pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

คุณเป็นผู้บริหารประเภทไหน ?

โดย : แพรวพราว ดอท คอม

การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยผู้อื่น นั่นคือ “การบริหาร”

หลายคนคงคุ้นเคยและได้ยินและชินหูกับคำว่า “ผู้บริหาร” มามากต่อมากแล้ว หลายคนทราบถึงความหมายของผู้บริหารอยู่แล้วว่าหมายถึงอะไร และหลายคนก็ยังไม่ทราบว่า “แท้จริงแล้ว ผู้บริหารที่เราเรียกกันจนคุ้นปาก ได้ยินกันจนคุ้นหูแล้วนี่ หมายถึงใครกันแน่นะ และคนที่จะมีคุณสมบัติเป็นผู้บริหารได้ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร และผู้บริหารที่ว่านี้มีกี่ระดับ และแต่ละระดับ มีความเหนือชั้นกว่ากันอย่างไร ถ้าหากคุณเป็นผู้บริหาร คุณคิดว่าทักษะในการบริหารงานของคุณอยู่ในขั้นใด และคุณเป็นผู้บริหารแบบไหน เราจะมาทำความรู้จัก และเรียนรู้ความหมายและลำดับขั้น หรือประเภทของผู้บริหารไปพร้อมๆ กันครับ

ความหมายของการบริหาร

การบริหาร คือ การนำพาองค์กร หน่วยงาน บริษัท หรือห้างร้าน เป็นต้น ที่ประกอบขึ้นด้วยบุคคลหลายคน หลายฝ่าย หลายแผนกทำงานร่วมกัน ไปเพื่อบรรลุเป้าหมาย เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ด้วยดี ปราศจากปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ หรือหากจะมีปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างการการขับเคลื่อนองคาพยพทุกส่วนขององค์กร ก็สามารถนำพาองค์กรให้อยู่รอดได้ นี่คือความหมายของ “การบริหาร”

อีกนัยหนึ่ง “การบริหาร” หมายถึง การทำงานให้สำเร็จ โดยอาศัยความร่วมมือจากบุคคลอื่น แผนกอื่น ฝ่ายอื่น ประกอบกันเข้าเป็นทีมเวิร์ค (Team Work) คือ เป็นทีมงานที่เมื่อร่วมกันทำงานในครั้งใดแล้ว ก็จะสามารถดึงเอาศักยภาพของผู้ร่วมทีมออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถทำงานประสานสอดคล้องเป็นเนื้องานเดียวกัน มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันตามหน้าที่อย่างเป็นระบบ รวมกันเป็นฟันเฟืองที่ช่วยในการขับเคลื่อนงานหรือองค์กรนั้นๆ ให้บรรลุเป้าประสงค์ตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้

ทั้งนี้ ก็ด้วยความคุณสมบัติเฉพาะ และความชาญฉลาดของผู้บริหาร ที่ถือว่าเป็นกลไกหลัก อยู่ในขั้นเป็นมันสมองขององค์กรนั้นๆ เป็นสำคัญ ที่สามารถจะดึงคุณสมบัติความเก่งกาจ ความสามารถเฉพาะด้านในแต่ละตัวบุคคล ในแต่ละฝ่าย แต่ละแผนก นำมาสนองตอบต่อความต้องการความสำเร็จขององค์กรได้มากน้อยแค่ไหน สามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงาน สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้กับองค์กรได้มากน้อยแค่ไหน ทักษะการบริหารงานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้บริหารงานทุกคน ดังนั้น เราสามารถที่จะประเมินผู้บริหารแต่ละคนได้ว่า ผู้บริหารคนนี้เป็นผู้บริหารประเภทใด เป็นผู้บริหารที่อยู่ในลำดับขั้นที่เท่าไร เรามาทำความรู้จักและเรียนรู้ทักษะการบริหารงานผ่านผู้บริหาร 3 ประเภท หรือ 3 อันดับ โดยไล่เรียงจากลำดับต่ำสุดไปหาลำดับสูงสุดไปพร้อมๆ กันเลยครับ

3. ผู้บริหารแบบธรรมดาทั่วไป

ผู้บริหารประเภทนี้ สามารถเฟ้นหาได้ทั่วไป หาที่ไหนก็เจอ ไม่ได้วิเศษวิโสมากไปกว่าใคร ได้แก่ ผู้บริหารที่ใช้ความรู้ความสามารถอันเก่งกาจของตนเองอย่างเต็มที่ ทุ่มเทไปกับงานที่ทำ โดยคิดว่า ถ้าหากว่าตนเองเก่งเพียงคนเดียวเท่านั้น ก็เพียงพอสำหรับการนำองค์กรให้อยู่รอดได้ หรือไปสู่เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ได้

