pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

วัดนี้ไม่ได้มีดีแค่ระฆัง (ตอนที่ 3)

รอบบริเวณวัด ก็น่า…ทัศนา….

หลังจากที่พาท่านผู้อ่านไปชมความใหญ่โตโอ่อ่าและความงดงามของวัดระฆังโฆสิตารามกันในตอนที่ 2 มาบ้างพอสมควรแล้ว คราวนี้จะพาทุกท่านออกมานอกบริเวณกำแพงพระอุโบสถ กลับออกมาผ่านทางซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถเช่นเดิม แต่คราวนี้ ไม่ได้เดินตรงออกไปทางท่าน้ำด้านหน้าของวัดเลยซะทีเดียวอย่างที่ควรจะเป็น

พินิจอลัง…5 ระฆังใบใหญ่

หลังจากก้าวเท้าออกมาพ้นซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ ก็เล็งแลเห็นระฆังใบใหญ่ที่โดดเด่นเป็นสง่า ท้าแดดร้อนเปรี้ยงปร้างของดวงอาทิตย์ช่วงบ่าย ตัวระฆังมีสีทองอร่ามงามแวววับ ประดิษฐานอยู่บันแท่นคล้ายกับเจดีย์หมู่ 5 ฐานเดียวในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ท่าเตียนเปี๊ยบเลย ต่างแต่เป็นองค์ระฆังจำนวน 5 ใบตั้งแทนองค์เจดีย์ ระฆังใบใหญ่สุดตั้งอยู่ตรงกลาง และมีระฆังใบเล็กๆ ประกอบอยู่ที่มุม 4 มุม รวมแล้ว 5 ใบ

เดินเลี้ยวขวาเลียบพระกำแพงแก้วหรือพระระเบียงพระอุโบสถไปเรื่อยๆ ไม่ถึง 200 เมตร ก็มาถึงบริเวณที่ตั้งขององค์ระฆัง

เจดีย์ระฆังหมู่ 5 ฐานเดียว วัดระฆังโฆสิตาราม

แต่ก่อนที่จะไปถึงองค์ระฆัง 5 ใบที่ว่านั้น ก็มองเห็นนักท่องเที่ยวสาวสวย 2 คนกำลังโพสต์ท่าตีระฆังถ่ายรูปคู่กับระฆังอีกใบหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน กับเจดีย์ระฆัง 5 ใบนั้น ก็เลยถือโอกาสกดแช๊ะเก็บภาพมาฝากท่านผู้อ่านด้วย กะว่าให้น้องเค้าถ่ายรูปกันเสร็จแล้ว ก็จะขอไปถ่ายคู่กับระฆังตรงนั้นบ้าง

แต่เห็นน้องเค้ากำลังมีความสุข สนุกอยู่กับการแอ็คค่าถ่ายรูปกันอยู่นานสองนาน ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ก็เลยไม่ได้เข้าไปถ่ายรูปคู่กับระฆังใบนั้นมาฝากท่านผู้อ่านแต่อย่างใด

เดินดุ่มมุ่งไปที่ระฆังสีทอง 5 ใบ ที่ประดิษฐานอยู่ได้อย่างโดดเด่นสะดุดตา แล้วถ่ายภาพมาให้ท่านผู้อ่านได้ชื่นชมหลายภาพอยู่ โดยเฉพาะเมื่อถ่ายระฆังให้เห็นภาพของพระอุโบสถและพระปรางค์เป็นฉากหลังละก็ จะยิ่งเพิ่มความงดงามให้กับภาพได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

ภาพเจดีย์ระฆังมีฉากหลังเป็นพระปรางค์และพระอุโบสถ
ภาพเจดีย์ระฆังมีฉากหลังเป็นพระปรางค์และพระอุโบสถ
ภาพเจดีย์ระฆังมีฉากหลังเป็นพระปรางค์และพระอุโบสถ
ภาพเจดีย์ระฆังมีฉากหลังเป็นโรงเรียนวัดระฆังฯ
ภาพเจดีย์ระฆังมีฉากหลังเป็นโรงเรียนวัดระฆังฯ

อาคารโบราณ

เมื่อถ่ายภาพระฆังจนเป็นที่พออกพอใจแล้วเรียบร้อย มองไปทางด้านซ้ายมือ เห็นมีอาคารหลังหนึ่ง มีขนาดใหญ่มากๆ เกิดความสงสัยอยู่ในใจว่า อาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทยที่มีขนาดใหญ่หลังนี้ มุงหลังคาสีเขียว ไม่มีช่อฟ้าใบระกา แต่ตกแต่งเครื่องลำยองประกอบหน้าบันแบบราชนิยมในรัชกาลที่ 3 คือ นิยมทำเครื่องลำยองและหน้าบันตามแบบศิลปะสถาปัตยกรรมจีน มีลวดลายปูนปั้นประดับหน้าบันงดงาม รูปทรงของอาคารงดงามมีเสน่ห์ พิจารณากรอบหน้าต่าง กรอบประตู ก็ดูมีเชิงชั้นของศิลปะชั้นครู

