื่อที่จะขับเคลื่อนนโยบายหรือยุทธศาสตร์ในแต่ละข้อเหล่านั้น ให้สำเร็จผลออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรมและจับต้องได้ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในทีม ซึ่งต้องช่วยกันผลักดัน ผ่านกระบวนการผลิต ขั้นตอนในการบริการ ขั้นตอนในการบริหาร วิธีการบริหาร ผ่านกิจกรรม โครงการ และการฝึกอบรมต่างๆ รวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักดันกลยุทธ์นั้นๆ ให้สำเร็จผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

ดังนั้น ผู้นำที่ดี หัวหน้าที่ดี หรือผู้บริหารที่ดี จึงจำเป็นต้องมีคุณสมบัติข้อแรกนี้อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็คือต้องมององค์กรออก มองทีมงานออก ว่าทีมงานหรือองค์กรของเราทำงานเกี่ยวกับอะไร ทำอย่างไร อดีตที่ผ่านมามีผลงานเป็นอย่างไร ปัจจุบันมีผลงานเป็นอย่างไร และสามารถพัฒนาต่อยอดให้มีผลงานที่ดียิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคตได้อย่างไร โดยอาศัยอะไรเป็นตัวขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ

นั่นหมายความว่าต้องมองภาพของหน่วยงานหรือองค์กรตัวเองให้ออกอย่างชัดแจ้ง ชัดเจนกว่าคนไหนๆ ในหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ จากนั้นก็มองว่าสามารถจะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้ มีผลผลิตที่ดีกว่านี้ ให้บริการที่สร้างความพึงพอใจได้ดีกว่านี้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประหยัดทรัพยากรและประหยัดเวลา หรือมีความรวดเร็วในการผลิตและการให้บริการ โดยสามารถสร้างความพึงพอใจของผู้ใช้สินค้าและรับบริการได้ด้วยในขณะเดียวกัน โดยอาศัยการกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ และกำหนดกลยุทธ์หรือวิธีการที่จะสร้างความสำเร็จออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรมตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้นั้น

2. ฉลาดแจกจ่ายงาน

หัวหน้าทีม ผู้นำ หรือผู้บริหารที่ดี ต้องสามารถกระจายงานให้ลูกน้อง หรือให้คนอื่นๆ ช่วยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน ไม่คลุมเครือ โดยสามารถกำหนดแบ่งขอบเขตของงาน ภารกิจงาน ขอบเขตความรับผิดชอบ และระยะเวลาในการดำเนินงานให้ชัดเจน เพื่อมอบหมายให้ลูกน้องนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและได้ผลอย่างที่ต้องการ สำนึกอยู่เสมอว่า บทบาทหน้าที่ของเรา ณ ตอนนี้ ไม่ใช่เพียงแค่คนทำงานทั่วไปอย่างเดิมอีกต่อไปแล้ว แต่มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบดูแลทั้ง “งาน” และ “คน” ซึ่งมีความท้าทายและต้องแบกรับที่ยากไปกว่าเดิม ซึ่งเราจะต้องทำออกมาให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้

หัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารใหม่ๆ ส่วนมากแล้ว จะยังไม่สามารถแยกออกระหว่างหน้าที่ของการเป็นผู้นำและผู้ปฏิบัติงานได้ เพราะในประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมานั้น มีหน้าที่รับคำสั่งและปฏิบัติงานไปตามคำสั่งของผู้อื่น การนำเสนอผลงานในขอบเขตภารกิจงานที่ได้รับมอบหมายให้เท่านั้น ซึ่งอาจจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะเพียงแค่ควบคุม บังคับบัญชา และพัฒนาตัวเองเพียงอย่างเดียว ให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานก็สามารถทำผลงานออกมาได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ ทั้งจากตนเอง ทีมงาน และหัวหน้างานได้แล้ว

