pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

ฝึกสติได้อย่างไร ในวิกฤตโควิด-19

ความหมายของสติ

คำว่า “สติ” ในความหมายทางพระพุทธศาสนาก็คือ “ความระลึกได้” หมายความว่า “รู้ปัจจุบันขณะ” คือ “ขณะนี้”,“ที่นี่”, “เดี๋ยวนี้”

การรู้ปัจจุบันขณะ โดยความหมายแล้วก็คือ การที่จิตรับรู้ได้ว่า ณ ขณะนี้เราเป็นใคร มีบทบาทหน้าที่อย่างไร กำลังทำอะไร ทำอยู่ที่ไหน มีความรู้สึกอย่างไร เป็นต้น

การรู้ปัจจุบันขณะ มีประโยชน์มากที่สุด คือมีประโยชน์มากกว่าการรู้อดีต หรือการรู้อนาคต 

การรู้เรื่องราวในอดีตจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อนำประสบการณ์ในอดีตมาใช้เป็นบทเรียนในการใช้ชีวิตในปัจจุบันขณะและในอนาคต แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ว่า เราไม่สามารถเข้าไปดำเนินการจัดการแก้ไขเรื่องในอดีตที่ผ่านไปแล้วได้เลย

ส่วนการรู้เรื่องราวในอนาคตว่า จะมีเหตุการณ์อย่างไรเกิดขึ้นในอนาคต สามารถพยากรณ์เรื่องราวในอนาคตล่วงหน้าได้ จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อสามารถนำไปสร้างแรงบันดาลใจในการทำความดี หรือหลีกเลี่ยงอกุศลกรรมการทำไม่ดี ซึ่งสามารถส่งผลในอนาคตของเราหรือต่อสังคมส่วนรวมในอนาคตได้ แต่ก็อีกเช่นเดียวกัน หากเรามัวแต่หมายมั่นปั้นมือ มั่นอกมั่นใจ หรือมัวพะว้าพะวงกับอนาคตมากจนเกินไป ปัจจุบันก็ไม่เป็นอันต้องทำอะไร ซ้ำร้ายเมื่อปัจจัยเปลี่ยน เหตุการณ์เปลี่ยน เวลาเปลี่ยน เรื่องในอนาคตก็จะอาจจะมีเหตุให้ไม่ได้เป็นไปในแบบที่ควรจะเป็นก็ได้

เรื่องราวในอนาคต ในที่สุดก็ต้องกลายเป็นเรื่องปัจจุบัน และกลายไปเป็นอดีตได้ในที่สุด และถ้าหากว่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอนาคตไม่ได้เป็นไปในแบบที่เรารู้ หรือในแบบที่เราคาดหมายเอาไว้ การรู้เรื่องราวในอนาคตทั้งหมดทั้งมวล ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับชีวิตของเราเลย เพราะอย่าลืมว่า ช่วงชีวิตที่เรารับรู้ได้ สัมผัสได้ว่าเป็นชีวิตจริงๆ แล้ว ไม่มีขณะอื่นใดนอกเหนือไปจาก “ปัจจุบันขณะ” หรือที่เรียกว่า “สติ” นี้เลย

การรู้ปัจจุบันขณะ

การรู้ปัจจุบันขณะนี่เอง เป็นชื่อเรียกของคำว่า “สติ” เพราะสติเป็นสิ่งที่คอยกำกับให้คนเราดูตัวเองออก บอกตัวเองได้ ใช้ตัวเองเป็น เป็นเสมือนเข็มทิศที่คอยกำหนดทิศทางให้กับการดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกที่ต้อง ในทางที่เจริญรุ่งเรือง และเปรียบเสมือนกับหางเสือที่คอยบังคับทิศทางของเรือที่แล่นไปข้างหน้าอย่างมีทิศทาง และตรงกับจุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ เพราะสิ่งที่บุคคลทำ พูด คิดในปัจจุบันขณะ สามารถกำหนดทิศทางการดำเนินชีวิตได้ว่า จะให้ชีวิตดำเนินไปในทิศทางใด และสามารถส่งผลไปถึงอนาคตได้ด้วย เพราะเมื่อทำปัจจุบันได้ดีแล้ว เรื่องในอนาคตก็ย่อมที่จะดีตามไปด้วย

คำว่า “ปัจจุบันขณะ” หรือคำว่า “สติ” นี้ เป็นชื่อของกรรมฐานอย่างที่ 2 ในพระพุทธศาสนา ซึ่งนั่นก็คือ “วิปัสสนากรรมฐาน” คือ กรรมฐานที่ทำให้จิตมีสติรู้แจ้งเห็นจริงในปัจจุบันขณะ  รู้สิ่งต่างๆ โดยสภาวะที่เป็นจริง หรือรู้ทุกสรรพสิ่งตามความเป็นไปอย่างถ่องแท้ชัดแจ้ง

