pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

รดน้ำศพทำไม ?

โดย : แพรวพราว ดอท คอม

คติความเชื่อที่ยึดถือกันมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคนไทยพุทธ หรือคนไทยผู้นับถือพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่ ในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตลง ก่อนที่จะได้นำร่างอันไร้วิญญาณของผู้เสียชีวิตไปบำเพ็ญกุศลในส่วนของขั้นตอนใด ก่อนอื่น ก็จะต้องกำหนดให้มีการรดน้ำศพก่อนเป็นอันดับแรก ในวันแรกที่เสียชีวิต หรือในวันแรกที่ได้รับอนุญาติจากโรงพยาบาลนำศพออกจากโรงพยาบาล

ในกรณีเสียชีวิตในระหว่างการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล หากเป็นชาวบ้านร้านตลาดทั่วไป ก็นิยมเปิดโอกาสให้ลูกหลาน ญาติพี่น้อง คนที่รู้จักคุ้นเคย หรือคนที่เคารพนับถือกันร่วมกันร่วมรดน้ำศพก่อน และเชิญประธานในพิธีซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตให้ความเคารพนับถือ มาเป็นประธานในพิธีรดน้ำศพ

แต่ถ้าหากว่าเป็นข้าราชการ หรือบุคคลสำคัญที่ทำงานสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติบ้านเมืองมาโดยตลอด เมื่อเสียชีวิตหรือถึงแก่กรรมลง เมื่อหน่วยงานต้นสังกัดหรือทายาทของผู้เสียชีวิตได้ทราบถึงข่าวการเสียชีวิต ก็จะยื่นแบบฟอร์มขอรับพระราชทานเพลิงศพหรือดินฝังศพ ณ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ในส่วนของกรุงเทพมหานคร สำหรับในส่วนของต่างจังหวัดก็สามารถยื่นแบบฟอร์มขอรับพระราชทานเพลิงศพหรือดินฝังศพได้ ณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด

ซึ่งในกรณีนี้ ก็จะหมายรวมไปถึงการขอรับพระราชทานเครื่องระกอบเกียรติยศศพ น้ำหลวงอาบศพ กล่องเพลิงพระราชทาน หรือกล่องดินพระราชทานด้วย ถ้าหากหน่วยงานต้นสังกัดหรือทายาทที่ยื่นแบบฟอร์มขอรับพระราชทานเพลิงศพหรือดินฟังศพ มีความประสงค์จะขอรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพด้วย ก็จะกำหนดให้มีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพด้วย ซึ่งมีระเบียบปฏิบัติที่เหมือนกันกับพิธีรดน้ำศพแบบทั่วไป ต่างแต่จะต้องมีข้าราชชั้นผู้ใหญ่ พระเถระผู้ใหญ่ หรือบุคคลสำคัญในชุมชน ในอำเภอ ในจังหวัด หรือในระดับประเทศเป็นประธานในพิธี หากประธานในพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพเป็นข้าราชการ ให้แต่งชุดปกติขาวไว้ทุกข์เข้าร่วมพิธี จากนั้น เจ้าหน้าที่จากกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน กระทรวงวัฒนธรรม จะเป็นผู้ปฏิบัติหรือแนะนำวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ (ในกรณีที่ไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง หรือไม่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์)

แต่ในบทความนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นให้ทราบถึงระเบียบวิธีการหรือขั้นต้อนการปฏิบัติพิธีรดน้ำศพ หรือพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพโดยละเอียดแต่อย่างใด แต่มุ่งเน้นให้ทราบถึงความมุ่งหมาย ปริศนาธรรมที่ซ่อนอยู่ และประโยชน์ที่ผู้ร่วมพิธีจะพึงได้รับเป็นความรู้จากการเข้าร่วมพิธีดังกล่าวเป็นสำคัญ

สำหรับพิธีรดน้ำศพ (ของชาวบ้านทั่วไป) หรือ พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ (ในกรณีศพที่ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทาน) นั้น หลายๆ ท่าน อาจเคยสงสัยว่า ทำไมต้องมีพิธีรดน้ำศพหรือพิธีอาบน้ำศพ พิธีนี้ทำแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไรกับศพผู้เสียชีวิต และมีประโยชน์อย่างไรกับผู้ร่วมในพิธี ในบทความนี้ผู้เขียนขอเสนอประโยชน์ที่จะพึงได้รับจากการพิธีรดน้ำศพหรือพิธีอาบน้ำศพ สรุปเป็น 3 อ. ดังนี้

1. อโหสิ การรดน้ำศพ-อาบน้ำศพ เป็นกิริยาที่แสดงออกถึงการชำระล้าง ทำความสะอาด หมายความว่า เป็นการขอขมาลาโทษ ประหนึ่งว่า สิ่งอันใดที่เคยเป็นข้อประมาทพลาดพลั้ง ขุ่นข้องหมองใจ เคยละเมิดล่วงเกินต่อกัน จนเกิดเป็นความไม่พอใจ เกิดความขัดเคืองใจ เกิดความไม่สบายใจ ยังติดอยู่ในความรู้สึกและความทรงอันใดก็ตาม ระหว่างผู้ตายและตัวผู้ร่วมพิธีรดน้ำศพ ก็ขอให้เป็นอโหสิกรรม เลิกแล้วต่อกัน ไม่เกิดเป็นเวรเป็นภัยต่อกันไปจนถึงภพภูมิหน้า ไม่ก่อให้เกิดวิบากกรรมแก่กันและกันทั้งสองฝ่าย ให้กรรมที่ไม่ดีที่เคยได้ประมาทพลาดพลั้ง ทั้งเจตนาและไม่เจตนา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง จงถูกชำระให้สะอาดหมดจดไปพร้อมกับน้ำที่เจือด้วยของหอมและกลีบดอกไม้นี้ อย่าได้ก่อเกิดเป็นกรรมเวรต่อกันอีกเลย