แต่การทำงานในฐานะหัวหน้า ผู้นำหรือผู้บริหารแตกต่างไปจากการทำงานในระดับปฏิบัติการอย่างสิ้นเชิง เพราะนั่นหมายความว่า นอกจากเราจะต้องเก่งในงานที่ถนัด และงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการเริ่มแรกไปจนจบกระบวนการ รวมทั้งการวัดและประเมินผล รวมถึงการนำเอาผลงานที่ได้ในแต่ละครั้งไปปรับปรุงแก้ไขและต่อยอด พัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกแล้ว หัวหน้างาน ผู้นำ หรือผู้บริหารยังต้องมีหน้าที่ในการควบคุม กำกับ ดูแล วัด และประเมินผล พัฒนา และให้คำแนะนำ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างกำลังใจ สร้างแรงจูงใจให้กับลูกน้องได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หาไม่แล้ว ก็ยากที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้

ดังนั้น หัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารที่เก่งๆ ไม่ใช่คนที่ต้องลงไปคลุกคลีตีโมง ทำงานเอง เก่งเองไปเสียทุกเรื่อง แต่ต้องรู้จักทำงานโดยอาศัยฝึมือ ความคิด มันสมองจากคนอื่น ไม่ใช่ลงไปลุยทำเองเสียทุกเรื่อง เพียงแต่ต้องแบ่งงาน มอบหมายงานให้ลูกน้องตามความถนัด ความเก่ง และความสามารถในด้านต่างๆ ของแต่ละคน และคอยกำกับให้ลูกน้องสามารถผลิตสินค้าหรือบริการออกมาให้ได้อย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้เป็นสำคัญ

การแบ่งงานให้ลูกน้องทำ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ยากตรงที่ต้องมองลูกน้องแต่ละคนให้ออกว่า เค้ามีความสามารถทางด้านไหน ถนัดเรื่องอะไร ทำอะไรได้ดี และทำอะไรได้ไม่ดี ก็เลือกใช้งานลูกน้องให้ตรงกับความรู้ความสามารถของเขา

ถามว่า เพียงแค่การมองลูกน้องออก และแบ่งงานให้ทำตามความรู้ความสามารถของลูกน้องนั้น เพียงพอสำหรับการเป็นผู้นำที่ดีแล้วหรือยัง ตอบได้เลยว่า ยังไม่ใช่บทสรุปเรื่องคุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดีแต่อย่างใด เพราะจะต้องประกอบด้วยปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย

3. ได้ใจลูกน้อง

หัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารที่ดี ไม่ใช่เพียงแค่ว่าทำงานเก่ง แบ่งงานเก่ง มองคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็นเท่านั้น ในการทำงานร่วมกันในที่ทำงานจริงๆ แล้ว ต้องยอมรับความจริงว่า ทุกที่ทำงานนั้น ล้วนแล้วแต่ประกอบไปด้วยสังคมของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง มีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ แตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมองว่าเป็นกลุ่มของบุคคลที่รวมตัวกันเพื่อสร้าง ผลิต บริการ หรือทำงานเพื่อสนองอุดมการณ์และผลตอบแทนร่วมกันของกลุ่มนั่นเอง

การรวมตัวของกลุ่มคนในที่ไหนก็ตาม ก็จำเป็นต้องมีการติดต่อ ประสานงาน การโอภาปราศรัย การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งจำเป็นต้องมีทั้งระหว่างกลุ่มลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานด้วยกันเอง หรือระหว่างหัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารกับลูกน้อง ซึ่งถ้าหากว่าการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันไม่มีประสิทธิภาพดีเพียงพอ หรือไม่ส่งผลในเชิงบวกที่สร้างสรรค์แล้ว ก็ย่อมนำมาซึ่งความติดขัด เป็นปัญหาอุปสรรคให้ต้องได้ตามแก้กับอย่างไม่หยุดหย่อน ท้ายที่สุด เมื่อปัญหาด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของคนในองค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ ย่ำแย่จนถึงขีดสุด ก็อาจส่งผลต่อการล่มสลายของหน่วยงานและองค์กรนั้นได้ในที่สุด

หัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารที่ดี จึงให้ความสัมพันธ์กับการเอาใจลูกน้อง ซื้อใจลูกน้อง หรือสร้างความเชื่อถือ เชื่อมือ และเชื่อใจให้กับลูกน้องว่า หากว่าลูกน้องทำงานกับเราแล้ว เขาเหล่านั้นจะได้รับอะไรเป็นการตอบแทนจากหน่วยงานหรือองค์กรของเรา จะได้รับการปฏิบัติที่ดีอย่างไรจากเรา หัวหน้าที่ดีต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้ใจลูกน้อง รักลูกน้องเหมือนลูกหลาน พี่น้อง ญาติมิตรของตัวเอง ให้ความสำคัญกับสวัสดิการของลูกน้อง สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้นกับลูกน้องได้ หรืออาจจะใช้คำว่า “สามารถซื้อใจลูกน้องได้” นั่นเอง

