pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

วางตัวดี

ในพระพุทธศาสนา มีคำสอนที่ว่าด้วยสิ่งที่เป็นมงคลสูงสุดในชีวิตอยู่ข้อหนึ่ง คือ “อัตตะสัมมาปะณิธิ” หรือ “การวางตนไว้ชอบ” หรือ “การวางตัวได้ดี” เป็นหนึ่งในบรรดามงคลทั้ง 38 ประการ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายเนื้อหาสาระของมงคลสูตรที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อย่างละเอียอดลออ

แท้จริงแล้ว การรู้จักวางตัวดี วางตัวให้เหมาะสมกับฐานะและบทบาทหน้าที่ของตนเอง ถือว่าเป็นมงคลอย่างสูงสุดข้อหนึ่งในชีวิต ที่ผู้ปรารถนาความสุขและความเจริญในชีวิต พึงขวนขวายปฏิบัติให้บังเกิดมีขึ้นในตนเอง และเพื่อช่วยจรรโลงสังคมให้มีความงดงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความเคารพรักให้เกียรติกันตามวัยวุฒิ คุณวุฒิ บทบาท หน้าที่ และฐานะทางสังคม

ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะเนื้อหาสาระโดยสังเขป โดยการสรุปวิธีการวางตัวต่อผู้คนในสังคม 3 ระดับด้วยกัน อันได้แก่

1. ผู้ที่สูงกว่าเรา จงเคารพ

2. ผู้ที่เสมอเรา จงให้เกียรติ

3. ผู้ที่ต่ำกว่าเรา จงเมตตา

ในสังคมมนุษย์ของเรา เมื่อแบ่งระดับของบุคคลเป็นประเภทใหญ่ๆ แล้ว จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน อันได้แก่

1) ผู้ที่อยู่ในบทบาทหรือฐานะที่สูงกว่าเรา จงให้ความเคารพ ไม่ว่าคนๆ นั้นจะมีคุณสมบัติด้านวัยวุฒิที่สูงกว่าเรา หรือว่ามีคุณวุฒิที่สูงกว่าเราก็ตาม เราก็ควรให้ความเคารพยำเกรง เพราะผู้ที่มีวัยวุฒิมากกว่าเรา คือ ผู้หลักผู้ใหญ่ผู้เป็นรัตตัญญู คือเกิดมาก่อนเรา มีประสบการณ์ผ่านโลกมามากกว่าเรา ย่อมเป็นผู้ที่เราควรให้ความเคารพ ยำเกรง ไม่ควรกระด้างกระเดื่องต่อคำสอนของท่าน หรือดื้อรั้น แสดงพฤติกรรมในเชิงตีเสมอ หรือว่าดูหมิ่น ดูแคลน ลบหลู่ท่านเด็ดขาด

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เกิดมาก่อนเรา มีอายุอานามมากกว่าเรา มีประสบการณ์มากกว่าเรา จะเป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ น่าเกรงใจ มีความเป็นบัณฑิต มีความเป็นสุภาพชนมากไปกว่าคนอื่นๆ ไปเสียทุกคน สำหรับผู้ใหญ่บางคนก็มีความประพฤติ มีแนวคิด และทัศนคติที่ย่ำแย่กว่าคนที่เกิดมาในรุ่นราวคราวลูกหลาานเสียอีก เข้าทำนองที่ว่า “แก้เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน” หรือ “แก่กะโหลกกะลา” คนแบบนี้ ถึงแม้จะมีอายุมากกว่า มีประสบการณ์มากกว่า แต่ก็หาได้จรรโลงสังคมให้น่าอยู่หรือมีประโยชน์ต่อสังคมแต่อย่างใดไม่ ซ้ำร้าย รังแต่จะก่อเรื่องที่ไม่ดีไม่งาม เบียดเบียนทำร้ายคนอื่น ประพฤติตนเป็นปัญหาสังคมไปเสียเองก็มี คนแบบนี้ ก็ต้องบอกว่าไม่น่ารัก ไม่น่าเคารถและไม่น่าศรัทธาเอาเสียเลย