ผู้บริหารระเภทนี้ มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง มีแนวความคิดว่า ความคิดของตนเองเท่านั้นที่ถูกต้อง ที่เหมาะสม เป็นความคิดและแนวทางที่ปแสนประเสริฐเลิศหรู แนวความคิดของคนอื่นไม่ได้เรื่อง หรือเป็นคนประเภทที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจความคิดเห็นของคนอื่น ถือเอาเฉพาะความเห็นและความมั่นใจในการบริหารงานของตนเองเป็นสำคัญ ใครจะเสนอะแนะ ตักเตือน บอกกล่าวอย่างไรก็ไม่ได้สนใจฟัง ขอแต่เพียงให้เชื่อฟังคำสั่งการ คำบังคับบัญชาของตนเองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ห้ามขัดขืน ใครมีหน้าที่ทำอะไรก็ทำไปตามคำสั่ง ตามนโยบายที่มอบให้ไปทำ ห้ามคิดอะไร ห้ามเสนออะไร มองทุกคนเป็นเครื่องจักรเครื่องกลที่ทำงานไปโดยไม่ต้องมีความคิดความเห็น ไม่ต้องรู้สึกรู้สาอะไรเลย

ผู้นำแบบนี้ อาจจะเป็นคนเก่งที่สุดที่จุติลงมาบนพื้นพิภพนี้ก็จริง แต่เป็นคนเก่งที่มีโอกาสพลาดได้ง่าย เพราะความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป ด้วยความที่เป็นคนไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นใคร ด้วยการที่ไม่่ยอมให้คนอื่นได้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน ดังนั้น หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ในการบริหารงาน ก็จะไม่มีผู้ร่วมรับผิดชอบ ไม่เป็นที่ชอบพอของผู้ร่วมงาน ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ในที่สุดก็จะถูกโดดเดี่ยว ไร้คนเหลียวแล เป็นคนประเภทเก่งคนเดียว แต่ไม่มีพวกมีพ้อง ไม่มีเพื่อน เป็นคนหัวเดียวกระเทียมลีบ ไม่มีใครอยากอยู่ใกล้ มีแต่คนรังเกียจ

ผู้บริหารแบบนี้เป็นประเภทผู้บริหารแบบ “อัตตาธิปไตย” เป็นพวก “นิยมอำนาจเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ” ไม่ต้องการการมีส่วนร่วมของใครๆ แบบนี้เรียกว่า “ผู้นำที่ยอดแย่ที่สุด” ในบรรดาผู้นำ 3 ประเภทที่จะนำเสนอในบทความนี้ เพราะใช้เพียงความรู้ความสามารถของตนในการบริหารงาน ทุ่มเทลงทุนลงแรงทำงานทุกอย่างด้วยตัวเอง ไม่เว้นแม้แต่งานเล็กๆ น้อยๆ ที่ลูกน้องทั่วไปก็สามารถทำได้ ไม่ไว้ใจกล้าปล่อยให้ใครทำงานโดยลำพัง เพราะไม่เชื่อมั่นในความรู้ความสามารถและฝีมือของเขา สุดท้ายก็ต้องทำเองทุกอย่าง เหนื่อยคนเดียวทุกอย่าง รับผิดชอบเองทุกอย่าง จะเรียกผู้บริหารประเภทนี้ว่า “บริหารงานไม่เป็น” ก็คงไม่ผิดนัก

2. ผู้บริหารระดับปานกลาง

ผู้บริหารระดับปานกลาง เป็นผู้บริหารที่สามารถใช้กำลังของคนอื่นมาเป็นประโยชน์ในการทำงานได้อย่างเต็มที่ ผู้นำประเภทนี้ สามารถที่จะใช้ศิลปะในการจูงใจให้คนมาช่วยทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยความเต็มใจ ด้วยความรู้สึกอยากช่วย อย่างอาสา อยากมีส่วนร่วมในการทำงานทุกครั้ง

ผู้บริหารประเภทนี้ มักใช้กลยุทธ์ด้านคุณสมบัติและอุปนิสัยส่วนตัวในการพูดจาหว่านล้อม ชักชวน หรือการทำตัวเองให้น่าเชื่อถือ ทำตัวเองเป็นตัวอย่าง และสามารถเรียกศรัทธาจากคนอื่นได้ เพื่อประโยชน์ในการช่วยกันผลักดันทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ด้วยการใช้วาทศิลป์ การเข้าถึงเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องผู้ใต้บังคับบัญชา การแสดงออกถึงความเป็นห่วงเป็นใย การเข้าไปให้คำปรึกษาต่างๆ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างการทำงาน การวางตัวให้ทุกคนรู้สึกไว้วางใจ เชื่อใจ และสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ไม่ถือตัวจนกระทั่งเข้าไม่ถึง หรือรู้สึกห่างเหินจนเกินไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสมัครใจและความร่วมมือในการทำงานได้เช่นกัน

ผู้นำประเภทที่สองนี้ จึงเป็นผู้นำที่สามารถดึงเอากำลังกาย กำลังความสามารถทางด้านร่างกาย หรือด้านกายภาพของคนอื่นมาได้อย่างเต็มที่ แต่ก็ยังเป็นผู้นำที่ต้องเหนื่อยกับการคิด การวางแผนงานในระดับนโยบาย หรือในระดับที่เป็นมันสมองขององค์กรอยู่ดี เพราะคนอื่นช่วยได้เฉพาะในเรื่องของการให้ความร่วมมือด้านกายภาพเท่านั้น ไม่สามารถช่วยคิดวางแผนงาน หรือคิดงานแทนได้ จึงนับว่าเป็นผู้บริหารที่ดีขึ้นมาอีกระดับ แต่ก็ยังอยู่ในขั้นกลางๆ ยังไม่ถึงกับดีมาก แต่ก็ยังดีว่าผู้บริหารประเภทแรกที่กล่าวไปแล้วนั้น

