pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

วัดอรุณ…ความยิ่งใหญ่งดงามล้ำเลอค่า…เหนือกาลเวลา

มาทำความรู้จักวัดอรุณกันก่อนสักนิด

วัดอรุณ หรือวัดแจ้ง มีชื่อเต็มว่า “วัดอรุณวราราม ราชวรมหาวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงที่มีศักดิ์อันสำคัญและสูงยิ่งกว่าบรรดาพระอารามหลวงทั้งมวลในประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยมีแคเพียง 6 วัดเท่านั้น ซึ่งวัดอรุณวราราม ราชวรมหาวิหาร นี้ ก็นับเป็นหนึ่งในจำนวน 6 วัดนั้นด้วย

นอกจากนั้น วัดอรุณวราราม ราชวรมหาวิหาร ยังเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ จะต้องเสด็จประทับเรือพระที่นั่งในขบวนเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค ไปในการพระราชทานผ้าพระกฐินหลวงเป็นประจำทุกปีอีกด้วย

ต่อจากตอนที่แล้ว

หลังจากที่ผมได้ก้าวเท้าพ้นศาลาท่าน้ำทรงจีนของวัดเข้ามา ได้แลเห็นพระปรางค์วัดอรุณฯ ตั้งตระหง่าน โดดเด่น เป็นสง่า ตัดกับพื้นหญ้าเขียวขจี และหมู่อาคารสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณีที่เรียงรายประดับองค์พระปรางค์ให้แลดูโดดเด่น มีเสน่ห์ และแฝงไปด้วยมนต์ขลังอย่างบอกไม่ถูก

ณ จุดที่ผมกำลังยืนอยู่ ตรงนี้มีต้นมะขามดัดรูปทรงสวยงามประดับด้วยกล้วยไม้เป็นพุ่มกอ ออกดอกอวดโฉมให้นักท่องเที่ยวใด้ชื่นชม ผมเดินออกไปทางซ้ายมือตามพื้นถนนที่ปูด้วยหินแกรนิตเป็นรูปตารางหมากรุก เดินไปเรื่อยจนมาถึงบริเวณที่ตั้งร้านค้าขายของอยู่ซ้ายมือ ส่วนบริเวณขวามือเป็นทางเดินเข้าไปสู่องค์พระปรางค์ เมื่อหันหน้าเข้าไปทางองค์พระปรางค์ก็ก็จะมองเห็นองค์พระปรางค์ตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า มีศาลาทรงไทย 2 หลังตั้งขนาบซุ้มประตูทางเข้าไปชมองค์พระปรางค์

สังเกตเห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากพากันเข้าไปไหว้ ไปถวานสังฆทาน หรือว่ากำลังประกอบพิธีอะไรบางอย่างอยู่ในศาลาทางขวามือ พยายามจะเข้าไปแอบชะเง้อดูก็เห็นไม่ชัด เลยละความพยายาม เพราะอยากขึ้นไปชมความยิ่งใหญ่งดงามขององค์พระปรางค์ของวัดมากกว่า

เดินผ่านเข้าไประหว่างศาลาทั้งสองหลังกระกบกัน มีเว้นเพียงช่องเป็นทางถนนให้เดินผ่านไปชมองค์พระปรางค์เบื้องหน้า ในทิศทางตรงนี้ทำให้มองเห็นองค์พระปรางค์ได้ถนัดตา พยายามเอากล้องโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายอยู่หลายครั้ง แต่มีนายแบบ-นางแบบอยู่หลายคู่ กำลังโพสต์ท่าถ่ายรูปกันไม่มีเว้นระยะ เลยได้แต่ยกกล้องสูงข้ามศีรษะของนายแบบ-และนางแบบเหล่านั้นไป ถ่ายเอามาได้แค่องค์พระปรางค์ดังภาพ

ก่อนที่จะเดินขึ้นไปชื่นชมองค์พระปรางค์ให้สมใจปรารถนา ในใจก็คิดสงสัยว่า “เอ…?? แล้วศาลาสวยๆ ฝั่งที่อยู่ด้านซ้ายมือตรงนี้ เป็นที่ประดิษฐานอะไร มีความสำคัญอย่างไรกันนะ?” เลยเดินไปที่ประตูศาลา แล้วชะเง้อเข้าไปทางช่องประตู่ เห็นเป็นเหมือนองค์พระเจดีย์อะไรสักอย่าง คิดสันนิษฐานในใจว่า น่าจะเป็นที่ประดิษฐานองค์ประบรมสารีริกธาติของพระพุทธเจ้าหรืออย่างไร ด้านบนเหนือยอดเจดีย์มีฉัตรกางกั้นอยู่ น่าจะเป็นสิ่งมงคลสำคัญยิ่งของวัดด้วยเช่นกัน หยิบกล้องมาถ่ายรูป 1 แช๊ะ เก็บภาพความงามของลวดลายขื่อและดาวเพดานภายในศาลา ภาพติดเจดีย์ที่ว่านี้มาด้วยนิดหนึ่งพอให้ได้ลุ้นและสงสัยว่าคืออะไรกันหนอก็พอ