4. มีความรับผิดชอบ

หัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารที่ดี จะต้องมีความรับผิดชอบต่องานที่ทำ ต่อลูกน้องที่เราควบคุม กำกับ ดูแลอยู่ ไม่ว่าจะผลที่ออกมานั้นจะเป็นไปในทางบวกหรือทางลบก็ตาม

คำว่า “รับผิดชอบ” นั้น ประกอบไปด้วยคำ 2 คำ คือ 1) รับผิด และ 2) รับชอบ หมายความว่าผู้ที่เป็นหัวหน้าคนนั้น มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องรับได้ทั้งเรื่องที่ “ผิด” และเรื่องที่ “ชอบ” นั่นเอง

หัวหน้า หรือผู้นำบางคน เมื่องานมีความผิดพลาด ก็ได้แต่โทษลูกน้อง หรือโยนความผิดให้ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน หรืออย่างน้อยก็พยายามจับผิดลูกน้องจนลูกน้องทำงานด้วยความยากลำบากใจ รู้สึกกดดัน และอยากออกจากงานไปเลยก็มี เพราะได้รับความกดดันจากหัวหน้าหรือผู้นำ

แต่ถ้าหากว่างานประสบความสำเร็จ หัวหน้า หรือผู้นำบางคน ก็มักจะกระโดดเข้าไปช้อนรับเอามาเป็นผลงานของตนเองเพียงคนเดียว โดยลืมนึกถึงทีมงาน หรือลูกน้องที่มีส่วนช่วยกันให้งานประสบความสำเร็จ พอได้สิ่งตอบแทน หรือค่าจ้างรางวัลอะไรขึ้นมา ก็ยึดเอาเป็นของตัวเองเพียงคนเดียว ไม่แบ่งปันให้ลูกน้อง หัวหน้า หรือผู้นำ แบบนี้ นับว่าใช้ไม่ได้ ในที่สุด ลูกน้องก็จะเบื่อหน่าย เอือมระอา รังเกียจ และถอนตัวลาออกจากงานไปทีละคนสองคน จนหมดคนดีๆ คนเก่งๆ ที่จะช่วยทำงาน ทำให้องค์กรเสียบุคลากรที่มีคุณค่าไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้น หัวหน้า หรือผู้นำที่เก่งๆ ที่ดีๆ ก็จะมีความรับผิดชอบเป็นคุณสมบัติหลักสำคัญอีกข้อหนึ่งร่วมด้วยเสมอ เมื่องานผิดพลาดหรือไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ หากมีใครมาตำหนิ หรือหาคนผิด หรือคนรับผิดชอบ หัวหน้าที่ดี ก็จะกระโดดออกไปรับเอาความผิดแทนลูกน้อง และขอโอกาสแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้วนั้น โดยไม่โยนความผิดให้ลูกน้อง หรือทำตัวเป็นศาลตัดสินค้นหาผู้กระทำผิดหรือผู้มีส่วนทำให้งานผิดพลาด เพราะถึงอย่างไร ต่อให้รู้ว่าลูกน้องคนไหนทำผิดพลาด และลงโทษ หรือโยนความผิดให้ลูกน้องคนใดคนหนึ่งแล้วก็ไม่พ้นความรับผิดชอบของตนเองไปได้

เพราะตนเองอยู่ในฐานะหัวหน้า อยู่ในฐานะผู้นำ หรืออยู่ในฐานะของผู้บริหาร ยังไงก็ต้องมีส่วนร่วมในความผิดพลาดนั้นๆ อยู่ดี เพราะถือว่า ไม่สามรถควบคุม กำกับ ดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่สมควรที่จะมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม กำกับ ดูแลคนอีกต่อไป มิหนำซ้ำ ยังทำให้ลูกน้องรู้สึกเอือมระอาใจ รังเกียจ หมดความนับถือ หมดศรัทธา จนไม่อยากจะทำงานให้หัวหน้าประเภทที่ไม่รับผิดชอบอะไรแบบนี้อีกต่อไป