3. ผู้บริหารระดับสูง

ผู้บริหารระดับสูง ถือว่าเป็นผู้บริหารที่ต้องใช้ทักษะใสการบริหารงานชั้นสูงมากๆ เพราะนอกจากตนเองต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในงานที่ทำนั้นเป็นอย่างดี ต้องอยู่ในขั้นที่ต้องรู้วัฒนธรรมขององค์กรนั้นเป็นอย่างดี รู้เป้าประสงค์ และวิสัยทัศน์ขององค์กรนั้นๆ เป็นอย่างดี รวมถึงมีส่วนร่วมในการคิดนโยบาย การงางแผนกลยุทธ์ต่างๆ ทุกครั้ง จัดอยู่ในผู้บริหารที่เป็นระดับมันสมองขององค์กร

นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถใช้ทักษะในการจูงใจคนให้ใช้แรงกายและแรงใจทุ่มเททำงานให้กับองค์กรตามนโยบายขององค์กรด้วย เรียกว่า สามารถได้ใจเพื่อนร่วมงาน ลูกน้องและผู้ใต้บังคับบัญชาไปแบบเต็มๆ ทำให้มีคนอยากช่วยงาน อาสาช่วยงาน และทุ่มเทเสียสละลงมือลงแรงทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แบบเดียวกันกับผู้บริหารระดับกลาง ดังที่กล่าวแลวในหัวข้อที่ 2 นั้น

แต่สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงมีไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน ก็คือ ผู้บริหารระดับนี้ สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ร่วมงานหรือลูกน้องผู้ใต้บังคับบัญชาใช้ความรู้ความสามารถ สติปัญญา แนวความคิดที่สร้างสรรค์ นำมาสร้างสรรค์งานขององค์กรได้ดีไม่แพ้ตัวผู้บริหารเอง หรือบางครั้งกลับเป็นเรื่องที่ได้ผลดีเกินคาด ดีเกินกว่าความรู้ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหารจะคิดได้หรือคาดการณ์ถึงด้วยซ้ำไป

ผู้บริหารแบบนี้ เป็นผู้บริหารที่เปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ใช้ศักยภาพของตนเองออกมาอย่างเต็มที่ เพื่อนำมาพัฒนา ต่อยอดหรือเติมเต็มศักยภาพขององค์กรให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป สามารถให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการคิดนโยบาย ในการวางแผน ในการกำหนดเป้าประสงค์และกรอบวิสัยทัศน์ขององค์กรร่วมกัน ทำให้ทุกคนรู้สึกมีส่วนร่วมในองค์กร เกิดความรักความผูกพันในองค์กร และผู้บริหารประเภทนี้ ยังมองว่า ทำอย่างไรถึงจะให้ทุกคนได้มีโอกาสเติบโตในตำแหน่งงานและได้รับผลประโยชน์ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถที่ทุ่มเทให้กับองค์กร และเขาจะได้อะไรจากองค์กรนี้ ทำให้เขามองเห็นอนาคต และโอกาสในความเจริญก้าวหน้าอย่างเต็มที่ในองค์กรนี้ นี่คือคุณสมบัติพิเศษที่ผู้บริหารส่วนมากขาดหายไป และนี้ก็คือสิ่งที่องค์กรหลายๆ องค์กรไม่มี

ดังนั้น ผู้บริหารที่ทำงานเก่ง มองโลกบวก อุปนิสัยดี เข้ากับคนได้ง่าย ไม่เย่อหยิ่งถือตัว สร้างแรงจูงใจให้คนอยากทำงานให้องค์กร เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์กร เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เจริญเติบโตในแต่ละสายงานนั้นๆ ตามความรู้ความสามารถและศักยภาพของแต่ละคนอย่างแท้จริงโดยไร้อคติมาครอบงำ ให้ทุกคนได้วาดภาพอนาคตในแบบที่ตนเองอยากจะเป็นได้ตามศักยภาพที่มีอยู่ และร่วมกันพัฒนาองค์กรนี้ไปด้วยกัน ผู้บริหารแบบนี้ ควรค่าแก่การเรียกว่า “ผู้บริหารระดับสูง”

ผู้บริหารที่ดี ไม่ใช่ผู้เอาแต่สั่งการให้คนอื่นทำอะไรเพียงอย่างเดียว

แต่…ผู้บริหารที่ดี หมายถึง สามารถทำให้ผู้อื่นใช้ศักยภาพของตนในการทำงานได้อย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มองเห็นอนาคต ได้เติบโตในหน้าที่การงาน ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่พึงได้รับ ตามศักยภาพและความรู้ความสามารถของตน”

แล้วคุณล่ะเป็นผู้บริหารประเภทไหน…?”

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น