ผละจากศาลาหลังที่ว่านี้ออกมาทางองค์พระปรางค์องค์ใหญ่สูงตระง่านเสียดฟ้า ในใจกะว่าจะรีบวิ่งขึ้นบันไดไปให้ถึงยอดองค์พระปรางค์ในทันที แต่ก็ต้องสะดุดกับความงามของตุ๊กตาหินศิลปะแบบจีนที่ตั้งประดับอยู่สองข้างบันไดทางขึ้นองค์พระปรางค์ เก็บภาพตุ๊กตาหินด้วย เก็บภาพความงามขององค์พระปรางค์จากมุมด้านล่างนี้ด้วย ได้หลายภาพเลย

กะว่าจะขึ้นไปให้สูงที่สุดเท่าที่จะมีแรงปีนขึ้นไปได้ แต่อนิจจา.. ปรากฏว่าทางวัดเค้าปิดกั้นเส้นทางไม่ให้ผ่านขึ้นไปได้ โดยให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปได้ถีงแค่ชั้นที่ 2 ขององค์พระปรางค์เท่านั้น รู้สึกเสียใจและเสียดายอยู่ในที ที่ไม่สามารถเก็บภาพมุมสูงจากบริเวณด้านบนขององค์พระปรางค์ได้ แต่ก็เอาเถอะ ให้ขึ้นได้ถึงแค่ไหนก็แค่นั้น ผมไม่ดื้ออยู่แล้ว

ผมขึ้นไปทางบันไดด้านหน้าองค์พระปรางค์ผ่านทางพระมณฑปซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก (ตรงนี้ไม่ได้ถ่ายรูปเลย) ถัดมาก็รู้สึกตื่นเต้นและประหลาดใจกับคามงดงามของหัวเสาทรงเม็ดมัณฑ์สีแดงที่ผมสันนิษฐานเอาเองว่าน่าจะทำขึ้นมาจากศิลาแลงวางเรียงรายย่อมุมลดหลั่นกันอย่าน่าเอ็นดู

ผมหยิบโทรศัพท์ออกมาถ่ายรูปเอาไว้เป็นหลักฐาน ถ่ายภาพมุมสูงลงไปยังเบื้องล่าง ถ่ายเอาพระปรางค์องค์น้อยๆ ที่เรียงรายเป็นบริวารอยู่ตามมุมขององค์พระปรางค์องค์ใหญ่ จังหวะนี้มีนักท่องเทียวมาถ่ายรูปกันเยอะมากๆ ต้องกะจังหวะให้ดี ไม่งั้นอาจมีกดติดวิญญาณ….

ถ่ายภาพตรงนั้นอยู่พักหนึ่ง ก็เดินวนไปทางด้านหลังขององค์พระปรางค์ ในจังหวะนี้ก็หามุมถ่ายภาพอยู่เป็นระยะๆ เก็บภาพองค์พระปรางค์มาได้ประมาณหนึ่ง

จากนั้นก็ลงมาถึงบันไดขึ้นสุดท้ายด้านหลังองค์พระปรางค์ สายตาเหลือบไปเห็นตุ๊กตาหินรูปลิง ลิงลม หรือว่าชะนีก็ไม่แน่ใจ กำลังอุ้มลูกน้อยเกาะอยู่บริเวณด้านหลังลำตัว แลดูน่ารักน่าเอ็นดูมากๆ ผมหยิบกล้องโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายในทันทีได้หลายภาพ กำลังจะผละเดินจากไป ก็เหลือบไปเห็นตุ๊กตาแบบเดียวกันเป๊ะเลยอยู่ทางด้านซ้ายมืออีก ก็หยิบโทรศัพท์มาถ่ายด้วยเช่นเดียวกัน แล้วจึงเดินจากไป

