pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

มองต่างมุม

โดย : แพรวพราว ดอท คอม

“สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมอง เห็นโคลนตม อีกคน ตาแหลมคม มองเห็นดาว อยู่พราวพราย”

จากบทกลอนข้างต้น ทำให้เราได้เราได้พิจารณาเห็นความจริงอยู่ข้อหนึ่งที่ว่า “คนเรานั้นมีความรู้สึก มีมุมมอง มีแนวคิดความเห็น และมีทัศนคติแม้กับสิ่งเดียวกัน ที่ผิดแผกแตกต่างกันออกไป” ดังเช่นคำคมที่ว่า

“คนเขลามักมองเห็นโอกาสเป็นวิกฤต แต่คนที่เป็นบัณฑิตกลับมองเห็นวิกฤตเป็นโอกาส”

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนจริงๆ ซึ่งเรื่องเช่นนี้ ไม่สามารถจะไปบังคับกะเกณฑ์กันได้ ขึ้นอยู่กับความคิด สติปัญญาของแต่ละท่านแต่ละคนในการมองโลกและชีวิต ตลอดจนปรากฏการณ์ต่างๆ ในเหลี่ยมไหนมุมใดนั่นเอง เราลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผ่าน 3 ประเด็นหลัก 2 ประเด็น ดังต่อไปนี้ :

1.ความรู้สึกกับคำพูด

1.1 ความรู้สึก

บางคนมองว่า “ความรู้สึก” สำคัญกว่า “คำพูด” เพราะตนเองมีความเข้าใจว่า คนเราต้องมีความจริงใจต่อกัน แสดงความรักความปรารถนาดีต่อกัน และรู้สึกดีต่อกันไม่ใช่เพียงแค่การเสแสร้งแกล้งพูดดี แกล้งทำดีต่อกัน โดยที่ความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีความรู้สึกดี หรือมีความปรารถนาดีต่อกันเลยแม้แต่น้อย

บางคนแม้เป็นคนปากร้าย พูดจาโหวกเหวก โวยวาย โผงผาง ขวานผ่าซาก หยาบคาย แต่แท้จริงแล้วเป็นคนที่มีความ่จริงใจ ใส่ใจ สนใจ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีน้ำใจไมตรีต่อผู้อื่น เข้าทำนอง “ปากร้าย ใจดี” ก็มีให้เห็นอยูมากมายถมเถ นี่ก็เป็นเพราะว่าเขาเป็นคนจริงใจ ให้ความสำคัญกับความรู้สึกมากกว่าคำพูด

1.2 คำพูด

บางคนมองว่า “คำพูด” มีความสำคัญกว่า “ความรู้สึก” เพราะตนเองมีความเข้าใจว่า คนเราแม้จะรู้สึกแย่ รู้สึกเจ็บปวด รู้สึกไม่ดี รู้สึกไม่พอใจ รู้สึกโกรธ รู้สึกหงุดหงิด รู้สึกรำคาญ สักแค่ไหน เพียงใดก็ตาม ก็ไม่ควรพูดระบายออกมาตามความรู้สึกหรืออารมณ์เช่นนั้นทั้งหมด แต่ควรรู้จักเลือกใช้คำพูด มีสติในการพูดให้คนที่ฟังรู้สึกดี หรือไม่รู้สึกอึดอัด คับแค้น หรือรำคาญใจต่อตัวผู้ฟัง ในกรณีเช่นนี้ ยกตัวอย่างเช่น ถูกผู้อื่นพูดจาหรือแสดงกริยาก่อให้เกิดความเดือดร้อน หงุดหงิด รำคาญใจ ทำให้รู้สึกอึดอัด ทำให้รู้สึกโกรธ เป็นต้น ก็ไม่ควรใช้คำพูดที่เป็นปฏิกิริยาโต้กลับตามความรู้สึกจริงๆ ที่เกิดขึ้นแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน หรือพูดตัดบทจนทำให้คู่สนทนาเสียความรู้สึก รู้สึกเก้อเขิน หรือรู้สึกได้รับความอับอาย หากแต่มีการเลือกใช้คำพูดที่มีความละมุนละม่อม ประนีประนอม แบบชนิดที่ว่า “บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น” หรือเข้าทำนองที่ว่า “น้ำขุ่นไว้ใน นำ้ใสไว้นอก” ให้ความสำคัญกับคำพูดมากกว่าความรู้สึกที่แท้จริงภายในจิตใจ จึงกลั่นกรองแต่คำพูดที่ไพเราะ รื่นหู ลื่นไหล และไม่เป็นไปเพื่อสร้างความขัดแย้งหรือความขุ่นเคืองโต้ตอบออกมากับอีกฝ่าย ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว คำพี่พูดออกมานั้น จะไม่ตรงกับความรู้สึก หรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเลยก็ตาม

