pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

ชวนคิด “สิทธิที่จะตาย”

โดย : เกียรติศักดิ์ เหลืองอังกูร อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

สิทธิที่จะตาย

ปัจจุบันประชาชนชาวไทยมีความตื่นตัวเรื่องสิทธิของตนมากขึ้นกว่าในอดีต มีการแสดงความสนใจต่อสิทธิด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของตนและครอบครัวให้อยู่ดี กินดี และปลอดภัย แต่สิทธิอย่างหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่เคยนึกถึง หรือเลือกที่จะมองข้าม คือ “สิทธิที่จะตาย” (The Right to Die)

ความตายเป็นสัจธรรมของชีวิตที่ไม่มีใครหนีพ้น ดังนั้น การทำความเข้าใจด้านสิทธิที่จะตายจึงควรมีความสำคัญเทียบเท่ากับการรับรู้เรืองของสิทธิต่างๆ ของการมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขและแข็งแรง

“สิทธิที่จะตาย” เป็นสิ่งที่สังคมตะวันตกได้มีการเรียกร้องมานานหลายทศวรรษ เพราะกฎหมายของประเทศทางตะวันตกนั้น ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากคริสตศาสนที่มองว่า การทำให้ตัวเองไปถึงความตายนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องตามหลักศาสนา กฎหมายซึ่งออกแบบมาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของทางตะวันตก จึงมักชี้ไปในแนวทางเดียวกันว่า ประชาชนไม่มีสิทธิที่จะ (ฆ่าตัว) ตาย และมีกฎหมายเอาผิดกับคนที่พยายามฆ่าตัวตาย (หรือฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ)

ในทางกลับกัน เมื่อมองเรื่องนี้ในบริบทของสังคมไทย เราไม่ได้มีบทบัญญัติทางกฎหมายในทำนองเดียวกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่รับรองสิทธิในชีวิตและร่างกายของประชาชนทุกคน สิทธิที่จะอยู่หรือสิทธิที่จะตาย จึงควรเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยควรได้รับรู้และพิจารณาตามกรณีของตน

หากจะเล่าเรื่องความตายจากมุมของกฎหมายไทย สิ่งสำคัญที่ประชาชนชาวไทยต้องตระหนักคือ เมื่อถึงวาระสุดท้าย “การขอรับหรือปฏิเสธการรักษาพยาบาลนั้น เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในชีวิตของคนเราทุกคน

แต่เนื่องจากในปัจจุบัน เรามีวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวไกล เรามีเครื่องมือและกระบวนการช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพสูง ส่งผลให้ทัศนคติต่อความตายของประชาชนทั่วไปนั้น แตกต่างไปจากอดีต คนไทยในยุคปัจจุบันเริ่มมองว่า ความตายเป็นเรื่องไกลตัวหรือเป็นเรื่องที่เรากำหนดได้ ทำให้การตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาล และการตายนั้น มีองค์ประกอบที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม

คนไทยส่วนใหญ่ มองว่าการมีโอกาสได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนั้นเป็นเรื่องโชคดี การมีสถานภาพทางการเงินหรือการงานที่ทำให้สามารถเอาตัวเองและครอบครัวไปหาหมอได้เป็นเรื่องโชคดี รวมทั้งมีโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคด้วย

ดังนั้น การปฏิเสธการรักษาจึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก เมื่อได้เข้ารับการรักษา แพทย์จะให้การรักษาอย่างไร จะทำอะไรกับร่างกายของคนเราบ้างนั้น เรามักยกอำนาจใการตัดสินใจให้แพทย์แบบเต็มร้อย ไว้วางใจว่าเป็นผู้ที่มีความรู้มาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ออกจะกลัวแพทย์ด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ ยังไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิในการตัดสินใจด้วยตัวเอง (The Right of Self Determination) ซึ่งจัดเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งในรัฐธรรมนูญหลายฉบับ และหลายคนไม่กล้าที่จะไปถึงขั้นตัดสินใจไม่รับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์อีกด้วย

นอกจากตัวผู้ป่วยจะไม่รู้สิทธิที่ปฏิเสธการเข้ารับการรักษา การตัดสินใจด้วยตนเอง และสิทธิที่จะตายแล้ว กรณเรื่องความเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาลให้ชีวิตอยู่ต่อนั้น ในสังคมไทยยังมีเรื่องของครอบครัวและคู่ครองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเป็นอย่างมาก เรามักจะทำใจได้ยากเมื่อต้องเห็นคนในครอบครัวที่รักจากเราไป ดังนั้น การยื้อให้มีชีวิตอยู่ต่อของคนในครอบครัวที่มีผู้ป่วยอยู่ หลายคนจึงยอมทุ่มเททุกอย่างโดยเฉพาะเงินค่ารักษาพยาบาลเสียเท่าใดก็ยอมเสีย แม้โอกาสจะยื้อชีวิตมีเพียงน้อยนิด หรือไม่มีโอกาสเลยก็ตาม คนไทยส่วนหนึ่งอาจคิดว่า การกระทำอย่างนี้เป็นเรื่องของความกตัญญู แต่ถ้ามองอีกด้านหนึ่ง การยื้อชีวิตของผู้ป่วยที่ไม่มีหวังแล้ว จะเป็นการทรมานผู้ป่วยหรือไม่ เป็นการลดทอนคุณค่าของความเป็นมนุษย์ลงหรือไม่ คงเป็นเรื่องที่แต่ละคนจะพิจารณา