ในระหว่างทาง แลเห็นศาลาราย ซึ่งมีรูปทรงและหน้าบันที่งดงามมากๆ ถ่ายภาพเก็บไว้หนึ่งภาพเป็นหลักฐาน เดินออกทางขวามือ ผ่านพระวิหารที่มีความสวยงามมากๆ อีกหลังหนึ่ง ภายในมีเสาขนาดใหญ่ตั้งค้ำเรียงราย ลวดลายประดับเสานั้นสุดแสนวิจิตร ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานซึ่งมีพระพุทธลักษณะงดงามมากๆ อยู่ภายใน

ด้านหลังองค์ประพุทธปฏิมาประธานมีภาพจิตรกรรมฝาผนังลายดอกไม้ร่วง และภาพพระฉัพพรรณรังสีประกอบกัน เบื้องบนเพดานและขื่อมีลวดลายประดับงดงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลวดลายดาวเพดานและโคมไฟประดับภายในพระวิหาร สังเกตที่ซุ้มประตูมีงานดอกไม้เครื่องแขวนไทยประดับอยู่ ดูช่างงดงามลงตัวยิ่งนัก

ถัดจากพระวิหารนั้นมา แลเห็นพระมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง รูปทรงแปลกตา แต่ยังคงมีความวิจิตรงดงามไม่ต่างจากอาคารสถาปัตยกรรมหลังอื่นๆ และที่สำคัญ พระมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองแห่งนี้นั้น ประดับประดาด้วยไม้ประดับแบบไทยหลากหลายสายพันธ์ุ ราวกับว่าพระมณฑปนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุฉะนั้น

ด้านหลังพระวิหาร เยื้องๆ กับพระมณฑป ปรากฏให้เห็นหอระฆังที่มีรูปลักษณ์ ทรวดทรงสันฐาน และลักษณะทางสถาปัตยกรรมไทยที่มีความงดงามเป็นอย่างมาก ่มีจำนวนถึง 2 หลัง ตั้งอวดโฉมแย่งซีนกัน

แต่ผิดที่ผมเองไม่สามารถถ่ายภาพออกมาอวดให้ท่านผู้อ่านได้ยลโฉมอย่างชัดเจนและสวยงามได้ เพราะค่อนข้างจะย้อนแสงมากพอสมควร พยายามถ่ายหลากหลายมุมก็แล้ว แต่หน้าจอโทรศัพท์ก็แล้ว สรุปว่า ถ่ายออกมาได้สวยสุดแค่นี้จริงๆ ก็ต้องขอประทานอภัยท่านผู้อ่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย มีโอกาส และมีกล้องดีๆ จะขอแก้ตัวไปเก็บภาพสวยๆ มากฝากอีก

ถัดจากพระมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทก็เป็นพระอุโบสถ อันเป็นศาสนสถานอันสำคัญยิ่งของวัด ซึ่งก่อนที่ผมจะได้เข้าไปยังบริเวณด้านในพระอุโบสถนั้น ต้องผ่านพระระเบียงคตเข้าไปก่อน ภายในพระระเบียงคดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามลงรักปิดทองงดงามเสมอเหมือนกันทุกองค์ ประดิษฐานเรียงรายสุดลูกหูลูกตาตลอดแนวพระวิหารคด ซึ่งแต่ละองค์นั้นจะประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีอันวิจิตรงดงาม และฉากหลังของพระพุทธปฏิมาแต่ละองค์นั้น เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนเป็นภาพสีลายดอกไม้ร่วงบนพื้นเหลืองสดใส

ถัดมามีตุ๊กตาหินศิลปะแบบจีน ซึ่งมีชนาด ลักษณะ รูปร่าง เพศ และอิริยาบถที่แตกต่างกันออกไปตั้งเรียงรายอยู่เป็นถ่องแถว ตลอดแนวรูปสี่เหลี่ยมล้อมรอบองค์พระอุโบสถ จะมีเว้นไว้ก็เห็นแต่จำเพาะบริเวณทางเข้ามาจากซุ้มประตูระเบียงคดทั้ง 4 ด้านโดยรอบพระอุโบสถเท่านั้น

ถัดเข้ามาอีกตามการวางแนวของซุ้มใบเสมารอบพระอุโบสถ ก็ปรากฏมีการตั้งตุ๊กตาหินลายสิงฆ์โตจีนวางเรียงรายเป็นกำแพงอยู่โดยรอบพระอุโบสถ เว้นไว้เพียงช่องให้เดินผ่านเข้าไปที่บริเวณบันไดทางขึ้นพระอุโบสถเท่านั้น