2. ความสำเร็จกับความล้มเหลว

บางคนมองความสำเร็จเป็นเป้าหมายสำคัญในชีวิต ให้คุณค่า ให้ราคากับความสำเร็จมากเหนือสิ่งอื่นใดในชีวิต เพราะมุมมองในแบบที่ว่า ชีวิตนี้ทั้งชีวิต เขาจะต้องประสบความสำเร็จอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีวันที่จะล้มเหลว หรือผิดหวังอย่างเด็ดขาด ชีวิตของเขาจึงทำทุกอย่างด้วยความกระตือรือร้น ทะเยอทะยาน ต้องการให้ชีวิตประสบความสำเร็จเหนือกว่าผู้คนทั้งปวง เพราะฉะนั้น

2.1 ความสำเร็จ ในมุมมองของบางคน จึงเป็นภาพจำของคนที่อ่อนแอ เพราะบางคนมองว่า คนที่พยายามแต่จะเป็นคนประสบความสำเร็จเท่านั้น เป็นผู้ชนะเท่านั้น ไม่ยอมที่จะเป็นคนล้มเหลว ไม่เปิดโอกาสให้ตัวเองเป็นคนรู้จักความล้มเหลว หรือรู้จักพ่ายแพ้เสียบ้าง บุคคลประเภทนี้ ลึกๆ แล้วเป็นคนที่มีความอ่อนแอซ่อนอยู่ภายในจิตใจ เป็นคนที่มีความเปราะบางทางด้านจิตใจ มากกว่าคนที่เคยล้มเหลวมาบ้างแล้ว หรือเคยเป็นผู้พ่ายแพ้มาบ้างแล้ว เพราะเมื่อใดก็ตามที่เขาประสบความล้มเหลว หรือตกอยู่ในฟากฝั่งของความเป็นคนพ่ายแพ้ เมื่อนั้น เขาจะไม่อาจทำใจยอมรับได้ ไม่อาจจะมีพลังใจในการต่อสู้เพื่อมีชีวิตต่อ หรือเพื่อมีจุดยืนในสังคมนั้นๆ ได้อีกต่อไป เพราะในช่วงเวลาที่ผ่านมา ชีวิตของเขามีแต่คำว่า “สำเร็จ” และมีแต่คำว่า “ชนะ” เท่านั้น เมื่อต้องมาประสบกับความล้มเหลวหรือความพ่ายแพ้สักครั้ง แม้เพียงครั้งแรก และครั้งเดียว ก็ไม่อาจทำใจยอมรับได้ เพราะมีจิตใจที่อ่อนไหว เปราะบาง จมไม่ลง แพ้ไม่เป็น บางคนถึงกับหาทางออกโดยการหลบหลีกหนีหน้าไปจากผู้คนและสังคมนั้นไปเลย หรือมีบางรายที่พยายามฆ่าตัวตัวเพื่อหนีความล้มเหลวหรือความพ่ายแพ้ไปเลยก็มี นี่ก็เพราะมีมุมมองที่มุ่งแต่จะสำเร็จหรือเพื่อได้รับชัยชนะอย่างเดียว จิตใจที่ดูภายนอกปรากฏเห็นความแข็งแกร่งประดุจหินผา ก็พลันเปราะบางแตกหักทำลายลงได้โดยง่ายดายอย่างไม่น่าเชื่อ