สำหรับบางคน แม้ว่าจะไม่ได้เจริญด้วยวัยวุฒิ คือมีอายุยังไม่มากมายอะไรนัก นับว่าเกิดในรุ่นราวคราวน้องนุ่งและลูกหลานด้วยซ้ำ ซ้ำยังอ่อนด้อยด้วยประสบการณ์ในโลกนี้ แต่ว่ามีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจรรยาบรรณ และสร้างประโยชน์ใหักับสังคมโลกใบนี้มากกว่าคนในรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือมากกว่าคนในรุ่นพี่ พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยายด้วยซ้ำ คนแบบนี้ เรียกว่ามีความเจริญด้วยวัยวุฒิ สมควรได้รับการยกย่อง ยอมรับ เทิดทูน บูชา

แต่คนที่มีความรู้ความสามารถบางคน ถึงแม้ว่าจะมีคุณวุฒิสูงส่ง ด้วยการศึกษา ด้วยประสบการณ์ความรู้ และด้วยการฝึกปรือตนในด้านต่างๆ เพื่อให้ตนเองมีองค์ความรู้ในหลากหลายสาขาอาชีพมากมายสักเพียงใดก็ตาม แต่เป็นคนที่ไร้คุณธรรม จริยธรรม ในทางตรงกันข้าม กลับนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้ศึกษาร่ำเรียนมานั้น ไปเป็นเครื่องเบียดเบียนทำร้าย เอารัดเอาเปรียบคนอื่นด้วยวิธีการต่างๆ คนแบบนี้ก็ไม่น่าจะได้รับการเคารพบูชาจากใครเลย ซ้ำยังจะต้องได้รับการติฉินนินทา และน่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไปอีกด้วย

2) ผู้ที่อยู่ในบทบาทหรือฐานะเสมอกันกับเรา จงให้เกียรติ เพราะคนที่ให้เกียรติคนอื่น ย่อมได้รับการให้เกียรติตอบกลับมา ดังนั้น คนที่มีวัยวุฒิเสมอกัน หรือเท่ากันกับเรา มีประสบการณ์การใช้ชีวิตพอๆ กันกับเรา เราก็ควรให้เกียรติกัน ไม่ควรไปดูหมิ่นหรือทำลายเกียรติกัน

การให้เกียรตินั้น ก็หมายถึง การยอมรับในความเหมือนและความแตกต่างของกันและกัน การยอมรับในความเชื่อ ความชอบ ความคิดเห็นและทัศนคติของกันและกันในฐานะที่เป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านต่างๆ ในระดับเดียวกัน หรืออยู่ในระดับพอๆ กัน ก็ควรให้เกียรติกัน ไม่แสดงอาการดูหมิ่นเหยียดหยามกันจนกระทั่งแลดูเป็นการไม่ให้ราคาหรือด้อยคุณค่าไป หรือในทางตรงกันข้าม ก็ไม่ควรยกย่องเชิดชูจนดูเกินงาม เกินบทบาทฐานะที่จะพึงกระทำต่อกัน จนกลายเป็นการประจบสอพลอ หรือ ยกย่องเกินเหตุจนดูไม่เหมาะสม จนแลดูไม่เป็นการสมควรไปเสีย

คนที่อยู่ในรุ่นราวคราววัยเดียวกัน หรือมีประสบการณ์ความรู้ความสามารถในระดับเดียวกัน มีระดับวุฒิการศึกษาในระดับเดียวกัน ก็พึงคบหากันด้วยการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ถึงจะเป็นการเหมาะสมมากกว่ายกยอปอปั้นจนเกินเหตุ หรือไปดูถูก เหยียดหยาม หมิ่นประมาทซึ่งกันและกัน

3) ผู้ที่อยู่ในบทบาทหรือฐานะต่ำกว่าเรา จงเมตตาต่อเขา สำหรับคนที่อายุน้อยกว่าเรา หรือมีระดับการศึกษา ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่น้อยกว่าเรา เราก็ควรปฏิบัติต่อเขาเหล่านั้นด้วยความมีเมตตาเป็นที่ตั้ง

