pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

ผู้ต้องหาในคดีอาญา

โดย : นายสมพร ดำพริก อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

สิทธิของประชาชน เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา

ผู้ต้องหา” หมายถึง “บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิด แต่ยังไม่ถูกฟ้องต่อศาล

ดังนั้น เมื่อยังไม่ถูกฟ้องต่อศาล และศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า บุคคลนั้นมีความผิด จึงเท่ากับบุคคลนั้นยังเป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำความผิดไม่ได้

เมื่อบุคคลใดตกเป็นผู้ต้องหาและถูกเจ้าพนักงานจับกุม สิ่งที่ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับต้องทราบ คือ เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกหมายจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือบุคคลซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมก็สามารถทำได้

เมื่อเจ้าพนักงานจับกุมผู้ต้องหาหรือผู้ถูกต้องหาถูกจับได้แล้ว เจ้าพนักงานผู้ทำการจับกุมมีหน้าที่ต้องแจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับกุมให้ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับทราบ ถ้ามีหมายจับให้แจ้งให้ผู้ถูกจับทราบ อ่านให้ฟัง มอบสำเนาบันทึกการจับกุมแก่ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับ และต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับกุมไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนทันที เจ้าพนักงานผู้จับไม่มีสิทธิและอำนาจพาตัวผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับไปทำการอื่นใดทั้งสิ้น

เมื่อถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้รับมอบตัวผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับ จะต้องเริ่มทำการสอบสวนคดีโดยไม่ชักช้า และให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานเท่าที่สามารถทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะได้รู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาแล้ว มักจะมีความคิดว่าตำรวจหรือพนักงานสอบสวนจะสอบสวนเพื่อจะเอาผิดกับผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียว ซึ่งความเป็นจริงแล้ว กฎหมายก็ได้กำหนดหน้าที่ของพนักงานสอบสวนให้รวบรวมหลักฐานทุกชนิด เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาด้วย

ดังนั้น หากบุคคลใดตกเป็นผู้ต้องหาโดยมิได้กระทำความผิด มีความประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนไปตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคลใด ก็สมควรที่จะเรียกร้องสิทธิที่กฎหมายให้โอกาสตรงนี้ด้วย โดยเรียกร้องให้พนักงานสอบสวนใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ที่มีอยู่ ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของพยานหลักฐานในคดี และในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตหรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา ก่อนเริ่มคำถาม ให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาก่อนว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มี ให้รัฐจัดหาทนายความให้ ส่วนในคดีอาญาอื่นๆ ที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มคำถามให้การ ให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้ และในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งแก่ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า

  1. ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
  2. ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ และในการถามคำให้การผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนก็ไม่มีสิทธิที่จะทำการใดๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบประการใดๆ เพื่อจูงใจให้ผู้ต้องหาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ถูกกล่าวหานั้น

ดังนั้นแล้ว ตามที่ผู้เขียน (โดย : นายสมพร ดำพริก อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความ) ได้กล่าวข้างต้นว่า เมื่อยังไม่ถูกฟ้องต่อศาล และศาลยังไม่มีมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าบุคคลนั้นมีความผิด จึงเท่ากับบุคคลนั้นยังเป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดไม่ได้ ดังนั้น พนักงานไม่ว่าจะเป็นผู้จับกุม หรือผู้ทำการสอบสวน จะไม่มีอำนาจใดๆ ทั้งสิ้น ที่จะนำตัวผู้ต้องหาไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ หรือไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เพราะเป็นการประจานผู้ต้องหาต่อสาธารณชน และในเวลาต่อมา ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมอย่างรุนแรงมาก ซึ่งการกระทำดังกล่าวกับผู้ต้องหาที่ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ยังไม่เข้าสู่กระบวนการศาล เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องจึงไม่มีสิทธิไปกล่าวหาต่อสาธารณะ หรือแม้จะเข้าสู่กระบวนการศาลและติดสินแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่มีอำนาจหน้าที่ไปกระทำกับผู้ต้องหาหรือจำเลยในลักษณะดังกล่าว ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างยิ่ง (สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2552)

สิทธิของประชาชนเมื่อตกเป็นจำเลยในคดีอาญา

จำเลย” หมายถึง “บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด” ดังนั้น เมื่อบุคคลถูกฟ้องต่อศาลแล้วก็จะตกเป็นจำเลย แต่บุคคลดังกล่าวยังไม่ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิด จนกว่าศาลจะพิจารณาและมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าบุคคลนั้นมีความผิด” จึงเท่ากับว่าบุคคลนั้นยังเป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดนั้นยังไม่ได้เช่นกัน

ฉะนั้น เมื่อบุคคลใดถูกฟ้องต่อศาลและตกเป็ฯจำเลยในคดีอาญา สิทธิที่บุคคลนั้นจะต้องทราบคือ ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกิน 18 ปี ในวันที่ถูกฟ้งอต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ ส่วนในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาคดี ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ โดยการพิจารณาคดีทุกขั้นตอนที่กระทำในชั้นศาล ไม่ว่าจะเป็นนัดพร้อมเพื่อตรวจพยานหลักฐาน นัดสืบพยาน และนัดพิจารณาอื่นๆ จะต้องกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยเท่านั้น หากการพิจารณาในคดีอาญาใด กระทำลับหลังจำเลย จะเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทันที เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดให้สามารถพิจารณาลับหลังจำเลยได้