2.2 ความล้มเหลว ในมุมมองของบางคน ความล้มเหลวเป็นภาพจำของคนเข้มแข็ง เพราะบางคนมองว่า คนที่รู้จักยอมรับความจริงที่ว่า ชีวิตของคนเรามีขึ้น-มีลง มีเจริญ-มีเสื่อม ตามธรรมดาของโลกธรรม จะล้มเหลวบ้าง จะสำเร็จบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา จะชนะบ้าง จะแพ้บ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริงว่า ไม่มีใครจะประสบความสำเร็จไปเสียทุกอย่าง ทุกเวลา หรือไม่มีใครเลยที่ชั่วชีวิตของเขา จะมีแต่ความล้มเหลวหรือพ่ายแพ้ไปเสียทุกอย่าง ทุกเวลา ชีวิตก็เป็นเสียอย่างนี้ มีขึ้นได้ มีลงได้ มีเจริญ มีเสื่อม มีสุข มีทุก์ มีได้ มีเสีย มีชื่นชม มีตำหนิ มีชื่อเสียง มีเสื่อมเสียชื่อเสียง มีเวลารุ่งโรจน์ มีเวลาตกอับ ฯลฯ

หากสามารถเข้าใจในความจริงของโลกและชีวิตได้เช่นนี้แล้ว จิตใจก็จะเข้มแข็ง แข็งแรง แข็งแกร่ง เพราะ “เหล็กกล้าต้องทนไฟ”

จิตใจของเราก็เช่นกัน ถ้าหากสามารถที่จะผ่านปัญหาอุปสรรคในชีวิต อารมณ์ความรู้สึกทั้งสูง-ต่ำ, ขึ้น-ลง ยอมรับได้ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว ยอมรับได้ทั้งชัยชนะและความพ่ายแพ้แล้ว ถอยมาตั้งหลักและมีกำลังใจที่จะต่อสู้อยู่ร่ำไป สามารถยืนหยัดอยู่ได้ แม้ชีวิตจะเคยหกล้มมาแล้วสักกี่ครั้งก็ตาม ก็สามารถยืนหยัดลุกขึ้นมาสู้ใหม่ได้ทุกครั้งไป คนแบบนี้สิ ถึงจะเรียกว่า “คนเข้มแข็ง”

สุดท้ายแล้ว ก็ต้องบอกกับทุกท่านว่า คนเราจะประสบความสำเร็จ ล้มเหลว จะแพ้ หรือจะชนะก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เรียนรู้ที่จะทำใจยอมรับให้ได้ทั้งสองทางนั่นเอง

มองวิกฤติให้เป็นโอกาส แล้วอย่าพลาดทำโอกาสให้กลายเป็นวิกฤต”

ลองมาคิดดูเล่นๆ ว่า ระหว่างเด็กนักเรียนสองคนนี้ ใครมองโลกและชีวิตได้ดีกว่ากัน ระหว่าง