2. อธิษฐาน การรดน้ำศพ-อาบน้ำศพ ถือเป็นโอกาสอันสำคัญให้บุตรหลาน สามี ภรรยา พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง และบุคคลผู้เป็นที่รักยิ่งผู้ซึ่งอยู่เบื้องหลังทั้งมวล ได้อธิษฐานจิต อธิษฐานใจ ตั้งความปรารถนาในชาติหน้าฉันใดในสัมปรายภพ ขอให้ได้มีบุญได้เกิดมาเป็นบุตรหลาน เป็นสามี ภรรยา เป็นพ่อ แม่ เป็นปู่ ย่า ตา ยาย เป็นญาติพี่น้อง เป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นเพื่อบ้าน และเกิดมาพบเจอกันอีกในทุกๆ ชาติไป

แต่ในทางกลับกลับกัน หากผู้ตายไม่ได้เป็นที่รักของผู้ที่มีชีวิตอยู่ คอยแต่จะเบียดเบียน ทำร้าย ก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่คนรอบข้างและผู้อื่นอยู่เสมอ ๆ ผู้ที่ไปร่วมในงานรดน้ำศพ-อาบน้ำศพ ก็อธิษฐานจิต อธิษฐานใจเช่นเดียวกัน แต่จะอธิษฐานว่า ขอให้ภพชาตินี้เป็นภพชาติสุดท้ายที่จะได้เกิดมาเจอะมาเจอกัน เกิดชาติหน้าฉันใด ก็ขออย่าได้เกิดมาพบมาเจอกันอีกเลย แล้วก็อธิษฐานจิตรดน้ำอโหสิกรรมให้แก่ศพผู้เสียชีวิต (แบบนี้ก็สามารถอธิษฐานได้ เพราะก็เป็นสิทธิ์ของเราเช่นกันที่สามารถนึกคิดอะไรในใจได้ แต่อย่านึกคิดเสียงดังไปนะครับ เพราะในช่วงเวลาอย่างนี้ การให้เกียรติผู้ตาย- เห็นใจคนอยู่สำคัญมากยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดครับ)

3. อุทิศส่วนกุศล ในพิธีรดน้ำศพ-อาบน้ำศพ ถือเป็นโอกาสสำคัญในการบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศไปให้แก่ผู้เสียชีวิต โดยมีคติความเชื่อในหมู่ชาวพุทธว่า นอกจากบุญกุศลที่ผู้วายชนม์ได้บำเพ็ญก่อมาด้วยตนเองเป็นส่วนตนแล้ว ญาติพี่น้อง คนผู้อยู่เบื้องหลังของผู้เสียชีวิต ยังสามารถทำบุญอุทิศไปให้กับผู้ตายได้อีกทางหนึ่งด้วย เพราะหลังจากพิธีรดน้ำศพ-อาบน้ำศพเสร็จแล้ว ก็จะมีพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพ หรือสวดมาติกา-บังสุกุล (แล้วแต่ความนิยมของวัดและชุมชนในพื้นที่นั้นๆ ต่อเนื่องกันไป หรือยกยอดไปสวดในช่วงเย็นของวันนั้นก็มี)

ในขั้นตอนของพิธีรดน้ำศพ-อาบน้ำศพนี้ ก็อาจกล่าวแต่เพียงในใจถึงความตั้งใจที่จะทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ตาย โดยมีความปรารถนาให้ผู้ตายไปสู่สุคติในสัมปรายภพ มีความสุขในทิพยวิมาน ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้าให้ผู้ตายได้รับแต่สิ่งที่เป็นความสุขในภาพหน้า แม้จะจากโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันหวนกลับมาอีกแล้วก็ตาม

รวมความแล้ว ทั้ง 3 อ. อันได้แก่

1) อโหสิ

2) อธิษฐาน

3) อุทิศส่วนกุศล

ถือเป็นหลักใหญ่ใจความสำคัญที่เป็นประโยชน์ เป็นวัตถุประสงค์และสาระสำคัญที่ควรยึดถือปฏิบัติสำหรับพิธีรดน้ำศพ-อาบน้ำศพ เมื่อเราไปร่วมในพิธีดังกล่าวนี้แล้ว จะได้ทราบถึงความมุ่งหมายที่แท้จริงของพิธีอันสำคัญนี้

หรืออย่างน้อยที่สุดก็ทำให้เราได้มีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่า เราจัดให้มีพิธีรดน้ำศพ-อาบน้ำศพให้กับผู้เสียชีวิตหรือไม่ ด้วยเหตุผลอันใด เมื่อทำแล้ว ทั้งผู้เสียชีวิตและผู้ร่วมพิธีจะได้รับประโยชน์อย่างไร และก่อให้เกิดองค์ความรู้-จรรโลงปัญญาได้อย่างไรบ้าง ก็น่าจะดีกว่าไม่รู่ว่าทำไปทำไม ไม่รู้ที่มาที่ไป หรือเพียงแค่ทำตามๆ กันมา ใครพาทำอย่างไรก็ทำ เขาว่าอย่างไรก็ว่าตาม อย่างนี้ก็จะทำให้เราพลาดจากประโยชน์หรือความมุ่งหมายที่แท้จริงของพิธีนี้ไปอย่างน่าเสียดาย…

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น