ในช่วงวิกฤตโควิด-19 กำลังระบาดอย่างหนักในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลกระทบโดยตรงกับระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ สถานประกอบการต่างๆ และการใช้ชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก ซึ่งถือว่าเป็นวิกฤตการณ์ที่ย่ำแย่ที่สุดเหตุการณ์หนึ่งเท่าที่โลกเคยประสบพบเจอมา

ในวิกฤติยังมีโอกาส

แต่ในวิกฤตก็ต้องมีโอกาส ในช่วงที่ผู้คนต่างก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 อยู่เช่นนี้ มีผลทำให้ผู้คนไม่สามารถใช้ชีวิตแบบปกติเช่นเดิมได้อีกต่อไป เช่น ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกันตัวเองและป้องกันผู้อื่นอยู่ตลอดเวลาที่ต้องออกจากที่อยู่อาศัย หรือพบปะกับบุคคลภายนอก การหมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การโหลดแอพลิเคชั่นสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยติดตามตัว หรือตรวจสอบไทม์ไลน์ เป็นประโยชน์ในการสอบสวนและควบคุมโรค การปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) การใช้มาตรการปิดหรือการกำหนดเวลาเปิดปิดสถานประกอบการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของการหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส การหลีกเลี่ยงการรวมตัวกันทำกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันของคนจำนวนมากๆ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งสิ้น

การที่วิถีชีวิตของคนเราจำต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพบางอย่าง การที่ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยปิดจมูกและปากอยู่แทบจะตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นเสมือนหนึ่งอวัยวะสำคัญของร่างกาย หรือกลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องแต่งกายหรืออุปกรณ์สำคัญที่ต้องพกติดตัวตลอดเวลา ห้ามลืม ห้ามทำหายอย่างเด็ดขาด ต้องพกติดตัวอยู่ตลอดเวลาที่จะต้องออกไปทำงานหรือไปทำกิจกรรมต่างๆ

การถูกจำกัดเวลา สถานที่ การเดินทาง การพบปะผู้คน และกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำได้อย่างอิสระ ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถือเป็นความลำบากกาย ลำบากใจ ความอึดอัด ความอัดอั้น ความจำทน ความฝืนใจ ความความแบกรับ ความรับผิดชอบที่ต้องรับเพิ่มเข้ามาในชีวิต และกลายเป็นความยุ่งยากในชีวิตก็จริง

            แต่มาตรการที่สร้างความยุ่งยากให้กับชีวิตของเราเหล่านี้ ก็ถือว่าเป็นอุปการคุณและมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อการช่วยลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และช่วยให้ชีวิตของเรา คนที่เรารัก ตลอดจนถึงสังคม ประเทศชาติ และโลกของเรารอดพ้นจากวิกฤตโควิด-19 และต้องอดทนใช้ชีวิตอยู่ให้ได้ท่ามกลางขีดจำกัดต่างๆ ด้วยความหวังว่า เราจะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และชีวิตของเราทุกคนจะกลับมามีความสุข ความมั่งคั่ง ความอุดมสมบูรณ์ และความปลอดภัยอย่างที่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้ในเร็ววัน

            ในช่วงเวลาที่ชีวิตของเราต้องประสบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน ความกดดัน ความบีบคั้น ความขาดแคลนอย่างนี้ ในมุมมองทางพระพุทธศาสนานั้น กลับมองว่าเป็นโอกาสอันสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้คนเราได้หันกลับมาพิจารณาจิตใจของตนเอง ได้พิจารณาเห็นโลกตามความเป็นจริง พิจารณาเห็นภัยในวัฏสงสาร และที่สำคัญที่สุดคือได้พิจารณาเห็นความทุกข์ ซึ่งเป็นความจริงอย่างประเสริฐข้อแรกในอริยสัจ 4 ที่ทุกชีวิตต้องประสบพบเจอและร่วมชะตากรรมเดียวกัน”

ใช้สติแก้ปัญหา

            ต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งที่ว่า คนเรานั้น ถ้าไม่ประสบกับความทุกข์ในชีวิต ก็ไม่มีโอกาสได้ศึกษาธรรม ไม่มีโอกาสได้พิจารณาธรรม และไม่มีโอกาสได้เห็นธรรม