ไม่ว่าผู้น้อยจะประพฤติปฏิบัติตน หรือแสดงออกต่อเราในทางยกย่องเชิดชู เคารพยำเกรง หรือจะประพฤติตนเป็นการตีตนเสมอท่าน ตีเสมอ คุยโวโอ้อวด ดูถูก ดูแคลน ดูหมิ่น สบประมาทเราอย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เราเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ก็ควรประพฤติตน หรือวางตนกับผู้น้อยด้วยความเมตตา

ทำอย่างไรถึงจะเรียกว่า ประพฤติปฏิบัติตนต่อผู้น้อยด้วยความเมตตา ตอบว่า การไม่ถือโทษโกรธเคืองผู้น้อยแม้ผู้ที่ประพฤติตนตีเสมอ อวดเบ่ง ข่มเหง ดูถูก ดูหมิ่นเราต่างๆ นานา แต่ให้หาโอกาสได้ตักเตือน กล่าวสอน เมื่อมีโอกาส เพื่อให้เขาได้ตั้งระลึกสำนึกได้ และประพฤติตนให้เหมาะสมกับฐานะของตน เพื่อความเจริญก้าวหน้าต่อไป

หากไม่สามารถที่จะตักเตือน หรือกล่าวสอนใดๆ ได้ เพราะความถือดี หรือความดื้อรั้นของผู้น้อยเหล่านั้น ก็ให้ตั้งจิตประกอบด้วยเมตตา ปรารถนาดีต่อเขาเหล่านั้น โดยไม่คิดถือโทษ โกรธแค้น ผูกอาฆาต หรือจองเวรจองกรรมต่อกัน ให้มองว่า สัตว์โลกมีกรรมเป็นของๆ ตน เขาประพฤติเช่นไร ก็คงต้องได้รับผลเช่นนั้น

ในทางตรงกันข้าม หากผู้น้อยแสดงตนให้ความเคารพยำเกรงกับเราในฐานะที่เราเป็นผู้ใหญ่กว่า เป็นผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ และมีคุณธรรมมากกว่า แล้วประพฤติตนอ่อนน้อมต่อเรา เชื่อฟังคำแนะนำสั่งสอนของเราแล้วน้อมนำเอาไปปฏิบัติ จนบังเกิดเป็นความสุขความเจริญในชีวิต เราเองในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่กว่า ก็ควรตั้งจิตประกอบด้วยเมตตาเป็นที่ตั้ง ยินดีกับความสุขความสำเร็จและความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตของเขาเหล่านี้นดุจเดียวกัน

เมื่อผู้ใหญ่ตั้งจิตประกอบด้วยเมตตา และประพฤติตนได้แบบนี้แล้ว ก็ย่อมเป็นผู้ใหญ่ที่ควรได้รับการเคารพ ยำเกรง ได้รับการเชิดชูบูชาจากคนอื่นอย่างแน่นอน

ดังนั้น คนเราควรตั้งตนไว้ให้เหมาะสมกับบทบาท ฐานะ และหน้าที่ของตนเอง ตามสมควรแก่วัยวุฒิและคุณวุฒิที่พึงกระทำต่อกัน จึงจะบังเกิดผลเป็นมงคลอันสูงสุดในชีวิต สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง – การตั้งตนไว้ชอบ นี้ถือเป็นมงคลอันสูงสุดในชีวิต” ซึ่งมีหลักการพอสรุปใจความให้ทุกท่านสามารถนำไปท่องจำให้ขึันใจ และทำความเข้าใจได้อย่างง่ายๆ ว่า

1. ผู้ที่สูงกว่าเรา จงเคารพ

2. ผู้ที่เสมอเรา จงให้เกียรติ

3. ผู้ที่ต่ำกว่าเรา จงเมตตา

สวัสดีครับ

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น