pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

มรดกของพระภิกษุ

โดย : ว่าที่ ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า “พระภิกษุสามเณร” ก็สามารถมีทรัพย์สิน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนได้ เป็นผู้รับมรดกได้ ตลอดจนสามารถยกทรัพย์สินที่ตนเองถือครองเป็นกรรมสิทธิ์อยู่ไปให้กับผู้อื่นได้เช่นกัน เรามาเรียนรู้และทำความเข้าใจกฎหมายว่าด้วยมรดกของพระภิกษุ ซึ่งเขียนโดย ว่าที่ ร้อยตรี ดร. ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ ซึ่งได้เขียนลงในเอกสารเผยแพร่ ความรู้กฎหมายเพื่อประชาชน ในชื่อเรื่อง “กฎหมายที่ประชาชนควรรู้” ไปพร้อมๆ กันครับ

ทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดก ได้แก่ ทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินัยกรรม

ทายาทโดยธรรม มี 6 ลำดับ โดยมีสิทธิ์ไดิรับมรดกก่อน-หลัง คือ

1. ผู้สืบสันดาน

2. บิดามารดา

3. พี่น้องร่วมบิดามารดา

4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน

5. ปู่ ย่า ตา ยาย

6. ลุง ป้า น้า อา

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629

นอกจากนั้น ยังมีทายาทที่เป็นคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 วรรคสอง ซึ่งระบุว่า ทายาทซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลอาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้

พระภิกษุรับมรดก

พระภิกษุรับมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ มาตรา 1622 ที่บัญญัติไว้ว่า “พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะสึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แต่ภิกษุนั้น อาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้”

พระภิกษุจึงจะเป็นทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมได้ เพียงแต่จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก เช่น ฟ้องร้องต่อศาล ไม่ได้

พระภิกษุจะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกได้ ก็ต่อเมื่อได้สึก หรือสละจากสมณเพศไปแล้ว โดยเรียกร้องภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อรู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 แต่จะเรียกร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายไม่ได้

ถ้าพระภิกษุถูกฟ้องเป็นจำเลยไม่ขัดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 เพระไม่ใช่การเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก หรือฟ้องเรื่องอื่นที่ไม่ใช่การเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม

ในกรณีฟ้องเรียกร้องทรัพย์มรดกเอาไว้ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ภายหลังมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ พระภิกษุมีสิทธิดำเนินคดีต่อไป

พระภิกษุเป็นเจ้ามรดก

ประมวลกฎหมายมาตรา 1623 บัญญัติว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาหรืออยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม”

เป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศ ไม่ว่าพระภิกษุจะได้มาในฐานะทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมหรือประการอื่นใด ไมว่าจะได้รับจากวัดที่จำพรรษาหรือไม่หรือออกธุดงค์ก็ตาม

วัด ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

วัดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์โดยมีพระภิกษุจำพรรษาตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป

พระภิกษุ ไม่รวมถึง สามเณณ นักพรต นักบวช สามเณรี และแม่ชี

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 บัญญัติว่า “การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้กระทำได้ ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อมหาเถรสมาคมไม่ขัดข้องและได้รับค่าผาติกรรมจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นแล้ว ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดหรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแล้วแต่กรณี ในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง”

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 35

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 35 บัญญัติไว้ว่า “ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง เป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี”

ภริยาจะเรียกร้องแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ ถ้าพระภิกษุได้ทรัพย์สินมาระหว่างสมรส และมาตรา 1623 ที่ดินที่ตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ ทายาทของพระภิกษุ จะยกอายุความมรดกมาต่อสู้วัดไม่ได้

มาตรา 1624 บัญญัติว่า “ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้”

เป็นกรณีทรัพย์ได้มาก่อนอุปสมบท

กรณีเป็นทรัพย์ได้มาก่อนอุปสมบท ทรัพย์นั้นไม่ตกเป็นของวัด แต่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ซึ่งพระภิกษุจะจำหน่ายโดยประการใดก็ได้ หรือทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลใดก็ได้

วัดเป็นนิติบุคคล ซึ่งอาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้ และสามรถได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับเนื้อหาสาระและความรู้ทางกฎหมายว่าด้วยมรดกของพระภิกษุ ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่าหลายๆ ท่านอาจยังไม่ทราบ เพราะกฎหมายที่มีการบังคับใช้กับพระภิกษุในพระพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้น มีความเฉพาะตัว และมีความละเอียดอ่อน ซึ่งแตกต่างออกไปจากบุคคลและนิติบุคคลทั่วไปนั่นเองครับ

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น