ซุ้มเสมาบริเวณโดยรอบพระอุโบสถสร้างด้วยหินอ่อนสีออกทางชมพูอมแดงขลิบน้ำตาล คล้ายกันกับหัวเสาบริเวณกำแพงแล้วรอบองค์พระพุทธบาทสระบุรี ประดิษฐานใบเสมาลายสลักจำนวน 2 ใบ วางประกบกันตามแบบนิยมของพระอารามหลวงสำคัญที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ยอดซุ้มเสมาสร้างเป็นทรงเจดีย์เครื่องยอด รูปทรงซุ้มเสมาเป็นแบบย่อมุมไม้สิบสอง แกะสลักเป็นรูปทรงและลวดลายให้องค์ซุ้มเสมามีความงดงามวิจิตรลงตัวยิ่งนัก

ถัดมาเป็นบันไดทางขึ้นพระอุโบสถ ที่สะดุดตาที่สุดเห็นจะเป็นหัวเสาบันไดข้างบนที่แกาะสลักด้วยหินแกรนิตสีเขียว แกะเป็นทรงกลม หัวเสาเป็นลักษณะแบบหัวเสาทรงเม็ดมัณฑ์ทรงสูงแหลม แต่แกะเป็นทรงกลมไม่ได้ย่อมุมไม้สิบสองแต่อย่างใด ทำให้ดูยิ่งใหญ่ และมีเสน่ห์ เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอยู่มากทีเดียว

ถ้ดเข้ามาอีก ก็จะเห็นความอลังการของต้นเสาพะไลหรือเสาพาไลค้ำตัวอาคารพระอุโบสถด้านนอกที่มีความใหญ่โต วิจิตรอลังการมากๆ นี้เฉพาะแค่ฐานของเสาพระอุโสถก็ยังมีความวิจิตรงดงามถึงเพียงนี้ องค์ประกอบอย่างอื่นๆ ในพระอุโบสถก็เป็นอันไม่ต้องจินตนาการกันเลยทีเดียว

เสาพระอุโบสถประดับลวดลายเครื่องเคลือบเป็นลายดอกไม้ร่วง ประดับเป็นระยะ เว้นจังหวะได้สวยงามตลอดทั้งเสา และลวดลายเครื่องเคลือดลายดอกไม้ร่วงนี้ ยังได้ถูกนำมาใช้ประดับประดาตลอดทั้งผนังภายนอกพระอุโบสถอีกด้วย

ราวบันใดพระอุโบสถเป็นรูปพญานาคคู่หรือหากจะพินิจดูอีกทีก็คล้ายๆ กับตัวมังกรหรือตัวมกรจับลูกแล้วบนฐานดอกบัว เพราะเห็นมีเท้าประกอบด้วย แลดูมีความสวยงามอ่อนช้อยและเข้มแข็งดุดันอยู่ในที

บริเวณด้านหน้าพระอะโบสถระหว่างบันไดทางขึ้นพระอุโบสถชั้นที่ 2 มีซุ้มบุษบกทรงปราสาทยอดพระปรางค์ ประดิษฐาพระพุทธนฤมิตร พระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามญาติ ปางยกพระหัตถ์ทั้งสอบขึ้นมาเสมอพระอุระและเหยียดฝ่าพระหัตถ์ขึ้นตั้งตรงตั้งฉากกับพื้นไปทางด้านหน้า

ซุ้มบุษบกทรงปราสาทยอดพระปรางค์ด้านหลังพระอุโบสถ ประดิษฐานพานพุ่มเทียนบนพานทองสองชั้น

สำหรับซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถทั้ง 2 ฝั่ง ก็สร้างเป็นซุ้มทรงปราสาทวิจิตรพิสดาร มีเครื่องยอดเป็นพระปรางค์เช่นเดียวกัน

พระพุทธรูปที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามนี้ มีชื่อว่า “พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก” ซึ่งว่ากันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธรูปด้วยพระองค์เอง เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามมากๆ และบริเวณผ้าทิพย์รูปครุฑพ่าห์เหนือยอดพัดยศนั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 2 ด้วย

ผมเองมีบุญได้เข้าไปกราบองค์พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ ให้หลวงพ่อที่ท่านนั่งคอยรับญาติโยมอยู่ภายในพระอุโบสถผูกด้ายสีเหลืองที่แขนข้างขวาให้ ได้ยินท่านบริกรรมคาถาก่อนผูกและขณะผูกด้ายให้ ล้วนแล้วแต่เป็นถ้อยคำที่เป็นมงคลยิ่ง