โปรดพิจารณาข้อความต่อไปนี้

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเรื่อง “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” ซึ่งกล่าวถึงสิทธิในการตัดสินใจด้วยตัวเองเอาไว้ด้วย

หากผู้ป่วยปฏิเสธที่จะรับการรักษา (เลือกใช้สิทธิที่จะตาย) ตราบใดที่ผู้ป่าวยยังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามกฎหมาย (Legal Competent) ผู้ประกอบวิชาชีพผู้ให้บริการ จะให้บริการผู้ป่วยคนนั้นไม่ได้ นบเป็นการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญเอาไว้

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “สิทธิการตายตามธรรมชาติ” ของมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

สิ่งสำคัญที่ต้องกล่าวถึง มาตรา 12 ของ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ คือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลสามารถแสดงเจตนาล่วงหน้าเรื่องของการขอตายอย่างธรรมชาติ เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ไม่มีความประสงค์ที่จะใช้เครื่องมือยืดชีวิต จะกล่าวเรียกว่าเป็นสิทธิที่จะขอตายตามธรรมชาติก็ได้ ซึ่งตรงนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า มาตรา 12 นี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการการุณยฆาต หรือ การเร่งตายของบุคคลได้ (มีเพียงบางประเทศเท่านั้นที่เปิดโอกาสให้แพทย์และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องใช้ดุลยพินิจเกี่ยวกับเรื่องนี้)

รวมทั้งมาตรา 12 นี้ จะไช้ได้เฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น หากยังรักษาได้ ก็สามารถรักษากันไปตามปกติ เช่น กรณีถูกนำส่งห้องฉุกเฉิน แพทย์และพยาบาลจำเป็นต้องรักษาพยาบาลกันไปตามความรู้และจริยธรรมวิชาชีพ

คำถามถัดมาคือ แล้วกรณีใดจึงจะเรียกว่า “เป็นผู้ป่าวยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต” ตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ ได้นิยามคำว่า “วาระสุดท้ายแห่งชีวิต” ไว้ว่า “ภาวะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้รับผิดชอบการรักษาได้วินิจฉัยจากการพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ ภาวะนั้นจึงนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในระยะเวลาอันใกล้จะถึง และให้หมายรวมถึงภาวะที่มีการสูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของเปลือกสมองใหญ่ที่ทำให้ขาดความสามารถในการรับรู้และติดต่อสื่อสารอย่างถาวร โดยปราศจากพฤติกรรมการตอบสนองใดๆ ที่แสดงถึงการรับรู้ได้ จะมีเพียงปฏิกิริยาสนองตอบอัตโนมัติเท่านั้น”

คราวนี้ สิ่งที่จะถามต่อไปก็คือ เมื่อผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ใครคือคนที่มีอำนาจจัดการแทน คำตอบก็คือ ญาติผู้ใกล้ชิดหรือครอบครัวนั่นเอง แต่โดยส่วนมาก เมื่อถึงเวลาตัดสินใจ แพทย์ไม่มีทางรู้เลยว่าต้องสอบถามญาติคนไหน โดยเฉพาะเมื่อสังคมไทยนิยมครอบครัวใหญ่ ปัญหานี้จะง่ายมาก หากผู้ป่วยได้แสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในระยะสุดท้ายของชีวิตไว้แล้ว ด้วยการเขียน Living Will

วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ เมื่อเขียน Living Will เสร็จแล้ว ให้ถ่ายสำเนาและเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง นำสำเนาไปแนบไว้กับประวัติของตนในโรงพยาบาลที่ไปรักษาเป็นประจำ แพทย์ผู้ดูแลประวัติจะทำหน้าที่ดำเนินการตามความประสงค์ของผู้ป่วยได้ตามกฎหมาย

มาตราน่ารู้ตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 : มาตรา 8

ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณะต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ ให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้”

ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการ เพราะเหตุที่ผู้รับบริการปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้ง หรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรืออันตรายนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง”

ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้

(1) ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต และมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน

(2) ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช์ ผู้ปกครอง ผู้ปกครองดูแล ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการแล้วแต่กรณี รับทราบข้อมูลแทนในขณนั้นได้

มาตราน่ารู้ตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 : มาตรา 12

บุคคลสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนา ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือ”เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น