pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

มรดก

โดย : ดร. กิตติมา สิริศุภชัย กรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายและปฏิคม สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

กว่าจะเห็นว่ามรดกมีความสำคัญและจำเป็น ก็ต้องสูญเสียบุคคลในครอบครัวอันเป็นที่รักไป ดังนั้น ความตายจึงเกิดก่อนมรดก มรดกจึงมีความสำคัญกับผู้ที่เป็นทายาท หน้าที่และความรับผิดก็ตกแก่ทายาททันที หากเจ้ามรดกมีเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกร้องจากทายาท โดยทายาทจะปฏิเสธว่าไม่ได้รับมรดกมิได้ และเจ้าหน้าจะเรียกร้องจากทายาทคนใดก็ได้ ทั้งนี้ หนี้ที่ต้องชดใช้จะไม่มากเกิดกว่ามรดกที่รับ

เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ใครบ้างที่จะมีสิทธิได้รับมรดก หรือเป็นทายาทของผู้ตาย

บุคคลที่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย คือ “ทายาท” ซึ่งทายาทก็แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ทายาทโดยธรรม (ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย) และ
  2. ทายาททางพินัยกรรม (ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม)

ทั้งนี้ ทายาททั้ง 2 ประเภท ก็มีความหมายแตกต่างกัน คือ ทายาทโดยธรรมจะมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายก็ต่อเมื่อ ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมจำหน่าายทรัพย์มรดกของตนเอาไว้ หรือจำหน่ายไว้ไม่หมด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620)

ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรม บุตรที่บิดารับรองโดยพฤตินัย)

ลำดับที่ 2 บิดามารดา

ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (ตามสายโลหิต)

ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน (ตามสายโลหิต)

ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย (โดยชอบด้วยกฎหมาย)

ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา (ตามสายโลหิต)

ทายาทโดยธรรม คือ ทายาทประเภทญาติ และประเภทคู่สมรส ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ คือ ผู้ที่มีสายสัมพันธ์ทางสายโลหิต

มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อน-หลัง ดังต่อไปนี้คือ

  1. ผู้สืบสันดาน
  2. บิดามารดา
  3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
  5. ปู่ ย่า ตา ยาย
  6. ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1630 ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยุ่ ในกรณีเช่นนั้น ให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

ถึงแม้ว่าทายาทโดยธรรมจะมีถึง 6 ลำดับด้วยกัน แต่ไม่ใช่ว่าทุกลำดับจะมีสิทธิได้รับมรดกพร้อมกัน การรับมรดกจะเป็นไปตามลำดับก่อน-หลัง ญาติที่อยู่ในลำดับก่อน (ลำดับต้น) มีสิทธิได้รับมรดกก่อน ญาติที่อยู่ลำดับถัดมา จะมีสิทธิได้รับมรดกก็ต่อเมื่อไ่มีญาติลำดับก่อนหน้า เช่น ญาติลำดับที่ 3 จะได้รับมรดกก็ต่อเมื่อไม่มีญาติลำดับที่ 1 และ 2

ดังนั้น การรับมรดกจึงเข้าตามหลักที่ว่า “ญาติสนิทตัดญาติห่าง” ยกเว้นกรณีทายาทลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดาน จะไม่ตัดทายาทลำดับที่ 2 คือ บิดามารดา นั่นก็หมายความว่า บิดามารดามีสิทธิได้รับมรดกพร้อมกับผู้สืบสันดานนั่นเอง

ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ทายาทประเภทนี้ โดยปกติจะไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต แต่มีความสัมพันธ์กันในทางความรัก ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ซึ่งถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมเช่นกัน มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกัน แต่ส่วนแบ่งของทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรสจะได้เท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีทายาทโดยธรรมประเภทญาติลำดับใดที่มีสิทธิรับมรดก หากเป็นญาติห่างๆ ยิ่งห่างมากเท่าไร คู่สมรสก็จะได้รับมรดกมากขึ้นเท่านั้น

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1635

  1. ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
  2. ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทตามมาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทลำดับที่ 2 หรือ 3 ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ และไม่มีทายาทลำดับ (1) คู่สมรสของเจ้ามรดกได้รับมรดกกึ่งหนึ่งของกองมรดกของผู้ตาย อีกกึ่งหนึ่งตกทอดแก่ทายาทลำดับที่ (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี ถ้าทายาทในลำดับนั้นมีหลายคน ทายาทเหล่านั้นชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากันตามมาตรา 1633
  3. ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทตามมาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตามมาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดก 2 ใน 3 ส่วน
  4. ถ้าไม่มีทายาทโดยธรรมประเภทญาติเลย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

คู่สมรสซึ่งจดทะเบียนสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมเช่นกัน โดยกรณีคู่สมรส จะมีการแบ่งที่แตกต่างกับทายาทโดยธรรมประเภทญาติ เพราะมีสิทธิได้รับมรดก 2 ส่วน คือ ครึ่งหนึ่งของสินสมรส และสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายตามกฎหมายลักษณะมรดกแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ทายาทโดยพินัยกรรมหรือผู้รับพินัยกรรม

ผู้รับพินัยกรรม คือ บุคคลที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ โดยอาจเป็นญาติพี่น้อง หรือบุคคลภายนอกก็ได้ และอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

  1. ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิได้รับมรดกก่อนทายาทโดยธรรมเสมอ
  2. ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้รับพินัยกรรม ทายาทโดยธรรมก็จะไม่ได้รับมรดกเลย
  3. ถ้าเจ้ามรดกยกให้เพียงบางส่วน ทายาทโดยธรรมก็จะได้รับมรดกเฉพาะส่วนที่เหลือ
  4. แต่ถ้าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ เช่น พินัยกรรมไม่ได้ลงลายมือชื่อ ผู้รับพินัยกรรมก็ไม่มีสิทธิรับมรดกนั้น

สิทธิของผู้รับพินัยกรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ก่อนตายเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เว้นเสียแต่ว่าพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นตกเป็นอันไร้ผลตามกฎหมาย เช่น ผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ ต้องปันทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมนั้นสู่กองมรดกเพื่อแจกจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมต่อไป

บุคคลที่เคยมีชื่อเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมเช่นกัน เช่น นาย ก ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงหนึ่งของตนให้แก่นาย ข ผู้เป็นน้องชาย ส่วนที่ดินแปลงอื่นเป็นทรัพย์สินอื่นของนาย ก ที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใด ที่ดินที่ยกให้นาย ข ก็ตกทอดแก่นาย ข ส่วนที่ดินแปลอื่นและทรัพย์สินอย่างอื่น ก็จะตกทอดได้แก่ทายาทโดยธรรมของนาย ก นั่นเอง

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น