pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

ทรัพย์สินของผู้เข้าพักในโรงแรม

ทรัพย์สินของผู้เข้าพักนำมาในโรงแรม

โดย : สมศักดิ์ พุ่มประยูร กรรมการโครงการพัฒนาบุคลากร สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

การนำทรัพย์สินติดตัวเข้าไปพักในโรงแรม เป็นลักษณะหนึ่งของการฝากทรัพย์ ที่กฎหมายบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่อง วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม ได้กล่าวถึง ความรับผิดชอบของโรงแรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขก พักอาศัยได้พามาซึ่งกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ

1. ความรับผิดของเจ้าสำนัก

เจ้าสำนักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สิน ซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัย หากได้พามา (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 674)

คำว่า “เจ้าสำนักโรงแรม หรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น” น่าจะหมายถึง บรรดาผู้ควบคุมจัดการสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้น เพื่อรับสินจ้างจากคนเดินทาง หรือบุคคลที่ประสงค์จะหาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราว

คำว่า “คนเดินทางหรือแขกอาศัย” หมายความถึง ผู้ที่เข้าพักอาศัยในโรงแรม หรือสถานที่ เช่นเดียวกันนี้ โดยเสียค่าพักอาศัย

คำว่า “ทรัพย์สินที่พามา” หมายความถึง ของคนเดินทางหรือแขกอาศัยที่เข้าพักในโรงแรม ไม่ได้เฉพาะทรัพย์สินที่ถูกนำเข้ามาในอาคารของโรงแรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทรัพย์สินอื่น ที่เป็นของคนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรมได้พามาด้วย

ความรับผิดชอบของเจ้าสำนักโรงแรมเพื่อทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยที่สูญหาย มิได้จำกัดแต่เฉพาะในทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางพาเข้ามาในห้องพักหรือพาเข้ามาในบริเวณตัวอาคารของโรงแรมเท่านั้น เช่น

โจทก์มาพักในโรงแรมของจำเลย และนำรถยนต์จอดไว้ที่โรงจอดรถหรือลานจอดรถในบริเวณโรงแรม โดยล็อคกุญแจประตูรถไว้ ต่อมารถยนต์สูญหาย โดยถูกคนร้ายลักไป และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยรับทราบทันที จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ (คำพิพากษาฎีกาที่ 1370/2526)

1.1 ความรับผิดไม่จำกัดจำนวน

เจ้าสำนักโรงแรมจะต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกพักอาศัยสูญหายหรือบุบสลาย แม้จะเกิดขึ้นจากคนที่เข้าออกในโรงแรมก็ตาม เจ้าสำนักโรงแรมยังคงต้องรับผิดต่อคนเดินทาง หรือแขกพักอาศัยในโรงแรมเช่นเดียวกัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 765 วรรคหนึ่ง)

1.2 ความรับผิดจำกัดจำนวน

ในกรณีที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรมได้นำทรัพย์สิน เช่น เงิน ทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือของมีค่าอื่นติดตัวมาด้วย ในระว่างเข้าพักอาศัยในโรงแรม หากเกิดความสูญหาย เจ้าสำนักโรงแรม จะต้องรับผิดจำกัดไว้เพียง 5,000 บาท เท่านั้น

แต่ถ้าหากว่าคนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรมจะต้องฝากของมีค่าดังกล่าวนี้ ได้แก่ เจ้าสำนักโรงแรม และได้บอกราคาแห่งทรัพย์สินที่ฝากไว้ด้วย เมื่อได้ปฏิบัติเช่นนี้แล้ว หากทรัพย์สินที่ฝากไว้สูญหายหรือบุบสลาย เจ้าสำนักโรงแรมจะต้องรับผิดไม่จำกัดจำนวน เช่นเดียวกับทรัพย์สินอื่น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 675 วรรคสอง)

คำว่า “ของมีค่า” ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 675 วรรคสอง นั้น หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับ เงิน ทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน เป็นต้น แต่จักรายานยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วๆ ไป จึงถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าตามบทบัญญัติดังกล่าว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2519) รถยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วๆ ไป เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะมีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม แต่ก็ไม่มีลักษณะเป็นของมีค่าตามความหมายของมาตรา 675 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์ไม่จำเป็นต้องฝากและบอกราคาชัดแจ้งกรณีไม่อยู่ในขอบข่ายที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 5,000 บาท (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2562)

ดังนั้น คำว่า “ของมีค่า” ไม่ได้นิยามไว้โดยเฉพาะ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ศาลจึงต้องตีความ เพื่อหาความหมายของคำว่า “ของมีค่า” โดยต้องเป็นความหมายที่ให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณีทุกๆ ฝ่าย และยังเป็นความหมายที่สามารถือปฏิบัติเป็นการทั่วไปได้

1.3 ข้อยกเว้นความรับผิด

สำหรับความผิดของเจ้าสำนักโรงแรมมีทั้งจำกัดจำนวนและไม่จำกัดจำนวนนั้น แต่ทางกฎหมายยังได้บัญญัติไว้ว่า เจ้าสำนักโรงแรมไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายกับทรัพย์สินที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรมเช่นเดียวกัน ในกรณีดังต่อไปนี้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 675 วรรคสาม)