ดังนั้น หัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารที่ดี ที่เป็นที่รักของลูกน้อง เมื่อมีอะไรผิดพลาด มีผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารระดับที่สูงกว่าตนขึ้นไปตำหนิ หรือกล่าวโทษ ก็ให้ออกตัวรับแทนลูกน้อง เมื่อทำได้แบบนี้ รับรองว่า ลูกน้องจะรักท่าน เคารพท่าน และศรัทธาท่าน ยอมทำงานอุทิศชีวิตเพื่อท่านเลยทีเดียว และงานก็จะได้ผลอย่างเหนือความคาดหมาย

หัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารที่ดี นอกจากจะมีความรับผิดแล้ว ยังต้องมีความรับชอบประกอบด้วยเสมอ ในกรณีนี้ก็เช่น เมื่องานประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม ได้รับความชื่นชอบ ความชื่นชม ได้บำเหน็จรางวัล หรือสิ่งตอบแทนอย่างใดมา หัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารที่ดี ก็จะนึกถึงลูกทีม หรือลูกน้องที่ร่วมตรากตรำ ทำงาน ทุ่มเท เสียสละ ประสานความร่วมมือกันอย่างสอดคล้อง มีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงทำให้งานประสบความสำเร็จได้อย่างดี

เมื่อมีรางวี่รางวัลของตอบแทนเกิดึ้นเช่นนี้แล้ว ก็ให้แบ่งปันบำเหน็จรางวัลและสิ่งตอบแทนนั้นให้ลูกน้องอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน ตามผลงาน ความเสียสละ และทุ่มเท ซึ่งอาจจะได้รับเท่ากันทั้งหมด หรือแบ่งปันไปตามสัดส่วนมากน้อยตามผลงานที่ทำหรือตามที่เห็นว่าเป็นธรรมและสมควร สร้างความพึงพอใจให้กับทุกคนตามกฎกติกาที่ตั้งไว้ และได้รับการยินยอมจากทุกฝ่ายทุกคนในทีมแล้ว

นอกจากนั้นแล้ว เมื่อได้รับคำชื่นชมใดๆ อันเป็นผลมาจากความสำเร็จของงานในทุกครั้ง หัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารที่ดี ก็มักจะไม่ลืมยกความดีความชอบให้ทีมงานหรือลูกน้องด้วยเสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ รับรองได้ว่าหัวหน้า ผู้นำ หรือผู้บริหารที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ จะเป็นที่รักของคนทั่วไป โดยเฉพาะได้ใจลูกน้องไปแบบเต็มๆ เลยทีเดียว

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับ 4 ข้อ หรือ 4 คุณสมบัติสำคัญ สำหรับผู้ที่เพิ่งจะก้าวเข้ามาเป็นหัวหน้า ผู้นำหรือผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ซึ่งต้องการจะได้รับการยอมรับและสามารถทำหน้าที่ผู้นำได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ สร้างความเคารพ รัก ศรัทธา และความนับถือจากลูกน้อง ได้รับความเชื่อถือ เชื่อมือ เชื่อใจจากผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารระดับที่สูงเหนือตนขึ้นไป ก็อย่าลืมนำเอาคุณสมบัติ 4 ข้อนี้ไปปรับใช้กันดูนะครับ

ไม่ใช่แต่เพียงหัวหน้า ผู้นำหรือผู้บริหารใหม่เท่านั้น แม้ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้า ผู้นำหรือผู้บริหารผ่านมาแล้วอย่างโชกโชน คร่ำหวอดในวงการของผู้นำ หรือผู้บริหารแล้ว ถ้าหากต้องการจะให้การทำงานของเรานั้นมีประสิทธิภาพและได้ผลดียิ่งขึ้น ก็ทดลองนำเอาคุณสมบัติผู้นำทั้ง 4 ข้อนี้ไปปรับใช้ดู อันนี้ก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้นนะครับ…

แพรวพราวดอทคอม/

praewprouds.com

“แพรวด้วยความรู้

พราวด้วยประสบการณ์”