            ดังนั้น ในวิกฤตโควิด-19 เช่นนี้ จึงเป็นโอกาสดีเหลือเกิน    ที่เราจะได้หันมาฝึกสติ มองปัญหาความเดือดร้อนที่ประสบอยู่นี้ นำเอามาเป็นอารมณ์กรรมฐานเสียเลย อย่างนี้เรียกว่ามองเห็นว่าชีวิตนี้มีปัญหา คือมองเห็นว่าชีวิตนี้มีทุกข์ (ทุกขอริยสัจ)

            เมื่อมองเห็นว่าชีวิตนี้มีปัญหา หรือชีวิตนี้มีทุกข์ เพราะเป็นสภาวะที่ตนเองได้ประสบพอเจอ รับรู้ และสัมผัสได้ด้วยประสบการณ์ตรงของตนเอง แล้วแยกให้ออกว่า

1. ปัญหาหรือความทุกข์ที่เรากำลังประสบพบเจออยู่นี้ ประกอบไปด้วยปัญหาหรือความทุกข์ในเรื่องใดบ้าง

2. แต่ละปัญหานั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตหนักเบาต่างกันอย่างไร

3. ปัญหาไหนที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

4. ปัญหาไหนที่สามารถรอคอยการแก้ไขได้ คือเป็นปัญหาที่ไม่เร่งด่วนเท่าไรนัก

5. ปัญหาไหนที่ไม่จำเป็นต้องแก้ไขอะไรเลย เพียงแต่รอเวลาให้ปัญหาคลี่คลายไปเองเท่านั้น

6. แต่ละปัญหานั้นเกิดจากปัจจัยภายนอก (สิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม การบริหารงานของภาครัฐ ฯลฯ) หรือว่าเกิดจากปัจจัยภายใน (เกิดจากความคิด ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ ฯลฯ ของเรา) และ

7. พยายามสาวหาสาเหตุหรือต้นตอบของปัญหาแต่ละปัญหาว่า ในบรรดาปัญหาที่เรามองว่ามันพัวพันกันจนยุ่งเหยิงเป็นกระจุก ไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดได้นั้น แท้จริงแล้ว แต่ละปัญหามีสาเหตุมาจากอะไร (สมุทัยอริยสัจ)

เมื่อเราสามารถหาสาเหตุของปัญหาแต่ละปัญหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สามารถเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาต่างๆ รวมถึงการประเมินท่าทีที่พึงปฏิบัติต่อปัญหาในแต่ละอย่างได้อย่างถูกต้องมองขาดแล้ว จากนั้นจึงค่อยหาวิธีการหรือแนวทางในการแก้ปัญหาแต่ละอย่างๆ ให้ถูกต้องและตรงจุดที่สุด ตัวอย่างเช่น

ปัญหายอดขายตก หรือปัญหาการค้าขายขาดทุน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่คนที่ทำอาชีพค้าขายแทบทุกคนต้องพบต้องเจอ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 เช่นนี้

ก่อนอื่น ก็ต้องมองว่าปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเรามากน้อยหรือหนักเบาแค่ไหน ซึ่งสำหรับคนที่ทำอาชีพค้าขายอย่างเดียว ไม่มีอาชีพอื่นร่วมด้วย เมื่อประสบปัญหายอดขายตกต่ำ หรือการค้าขายขาดทุน แน่นอนที่สุดว่า ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้และการดำเนินชีวิตประจำวันแทบจะ 100%  เลยทีเดียว ถือว่าเป็นปัญหาที่หนักหนาสาหัสเอาการอยู่สำหรับคนทำอาชีพค้าขายเพียงอย่างเดียว

เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด ไม่สามารถที่จะรอให้สถานการณ์คลี่คลายไปได้เอง เพราะในระหว่างที่รอนี้ เมื่อไม่มีรายได้เสริมมาจากทางอื่นเลย ก็จะต้องมีปัญหาเรื่องปากท้องและการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ ตามมาติดๆ อย่างแน่นอน

ปัญหานี้เกิดอาจมีสาเหตุเกิดขึ้นมาได้ทั้งจากปัจจัยภายนอก อันได้แก่ ระบบเศรษฐกิจที่ไม่ดี ระบบการเมืองที่ไม่ดี การบริหารจัดการของภาครัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วเพียงพอ หรือเกิดจากภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นต้น

หรืออาจมีสาเหตุมาจากตัวผู้ประกอบการค้าขายเอง ที่ไม่สามารถบริหารการค้าขายของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ เช่น ใช้รูปแบบและวิธีการค้าขายแบบเดิมๆ ไม่มีการสร้างคอนเทนต์จูงใจกลุ่มเป้าหมาย หรือไม่มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับอาชีพค้าขาย

เมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นออกมาเป็นข้อๆ ได้อย่างนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการหาแนวทาง หรือวิธีการใหม่ๆ ที่มีความเหมาะสม มีขีดความสามารถสูง สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการอุดช่องโหว่ จุดอ่อน หรือข้อด้อยของกลยุทธ์การทำมาค้าขายแบบเดิมๆ

หากวิเคราะห์แล้วว่า ที่ยอดขายของเราตกต่ำหรือประสบกับปัญหาการขาดทุนนั้น ไม่ได้มีผลมาจากการหย่อนความสามารถในการวางแผนการใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ หรือการสร้างคอนเทนต์เพื่อจูงใจกลุ่มเป้าหมาย หรือเพิ่มจำนวนและความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มีความต้องการอยากซื้อของจากเราเพิ่มมากขึ้น หรือไม่ได้มีปัญหากับการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยเพิ่มยอดขายแต่อย่างใด

หากแต่เกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย การเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาเยียวยาของทางภาครัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ประกอบกับปัญหาโรคระบาดที่ยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะดีขึ้นได้เมื่อไร

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ควรรู้จักปรับตัว หันไปทำงานเสริม หรือทำอาชีพเสริมอย่างอื่นที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเราได้ ทดแทนการทำอาชีพค้าขายแค่เพียงอย่างเดียว เช่น อาชีพให้บริการส่งอาหาร ให้บริการส่งของ หรือเปลี่ยนมาขายของที่มีความจำเป็นต้องกินต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำดื่ม อาหาร เครื่องปรุงรส แก๊สหุงต้ม เสื้อผ้า ยารักษาโรค หน้ากากอนามัย เครื่องชำระล้างร่างกาย น้ำยาซักล้างต่างๆ ฯลฯ เพราะการขายของกินของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ยังไงก็ขายได้ เพราะถึงแม้ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรงสักแค่ไหน เพียงไรก็ตาม คนเราก็ต้องกิน ต้องอยู่ ต้องใช้อยู่ดี เมื่อหาวิธีการแก้ไข แนวทางแก้ไข หรือทางออกของปัญหาได้อย่างนี้ เรียกว่า “นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” หรืออยู่ในขั้นของ “มรรคอริยสัจ”

เมื่อสามารถหารายได้เสริม หรือตัดสินใจละทิ้งอาชีพเก่าที่ไม่สามารถไปต่อได้ในยามที่มีวิกฤตเศรษฐกิจหรือปัจจัยลบด้านอื่นๆ เพื่อมาทำอาชีพใหม่ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเราได้ หรือเป็นอาชีพที่มีความเหมาะสมสำหรับยุคที่เศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้ สามารถสร้างรายได้และทำให้ชีวิตอยู่รอดได้แม้ในยุควิกฤตโควิด-19 ระบาดอย่างนี้ ก็ถือว่าสามารถแก้ไขปัญหาเอาตัวรอดจากปัญหาที่ประสบพบเจอได้อย่างชาญฉลาด (นิโรธอริยสัจ)

ตัวอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของปัญหาที่คนเราจะต้องประสบพบเจอเท่านั้น แต่สามารถใช้สติที่ได้ฝึกฝนอบรมกันมาเป็นเครื่องช่วยพิจารณาไตร่ตรองหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้อย่างนี้

ปัญหามากมายแก้ไขได้ด้วยการฝึกสติ

แน่นอนที่สุดว่า ปัญหาที่แต่ละคนแต่ละท่านประสบอยู่นั้น ไม่ได้มีแค่เพียงปัญหาเดียวเท่านั้น แต่ละคนล้วนแล้วแต่มีปัญหาประดังประเดเข้ามามะรุมมะตุ้มมากมายหลากหลายปัญหาให้ต้องรับมือ สร้างความสับสนปนเปเรรวนให้กับชีวิตเป็นอย่างมาก

บางคนมองปัญหาไม่ออก ไม่สามารถแยกแยะปัญหาได้ ทำได้เพียงแค่รู้ว่า ตนเองได้รับผลกระทบ ตนเองมีปัญหา ตนเองมีความทุกข์ ตนเองมีความเดือดร้อน มองปัญหาเป็นภาพรวม มองปัญหาเป็นภาพใหญ่ที่ยุ่งเหยิงจนหาทางแก้ไขหรือหาทางออกไม่เจอ ก็ยิ่งรู้สึกเครียดไปกันใหญ่

