pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

กฎหมายแรงงานยุคโควิด

โดย : โฆษก เสริมรัมย์ รองประธานกรรมการฝ่ายเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

นายจ้าง-ลูกจ้างควรรู้เรื่องอะไรยุคภัยโรคโควิด

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า กฎหมายแรงงาน คือกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้างองค์การของนายจ้าง และองค์กรของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนดให้นายจ้าง-ลูกจ้าง และองค์กรดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและรัฐ ทั้งนี้ เพื่อให้การจ้างงานและการใช้งาน การประกอบกิจการ และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยเหมาะสม ต่างได้รับประโยชน์ตามสมควร

มีที่มาจากกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหมวดดังกล่าวนี้ มีทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน, พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และ พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ฯลฯ

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง การใช้แรงงาน การจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยอันดีและมีความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และได้ค่าตอบแทนตามสมควร

พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ เป็นกฎหมายที่กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลทั้ง 2 ฝ่าย คือ นายจ้างและลูกจ้าง เพื่อให้บุคคลทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน สามารถตกลงในเรื่องสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำงานร่วมกันได้ รวมทั้งกำหนดวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นให้ยุติลงโดยรวดเร็ว เพื่อให้เกิดความสงบสุข ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลถึงเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ

พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายดังกล่าว คือ พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ในภาครัฐวิสาหกิจ เป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ซึ่งไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

พ.ร.บ. ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้สถานประกอบกิจการถือปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดี ปราศจากอุบัติเหตุและโรคเนื่องจากการทำงาน

กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมาเพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่พึงมีต่อกัน อันเกี่ยวเนื่องกับการจ้างแรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการคุ้มครองแรงงาน ให้การจ้างและการประกอบอุตสาหกรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ปลอดภ้ย มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของสังคม มีระบบ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานนั้น มีบัญญัติไว้ในกฎหมายหลายฉบับ อาทิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 6 ว่าด้วยการจ้างแรงงาน มาตรา 575 ถึงมาตรา 586, พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2541, พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นต้น

สรุปความเปลี่ยนแปลงของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บังครับใช้ 19 สิงหาคม 2541
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 บังคับใช้ 27 พฤษภาคม 2551
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 บังคับใช้ 28 กุมภาพันธ์ 2551
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554 บังคับใช้ 16 กรกฎาคม 2554
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 บังคับใช้ 23 กุมภาพันธ์ 2560
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 บังคับใช้ 1 กันยายน 2560
  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 บังคับใช้ 5 พฤษภาคม 2562

ความหมายของนายจ้าง (Employer)

  1. บุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้
  2. ผู้ที่รับมอบหมายให้ทำการแทนนายจ้าง
  3. ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
  4. ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ให้มีอำนาจกระทำการแทน
  5. การจ้างเหมาแรงงาน หากมีองค์ประกอบคือ ผู้ประกอบการได้ว่าจ้างด้วยวิธีการเหมาค่าแรง การทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิต หรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ ให้ถือว่าผู้ประกอบการเป็นนายจ้างด้วย

สิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง

  1. นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
  2. มอบหมายงานให้ลูกจ้างทำ
  3. นายจ้างจะโอนสิทธิการเป็นนายจ้างให้บุคคลอื่น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
  4. กิจการใดทีมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง นายจ้างคนใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่
  5. นายจ้างต้องออกหนังสือสำคัญแสดงการทำงานให้แก่ลูกจ้างเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุด
  6. จัดสวัสดิการให้ตามกฎหมาย

ความหมายของลูกจ้าง (Employee)

ลูกจ้าง หมายถึง ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร ลูกจ้างเป็นบุคคลที่ตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง มีลักษณะเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้าง ไม่ว่าจะได้รับค่าจ้างเองหรือให้บุคคลอื่นรับแทน

สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง

  1. ทำงานตามคำสั่งของนายจ้าง
  2. ลูกจ้างต้องทำงานด้วยตนเอง
  3. ต้องทำงานให้ปรากฏฝีมือตามที่แสดงไว้
  4. ต้องไม่ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
  5. ลูกจ้างต้องไม่ทำผิดร้ายแรง
  6. ไม่กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน และต้องทำงานให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต

วันและเวลาทำงาน

  1. วันทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน
  2. กำหนดเวลาทำงานปกติในทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ ถ้าเป็นการทำงานอันตรายต่อสุขภาพตามกฎกระทรวง กำหนดให้ทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์
  3. กำหนดเวลาพักระหว่างวันทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง อาจตกลงพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง/วัน
  4. กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ห่างกันไม่เกิน 6 วัน และหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่า 6 วันทำการ เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี

ค้าจ้าง/ค่าล่วงเวลา

  1. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
  2. ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด
  • ทำเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้าง/ชั่วโมง
  • ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ / สำหรับวันหยุดที่ได้ค่าจ้างจะได้รับเพิ่มอีก 1 เท่า ทำงานในวันหยุดที่ไม่ได้รับค่าจ้างจะได้รับเพิ่มเป็น 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน
  • ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ

3. ลูกจ้างทั้งชายและหญิง มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดเท่าเทียมกันในงานที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกัน และปริมาณเท่ากัน

สรุปหลักสิทธิประโยชน์ของกฎหมายแรงงาน ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 (11 ประเด็น)

ประเด็นที่ 1 นายจ้างผิดนัดจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

  • กรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน
  • ไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้าหรือไม่จ่ายค่าจ้าง
  • ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเวลาที่กำหนด
  • ไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการ หรือค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ

ประเด็นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง กรณีนายจ้างมีการเปลี่ยนแปลงตัว เปลี่ยนนิติบุคคล จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และให้สิทธิต่างๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมคงมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

ประเด็นที่ 3 การกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงิน กรณีค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบ ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค้าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ นับแต่วันที่ลูกจ้างออกจากงาน จนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผล โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน

ประเด็นที่ 4 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน โดยให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นนี้ด้วย

ประเด็นที่ 5 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน วันลาเพื่อคลอดบุตรให้หมายความรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

ประเด็นที่ 6 ให้นายจ้างกำหดนค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานอันมีลักษณะคุณภาพและปริมาณเท่ากัน หรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกันในอัตราเท่ากัน ไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง

ประเด็นที่ 7 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้ถูกต้องและตรงตามกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้

  1. ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง หรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่น ที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
  2. ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้าง นอกจากข้อ 1 ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
  3. ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง

ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วัน นับแต่วันที่เลิกจ้าง

ประเด็นที่ 8 การกำหนดการจายเงิน กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญ อันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

ประเด็นที่ 9 ค่าชดเชยใหม่กรณีเลิกจ้าง สำหรับลูกจ้างอยู่นาน เป็น 6 อัตรา ดังนี้

ประเด็นที่ 10 ค่าชดเชยพิเศษเนื่องจากการย้ายสถานประกอบกิจการ

  • นายจ้างประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่ หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้ “นายจ้างปิดประกาศ” แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันย้ายสถานที่ประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจน เพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่า ลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่แห่งใดและเมื่อใด
  • หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าว มีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงคจะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้าย
  • นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวให้กแก่ลูกจ้าง ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด
  • ในกรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของลูกจ้าง ให้นายจ้างยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ

ประเด็นที่ 11 การยกเลิกหนังสือเตือน กรณีนายจ้างไม่ยื่นแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน

นายจ้างผู้ใดไม่ยื่นหรือไม่แจ้งแบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น