1.3.1 เหตุสุดวิสัย เจ้าสำนักโรงแรมไม่ต้องรับผิด เมื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดจากเหตุสุดวิสัย เช่น ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยนำมาด้วยนั้น เพราะโรงแรมที่พักและเก็บทรัพย์สินนั้น ถูกฟ้าผ่า น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติอย่างอื่น

1.3.2 สภาพแห่งทรัพย์สิน เจ้าสำนักโรงแรมไม่ต้องรับผิดเพราะเกิดจากสภาพของทรัพย์สินที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรมได้นำมาด้วยนั้น เช่น นำผลไม้มาเก็บไว้แล้วผลไม้เกิดเน่าเสียเป็นต้น

1.3.3 ความรับผิดชอบของคนเดินทางหรือแขกอาศัย หรือบริวาร หรือบุคคลที่เขาได้ต้อนรับ เจ้าสำนักโรงแรมไม่ต้องรับผิด เมื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดจากความรับผิดของคนเดินทางหรือแขกอาศัยเอง เช่น การลืมล็อคกุญแจประตู้ห้องเป็นเหตุให้คนร้ายเข้ามาลักของในห้องได้ หรือ กรณีที่คนผู้เดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรม หรือบริวาร นำบุคคลภายนอกเข้ามาในห้องแล้วบุคคลภายนอกได้ลักทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรมหรือบริวารไป

2. ข้อยกเว้นความรับผิดต่อการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด

การที่กฎหมายกำหนดให้คนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรมจะต้องแจ้งต่อเจ้าสำนักโรงแรมทันที เมื่อพบว่าทรัพย์สินของตนที่ได้พามาด้วยนั้น เกิดการสูญหายหรือบุบสลายไป ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า หากแจ้งต่อเจ้าสำนักโรงแรมในทันที่แล้ว ก็อาจจะมีการติดตามเอาคืนทรัพย์ที่สูญหายได้ทันท่วงที เช่นเดียวกัน ทำให้เจ้าสำนักโรงแรมได้บรรเทาความรับผิดชอบของตนไปได้บ้าง แต่หากคนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรมซึ่งมีหน้าที่จะต้องแจ้งแต่ไม่ได้แจ้ง ให้เจ้าสำนักโรงแรมพ้นจากความรับผิดได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 676)

3. ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่มีคำแจ้งความปิดไว้

กรณีที่เจ้าสำนักโรงแรมได้จัดทำคำแจ้งความปิดประกาศไว้ตามห้องพักเป็นข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดต่อความสูญหายหรือบุบสลายในทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรม เพราะเป็นข้อตกลงแต่เพียงฝ่ายเดียว หากคนเดินทางหรือแขกอาศัยอ่านแล้วก็เฉยเสีย ก็ไม่เรียกว่าตกลงโดยชัดแจ้ง ดังนั้น คำแจ้งความที่ปิดประกาศยกเว้นความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรมดังกล่าวนั้นเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมายกับคนเดินทางหรือแขกอาศัยแต่อย่างใด คำแจ้งความปิดประกาศไว้ในห้องพักจะมีผลต่อเมื่อคนเดินทางหรือแขกอาศัยตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นดังกล่าว เจ้าสำนักโรงแรมจึงไม่ต้องความรับผิด การตกลงด้วยชัดแจ้งอาจจะแสดงเจตนาตกลงกันด้วยวาจาหรือทำเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 677)

4. อายุความในการรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรม

สำหรับอายุความของคนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรมจะฟ้องเรียกให้เจ้าสำนักโรงแรมรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อความสูญหายหรือบุบสลายในทรัพย์สินที่ตนได้พามาไว้ในโรงแรม จะต้องฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ตนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรมออกไปจากสถานที่นั้น (ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ มาตรา 678)

5. สิทธิของเจ้าสำนักโรงแรม

สิทธิของเจ้าสำนักโรงแรมมีสิทธิยึดหน่วงได้ตามกฎหมาย ดังนี้

5.1 สิทธิยึดหน่วงเครื่องเดินทาง หรือทรัพย์สินอย่างอื่นของคนเดินทงาหรือแขกอาศัยที่เอาไว้ในโรงแรม จนกว่าจะได้รับชำระเงินที่ต้องชำระ บรรดาเงินที่ค้างชำระ ได้แก่ ค่าหอพัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือเงินที่ออกแทนไปด้วย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 679 วรรคหนึ่ง)

5.2 สิทธิของเจ้าสำนักโรงแรม สามารถเอาเครื่องเดินทาง หรือทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้ออกขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องต่อศาล แต่ต้องยึดหน่วงไว้ให้ครบ 6 สัปดาห์ และต้องประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ประจำท้องถิ่น 1 ฉบับ โดยแจ้งความจำนงว่าจะขายทรัพย์สินเมื่อไร ของใคร ก่อนวันขายทอดตลาด 1 เดือน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 679 วรรคสอง)

5.3 เมื่อได้เงินจากการขายทอดตลาดแล้วนำมาชำระหนี้ที่ค้างชำระ เหลือเท่าไร เจ้าสำนักโรงแรมจะต้องส่งคืนให้แก่คนเดินทางหรือแขกอาศัยในโรงแรม ถ้าไม่สามารถส่งคืนได้ต้องนำไปฝากไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 679 วรรคท้าย)

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น