กราบลาท่านแล้ว เดินออกมายืนชิดติดกับผนังพระอุโบสถด้านหน้าพระพุทธฏิมาประธาน หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายรูปจิตรกรรมฝาผนัง และพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ แล้วก็เดินออกมาสวมรองเท้า เดินผ่านไปทางซุ้มประตูทรงมงกุฎด้านหน้าพระอุโบสถ ตรงนี้ผมได้กดถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปสิงห์โตหรืออะไรก็ไม่แน่ใจ บริเวณประตูรูปทวารบาล

เดินออกมาผ่านซุ้มประตูทรงมงกุฎแล้ว ก็จะเห็นยักษ์สองตนยืนเด่นทำหน้าดุอยู่สองฝั่งของซุ้มประตู่ เก็บภาพเป็นที่ระลึกได้พอสมควร

เดินผ่านบริเวณอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ยกมือน้อมไหว้อนุสาวรีย์พระองค์ท่าน 1 ครั้ง เก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก แล้วเดินไปรอขึ้นเรือ ณ จุดเดิม บริเวณศาลาทรงจีน บริเวณท่าน้ำหน้าวัดอรุณ

ในระหว่างที่รอเรือมารับ ก็ได้ถือโอกาสถ่ายรูปดอกกล้วยไม้ที่โคนต้นมะขามไว้เป็นที่ระลึก และเป็นของฝากให้กับท่านผู้อ่านได้พอประมาณ เรือก็มาถึง

เสียงประกาศเรียกนักท่องเที่ยวให้ลงเรือด้วยโทรโข่งจากพนักงานคนเดิม ดังแว่วขึ้นหนักกว่าเดิมอีก เป็นสัญญาณให้ทราบว่าจะต้องจากวัดอรุณฯ ลงเรือจากไปแล้วอย่างแน่แท้

เดินผ่านซุ้มศาลาทรงจีนไปขึ้นเรือลำเดิมที่วนกลับมารับที่ท่าน้ำวัดอรุณฯ ออกเดินทางมุ่งไปสู่วัดกัลยาณ์ต่อ

พอเรือแล่นพามาถึงท่าน้ำหน้าวัดกัลยาณ์ ผมไม่ได้ขึ้นฝั่งไปวัดกัลยาณ์พร้อมกับนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ เพราะดูเวลาก็เริ่มบ่ายมากแล้ว ก็เลยนั่งอยู่ในเรือ รอให้นักท่องเที่ยวกลุ่มที่รอลงเรือที่ท่าน้ำวัดกัลยาณ์ลงมาในเรือหมดทุกคนแล้ว คนขับเรือก็พาพวกเราตีหัวเรือย้อนกลับไปทางเดิม ผ่านวัดอรุณฯ กองทัพเรือ และมาขึ้นฝั่งที่วัดระฆังโฆสิตารามเหมือนเดิน

คราวนี้ไม่ได้แวะที่ไหนเลย เดินผ่านตามช่องทางที่เป็นตรอกซอกซอยเพื่อทะลุไปยังตลาดวังหลัง แวะซื้อขนมครก 20 บาท ไว้กินระหว่างทาง

เดินเบียดเสียดเยียดยัดกับผู้คนมากหน้าหลายตาผ่านมาถึงบริเวณท่าน้ำวังหลัง นั่งรอเรือข้ามฟากอยู่สักพัก เรือก็มาถึง

ผมก้าวเท่าเดินดุ่มลงไปที่เรือข้ามฟากไปท่าพระจันทร์พร้อมกับผู้คนอีกมากมาย จนเรือข้ามฟากพาเรามาถึงท่าพระจันทร์ เรือจอดสนิทดีแล้วก็เดินขึ้นฝั่งท่าพระจันทร์ผ่านช่องทางขายตั๋วฝั่งซ้ายมือสุด เสียเงินค่าเรือ 3.50 บาท

เดินตรงไปโบกรถแท็กซี่สีเขียวคันหนึ่งให้ไปส่งกลับยังที่พัก ในระหว่างทางก็ได้คุยเรื่องสัพเพเหระกับคุณลุงคนขับแท็กซี่ไปเรื่อย จนกระทั่งมาถึงจุดหมายปลายทาง

นี่เป็นการเดินทางออกไปท่องกรุง ในแบบฉบับของตัวเองเป็นครั้งแรก ที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ และความประทับใจให้กับเราไปอีกนานแสนนาน

“วัดอรุณ…ควายิ่งใหญ่งดงามล้ำเลอค่า…เหนือกาลเวลา”

ใส่ความเห็น