ดังนั้น ในชั้นพิจารณาคดีของศาล เมื่อบุคคลใดตกเป็นจำเลยแล้ว บุคคลนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเรียกร้องสิทธิขอพบและปรึกษาทนายความ ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ก็มีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความได้ทั้งสิ้น

การพบและปรึกษาทนายความ ก็เพื่อที่จะปรึกษาหรือวางแผนที่จะต่อสู้คดี หรือหากตนเองเป็นผู้กระทำความผิดจริง ก็มีสิทธิที่จะปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินการที่เป็นประโยชน์แก่คดีของตนให้มากที่สุด เพื่อที่จะเสนอข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์สำหรับตัวจำเลย และให้ศาลได้ทราบมูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิด เพื่อที่ศาลจะได้ใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษแก่จำเลยได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องนั่นเอง

ปัญหาการใช้สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา

การที่รัฐขาดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ถึงสิทธิและขั้นตอนใการดำเนินคดีอาญา ทำให้ประชาชนขาดความรู้เรื่องกฎหมาย จนเป็นผลให้ประชาชนเกิดความกลัวต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่รู้จักการใช้สิทธิของตนเมื่อตกเป็นผู้ต้องหา จนเป็นเหตุให้ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่นำเสนอต่อศาลขาดตกบกพร่อง และในที่สุด ประชาชนก็จะขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม

ดังนั้น รัฐต้องสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงสิทธิของตนเองในกรณีที่ตกเป็นผู้ต้องหา และต้องจัดหาทนายความผู้ซึ่งมีความรู้ ความสามารถในด้านกฎหมายให้ประชาชนได้มีสิทธิเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกันทุกคน เพราะขั้นตอนการดำเนินคดีอาญาของประเทศไทยนั้น อำนาจหน้าที่ในการเริ่มต้นคดี โดยเฉพาะขั้นตอนการรวบรวมพยานหลักฐานและการแสวงหาข้อเท็จจริงนั้น อำนาจหน้าที่ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่อยู่ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมไม่ได้ใช้อำนาจที่มีอยู่ไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยเฉพาะ เช่น การแจ้งสิทธิที่ผู้ต้องหาพึงมี การแจ้งให้ประชาชนหรือผู้ต้องหาทราบว่า มีสิทธิเสนอให้ตำรวจและพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของตนเอง เป็นต้น

เป็นอย่างไรบ้างครับ กับบทความเรื่อง “ผู้ต้องหาในคดีอาญา” ซึ่งได้นำเสนอผ่านงานเขียนของ “นายสมพร ดำพริก อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์” ซึ่งได้เขียนไว้ในเอกสารเผยแพร่ความรู้กฎหมายเพื่อประชาชน โดยสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ในชื่อเรื่อง “กฎหมายที่ประชาชนควรรู้” พอเป็นแนวทางประชาสัมพันธ์ให้ทุกท่านได้ทราบถึงสิทธิเบื้องต้น ในกรณีที่ต้องตกเป็นผู้ต้องหาหรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญาว่า ตนเองมีสิทธิอย่างไร มีขั้นต้อนกระบวนการในการดำเนินคดีเป็นอย่างไร และมีสิทธิที่จะขอพบหรือปรึกษาทนายความได้หรือไม่ หากตนเองไม่มีทนายความจะทำอย่างไร ใครจะเป็นผู้จัดหาทนายความให้ ทนายความที่มีผู้จัดให้นั้น เป็นทนายความที่มีความรู้ความสามารถช่วยพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเราได้จริงแค่ไหน ในกรณีที่เรากระทำความผิดจริง การทราบถึงสิทธิของตน ไม่ว่าจะตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา มีประโยชน์ต่อตัวเราเองในขั้นตอนการดำเนินคดีอย่างไร ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า ประโยชน์ที่ได้จากการอ่านบทความนี้ ก็จะทำให้ประชาชนคนธรรมดาทั่วๆ ไป อย่างเราๆ ท่านๆ รับรู้ถึงสิทธิและขั้นตอนการดำเนินคดีอาญาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และไม่หวาดกลัวเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าพนักงานสอนสวนจนเกินเหตุ ซึ่งอาจเป็นข้อเสียเปรียบตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งที่คดีความยังไม่ได้ถูกฟ้องร้องขึ้นพิจารณาในชั้นศาลด้วยซ้ำไป

ดังนั้น เมื่ออ่านบทความนี้จบแล้ว ประโยชน์ที่จะพึงได้รับ ก็คือ :

  1. ทราบสิทธิของตนอย่างแท้จริง
  2. ทราบขั้นตอนกระบวนการในการดำเนินคดีความต่างๆ โดยเฉพาะคดีอาญา ว่ามีขั้นตอนอย่างไร และเรามีสิทธิที่จะดำเนินการ หรือเรียกร้องสิทธิในขั้นตอน แต่ละขั้นตอนอย่างไรบ้าง
  3. ไม่กลัวเจ้าหน้าที่เกินไปอย่างขาดสติ และปราศจากองค์ความรู้
  4. พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนในกรณีที่ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดจริง
  5. รักษาสิทธิประโยชน์ในการดำเนินคดีความของตนให้เปิดประโยน์สูงสุดแก่ตน เพื่อสื่อให้ศาลเห็นถึงมูลเหตุหรือแรงจูงใจในการกระทำความผิดที่ศาลอาจใช้ดุลยพินิจลดโทษให้ ในกรณีที่เราเป็นผู้กระทำความผิดจริง

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน ขอบพระคุณครับ

“แพรวดวยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น