อาคารก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยรั้วกำแพงที่มีหัวเสาอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

พิจารณาเห็นเสาของอาคารมีความใหญ่โตมโหฬารเป็นอย่างมาก ฐานเสามีขนาดใหญ่และเรียวสอบขึ้นไปข้างบน เป็นเทคนิคการก่อสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนแบบสมัยก่อน ที่ไได้ใช้เหล็กเป็นโครงสร้างหลักในการก่อสร้างอาคาร แต่ก็มีความแข็งแรงคงทนไม่แพ้การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

อาคารที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร และเมื่อพิจารณาดูเทคนิคการสร้าง รูปแบบทางศิลปะแล้ว น่าจะเป็นอาคารที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณแล้ว แต่กลับถูกทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งาน มีสภาพคร่ำค่าไม่ได้รับการบูรณะใช้สอยแต่อย่างใด

สภาพของอาคารตอนนี้ น่าจะมีประโยชน์เป็นเพียงอาคารสำหรับเก็บพัสดุสิ่งของไม่ก่อน ไม่แน่ว่าทางวัดอาจกำลังรอเงินงบประมาณสำหรับการบูรณปฏิสังขรณ์ หรือ รอรับการตรวจสอบ-อนุญาตให้ดำเนินการบูรณะจากกรมศิลปากรอยู่ก็เป็นได้ ต้องรอติดตามข่าวดีในโอกาสต่อไปครับ

มองถัดลงมาจากตัวอาคารเล็กน้อย ก็จะเห็นความงดงามทางเชิงชั้นศิลปะของเสากำแพงโดยรอบตัวอาคาร ที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะ เป็นเสากพแพงที่มีหัวเสาเป็นแบบดอกบัวตูม (หรือเปล่า) ไม่รู้ว่าเค้าเรียกว่อะไรนะ แต่ดูแล้วมีความเรียบ หรู ดูเท่ และมีเสน่ห์เอามากๆ เลยครับ

อาคารก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยรั้วกำแพงที่มีหัวเสาอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

พระธรรมคำสอน ซ่อนอยู่บนผนังกำแพง…

เอาล่ะหลังจากที่ได้พาชื่นชมและเสพศิลปะในวัดระฆังโฆสิตารามกันมาพอประมาณแล้ว หวังว่าคงจะสร้างความประหลาดใจ ประทับใจในความงดงามรวมถึงความยิ่งใหญ่ของวัดกันแล้วพอสมควร

เดินออกมาจากบริเวณดังกล่าวถึงบริเวณหน้าวัด ก่อนที่จะถึงศาลาท่าน้ำหน้าวัด ก็เหลือบไปเห็นตราโรงเรียนวัดระฆัง (ชื่อเต็มว่าโรงเรียนอะไรนะ ลืมสังเกตสังกาให้ดี ในข้อนี้วานผู้รู้โปรดบอกต่อ ชี้แจงแถลงไขได้เลยครับ จะเป็นพระคุณยิ่ง) ซึ่งมีโลโก้โดดเด่นสวยงาม และมีพุทธศาสนสุภาษิตประจำโรงเรียนที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจว่า “วิชฺชา วรํ ธนํ โหติฯ” แปลเป็นภาษาไทยว่า “วิชาเป็นทรัพย์อันประเสริฐ” ซึ่งเป็นความหมายที่ดีมากๆ ซึ่งผู้เขียนน่าจะได้หยิบยกนำมาเขียนเป็นบทความให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามในบทความต่อๆ ไป ในหมวดหมู่ว่าด้วยบทความธรรมะ

ตราโรงเรียนวัดระฆัง มีพุทธศาสนสุภาษิตว่า “วิชฺชา วรํ ธนํ โหติฯ – วิชาเป็นทรัพย์อันประเสริฐ”

ท่าน้ำวัดระฆังฯ

เดินผละออกมาจากบริเวณโลโก้ของโรงเรียนวัดระฆัง เดินตรงมายังท่าน้ำบริเวณด้านหน้าของวัด เพื่อรอนั่งเรือนำเราไปยังจุดหมายต่อไป ซึ่งนั่นก็คือ “วัดอรุณรราชวราราม” หรือ “วัดแจ้ง” นั่นเอง

บริเวณท่าน้ำหน้าวัดระฆังโฆสิตาราม

แต่ก่อนที่จะได้เดินทางพาท่านผู้อ่านออกไปเยี่ยมชมความยิ่งใหญ่และความงามของวัดอรุณราชวรารามนั้น ในระหว่างที่รอต่อเรือไปยังวัดอรุณฯ อยู่นั้น ผู้เขียนได้พิจารณาเห็นบางสิ่งบางอย่างที่น่าสนใจ และน่าหยิบยกนำมาเขียนเป็นข้อคิดสะกิดสะเกาใจ นำเสนอเผื่อเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านได้อีก เชิญติดตามอ่านบทความ “วัดนี้ไม่ได้มีดีแค่ระฆัง ตอนจบ” ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายได้ที่ : https://www.praewprouds.com/2020/12/11/693/

ใส่ความเห็น