  1. เด็กนักเรียนที่เคยสอบได้ที่ 1 ของห้องมาตลอด แต่มาพลาดสอบได้ที่ 2 ในเทอมนี้ ในปีนี้ แล้วเกิดมีความรู้สึกอับอาย ผิดหวัง เสียความภาคภูมิใจในตนเองไปเสียสิ้น แล้วหันมาทำร้ายตัวเอง หรือคิดฆ่าตัวตาย ด้วยว่ารู้สึกอับอาย เสียรังวัด เสียชื่อเสียง เสียเครดิต เสียความภาคภูมิใจ เสียความรู้สึก ไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไปให้อับอายใครเขาอีกต่อไปแล้ว จึงหาทางออกด้วยการฆ่าตัวตาย เพราะจิตใจสั่งการให้ไปสร้างความรู้สึกว่า ชีวิตของเขาต้องเกิดมาเพื่อเป็นที่ 1 เท่านั้น ไม่เปิดโอกาสให้ตัวเองได้มีพื้นที่ยืนในลำดับอื่นใดทั้งนั้น เพราะหากไม่ได้ที่ 1 ดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ ก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่ให้อับอายผู้คนอย่างเด็ดขาด ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว เป็นความคิด ทัศนคติ และมุมมองการมองโลกและชีวิตในมุมมองของนักเรียนคนนั้นเพียงคนเดียว คนอื่นอาจไม่ได้รู้สึกกับเขาเช่นนั้น ในทางตรงกันข้าม อาจกำลังมองนักเรียนคนนั้นแบบชื่นชมอยู่ก็เป็นได้ หรือเพียงแค่รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรกับลำดับที่ 1 หรือลำดับที่เท่าใดของนักเรียนคนนั้นเลยก็ได้
  2. เด็กนักเรียนอีกคนที่สอบได้ลำดับสุดท้ายของห้อง ซึ่งเคยสอบได้ลำดับที่ อยู่ในเกณฑ์กลางๆ ของห้อง หรือในลำดับท้ายๆ ของห้อง สลับสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละภาคการศึกษา ในแต่ละปีการศึกษา เด็กนักเรียนคนนี้กลับใช้ชีวิตอยู่ปกติสุขดีกับเพื่อนร่วมชั้น กับครู กับเพื่อนในโรงเรียน กับครอบครัวอย่างสนุกสนาน ร่าเริง และทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อีกมากมาย และก็สามารถสอบผ่านการเลื่อนชั้นได้ทุกๆ ปี อาจมีซ่อมผลการเรียนอยู่บ้างประปราย แต่ก็เอาตัวรอดได้เสมอ นักเรียนคนนี้ ถึงแม้สอบได้ในลำดับท้ายๆ หรือลำดับสุดท้ายของห้องมาตลอด ก็ไม่เคยมีความรู้สึกถึงความอับอาย ไม่รู้สึกเสียรังวัด ไม่รู้สึกเสียชื่อเสียง ไม่รู้สึกเสียเครดิต ไม่รู้สึกเสียความภาคภูมิใจอะไรๆ เลย ทั้งไม่เคยมีความรู้สึกคิดอยากหลบลี้หนีผู้คนไปให้ไกลๆ หรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายเข้ามาในหัวเลยแม้สักครั้งเดียว นั่นเป็นเพราะว่า นักเรียนคนนั้น เขาไม่ได้สร้างความรู้สึกว่าชีวิตของเขาต้องเกิดมาเพื่อเป็นที่ 1 เท่านั้น ไม่ได้เกิดมาเพื่อต้องการเป็นผู้ชนะเท่านั้น ไม่ได้เกิดมาเพื่อความสำเร็จเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่เขาได้ใช้ชีวิตในลักษณะที่แตกต่าง หลากหลาย และได้เรียนรู้ ได้รับรู้ถึงความรู้สึกและประสบการณ์ในทุกรูปแบบของกระบวนการความรู้สึกที่หลากหลายและแตกต่างมาบ้างแล้ว เขาจึงมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า มีความเข้มแข็งกว่านักเรียนในข้อ 1 นั่นเอง

ที่กล่าวอย่างนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเห็นดีเห็นงามกับนักเรียนคนที่ 2 ว่า ขอให้ทุกคนไม่ต้องใช้ความพยายามในการเรียน ไม่ต้องตั้งใจเรียน หรือขอให้ทุกคนจงทำตัวเกกมะเหรกเกเรไปวันๆ หรือไม่เอาถ่านอะไรสักอย่าง แบบนั้นก็ไม่ใช่ แต่นักเรียนคนที่ 2 คนนี้ ได้ใช้พยายามในการเรียนอย่างเต็มความสามารถแล้วนั่นเอง ส่วนผลจะออกมาอย่างไร ลำดับที่สอบได้จะได้ลำดับที่เท่าไรก็ตาม ก็ไม่สามารถจะทำร้ายจิตใจของนักเรียนคนที่ 2 นี้ได้เลย

ดังนั้น การมองในสิ่งๆ เดียวกัน ในสถานการณ์อย่างเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน ของแต่ละคนจึงมีมุมมองของเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความคาดหวัง ขึ้นอยู่กับการตั้งโหมดของความคิดและทัศนคติของเราอย่างไรมากกว่า เราทุกคนจึงต้องระมัดระวังในเรื่องการมองโลกและชีวิตให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ตรงกับคำพระในทางพระพุทธศาสนาที่ว่า “ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง” เมื่อทำได้อย่างนี้ สิ่งแวดล้อมภายนอกจะไม่สามารถทำร้ายเราได้ หรือหากจะทำร้ายเราได้ ก็ไม่สามารถทำร้ายเราได้ตลอดเวลา นั่นจึงเป็นที่มาของคำที่ว่า :

“มองต่างมุม”

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น