อาการเครียดย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพจิต ยิ่งคนเราสะสมความเครียดไว้มากเท่าไร สุขภาพจิตก็ย่ำแย่มากเท่านั้น เมื่อสุขภาพจิตย่ำแย่ ก็กลายเป็นโรคซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ถึงขั้นป่วยทางจิต หรือเมื่อไม่สามารถหาทางออกได้ ก็จะเลือกแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ผิดๆ เช่น การทำร้ายร่างกายตัวเอง การทำร้ายผู้อื่น การใช้ยาเสพติด การปล่อยตัวปล่อยชีวิตจนเสียผู้เสียคน หนักเข้าถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายก็เป็นได้

ดังนั้น “การฝึกสติ” ในความหมายของหนังสือเล่มนี้ จึงไม่ได้หมายถึงการให้ทุกคนมานั่งหลับตาภาวนา หรือบริกรรมคาถาเพื่อให้ใจสงบสุขเย็นสบายท่ามกลางปัญหารุมเร้า และความเป็นจริงที่โหดร้ายยากต่อการรับมือแต่อย่างใด หากแต่คำว่า “ฝึกสติ” ในที่นี้ หมายถึง การรับรู้สภาวะของจิตที่เป็นปัจจุบันขณะว่า ขณะนี้จิตของเราเป็นสุข หรือเป็นทุกข์อย่างไร ที่เป็นสุข สุขเพราะอะไร และที่ต้องเป็นทุกข์อยู่นี้ ทุกข์เพราะอะไร

จากนั้น ให้ดึงศักยภาพของจิตที่มีความสามารถในการแยกแยะปัญหาออกมาเป็นข้อๆ เป็นประเด็นๆ วิเคราะห์ความเร่งด่วนของปัญหา ความหนักหนาสาหัสของปัญหา ผลกระทบจากปัญหา ค้นคิดหาทางออก แนวทางแก้ไข วิธีการเอาตัวรอด จากปัญหาแต่ละปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี มีความถูกต้อง แม่นยำ แลตรงจุด โดยเริ่มแก้ไขไปทีละขั้น ทีละตอน ทีละเปลาะ จนสามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดในที่สุด

คนที่ไม่เคยฝึกสติมาก่อน ก็มักจะเป็นคนที่ขาดเหตุผล มองเห็นแต่เรื่องอดีตที่ไม่สามารถเข้าไปเยียวยาแก้ไขอะไรได้แล้ว  พะวงอยู่แต่กับเรื่องในอนาคต คอยแต่จะวิตกกังวล พะว้าพะวงกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

เมื่อต้องเจอกับปัญหาใดๆ ก็มักจะโทษนั่น โทษนี่ โทษคนนั้น โทษคนนี้ พูดถึงแต่เรื่องเก่าๆ ที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว มักพูดถึงแต่ปัญหา แต่ไม่เคยเสนอทางออกหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหา มักมองปัญหาว่าเป็นทางตัน เป็นความยุ่งยาก เป็นความยุ่งเหยิง เป็นอุปสรรค เป็นความสับสน เป็นความวุ่นวาย มักมองปัญหาเป็นภาพรวมซึ่งยากต่อการแก้ไข ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรในชีวิตได้ เป็นคนจิตใจอ่อนแอ ไร้หลักการ ปราศจากเหตุผล อับจนปัญญา ในที่สุด ก็ต้องกลายเป็นคนขี้แพ้ ที่ยอมจำนวนสยบยอมกับทุกปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านเข้าในในชีวิต

ต่างจากคนที่ได้รับการฝึกสติมาแล้วเป็นอย่างดี ที่ไม่ว่าจะประสบพบเจอกับปัญหา อุปสรรค และความทุกข์ในรูปแบบใดก็ตาม ก็สามารถใช้สติ ความระลึกได้ หรือความรู้ที่เป็นปัจจุบันขณะ แก้ปัญหาฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ไปได้ ด้วยหลักของเหตุผล ความรู้เท่าทันปัญหา ความรู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง นำมาปรับใช้กับการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และตรงจุด

ห้วงเวลาแห่งวิกฤตโควิด -19 เช่นนี้ จึงเหมาะสมสำหรับการฝึกสติ และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สติมาเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะทุกคนต่างก็ได้รับผลกระทบ ต้องประสบกับความทุกข์ ต้องประสบกับปัญหาเหมือนๆ กัน ประกอบกับช่วงนี้มีเวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้น มีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น การพบปะผู้คนจำนวนมากๆ เริ่มลดลง การท่องเที่ยวหาความสำเริงสำราญให้กับตนเองเริ่มน้อยลง จึงเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ห้วงเวลาอันสำคัญยิ่งนี้เพื่อการฝึกสติ ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างยวดยิ่งต่อการดำเนินชีวิต และการแก้ไขปัญหาชีวิตของคนเรา”

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น