pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

หนักนิดเบาหน่อย

หนักนิดเบาหน่อย ก็ปล่อยไปบ้าง (นะ ?)

หนักนิดเบาหน่อย หากต้องการสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับชีวิตของเราอย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไร ก็คงต้องหัดท่องคำว่าา “หนักนิดเบาหน่อย” ไว้ให้ขึ้นใจ และนำมาปฏิบัติในชีวิตจริงให้ได้ด้วย แล้วผลลัพธ์แห่งความสุขก็คงจะเกิดขึ้นภายในจิตใจของเราได้อย่างง่ายๆ เพราะเรื่องของ “ความผิดพลาด” นั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ในทุกสถานที่ ในทุกเรื่องราว แม้กระทั่งเรื่องที่เคยทำจนคุ้นชินเป็นนิสัย ก็อาจเกิดความผิดพลาดได้ด้วยเช่นกัน นับประสาอะไรกับเรื่องที่ยังใหม่และยังไม่คุ้นเคยสำหรับเราท่านทั้งหลาย เหมือนคำพังเพยโบราณท่านกล่าวไว้ว่า

“สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง”

คำพังเพยนี้ ยืนยันการันตีได้เป็นอย่างดีว่า “ทุกคนมีโอกาสที่จะทำ “ผิด” “พลาด” “บกพร่อง” ได้ด้วยกันทั้งนั้น

หากจะพิจารณาโดยเนื้อหาสาระและประโยชน์แล้ว หากความผิดพลาดบกพร่องนั้นเกิดจากความไม่เจตนา หรือด้วยอำนาจแห่งความพลั้งเผลอสติไปบ้าง ก็ควรจะให้อภัยและมองข้ามความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ นั้นไปเสีย

ทางออกก็คือ พยายามเฟ้นหา มองหาแต่สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ถูก สิ่งที่ควรของกันและกัน อย่ามัวแต่เฝ้ามองจับผิดกันและกันอยู่เลย เพราะแม้แต่เราเองผู้กำลังกระทำการเฝ้าสังเกตพฤติการณ์เพื่อจับผิดผู้อื่น ก็อาจกลายเป็นผู้ที่กำลังทำผิด ทำพลาด ทำบกพร่องเสียเองก็เป็นได้

ในยามที่เรากระทำ หรือพูดผิดพลาด บกพร่องไป “ตัวเราเอง” ยังหวังในใจลึกๆ ว่า “อยากให้คนอื่นมองข้ามไป หรือให้อภัยแก่เรา”

ในทางตรงกันข้าม เมื่อมีผู้ใดก็ตาม ที่เขาอาจจะเผลอไผลทำผิดพลาด บกพร่อง อย่างใดอย่างหนึ่งไป ตัวเราเองก็ควรจะเตรียมกาย เตรียมใจให้พร้อมเสมอ ที่จะให้ “อภัย” หรือ “มองข้าม” สิ่งผิดพลาด บกพร่องอันนั้นไป

เพราะ “อภัยทาน” เป็นการให้ที่มีผลานิสงส์แรง มีอานิสงส์มาก และก่อให้เกิดความ “สุขกาย” “สุขใจ” ทั้ง ๒ ฝ่าย อันหมายถึง ทั้ง “ผู้ให้อภัย” และ “ผู้ที่ได้รับการให้อภัย”

ในส่วนของผู้ที่ได้รับการให้อภัยเอง ก็ควรสำนึกสำเหนียกอยู่เสมอว่า เมื่อเราได้รับการให้อภัยแล้ว ก็ไม่พึงกระทำความผิดพลาดอันนั้นซ้ำซาก จำเจจนกลายเป็นบุคคลผู้น่าอิดหนาระอาใจ

หากแต่ต้องปรับปรุงตัวเองให้ดียิ่งขึ้นๆ ไม่พึงทำผิดซ้ำๆ โดยเฉพาะในเรื่องเดิมๆ เพราะหาไม่แล้ว เราก็จะเป็นคนไม่มีพัฒนาการ ไร้ค่าในสังคมอย่างแท้จริง

คนที่ได้รับการให้อภัยจากคนอื่นแล้ว ควรประพฤติตนให้สมควรแก่การเป็นผู้ได้รับการให้อภัยและได้รับโอกาส สมกับบทกลอนที่โบราณาจารย์ท่านประพันธ์ไว้ได้อย่างไพเราะและกินใจว่า

“ตนเตือนตนของตนให้พ้นผิด

ตนเตือนจิตของตนได้ใครจะเหมือน

ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน

ตนแชเชื่อนถึงใครเตือนก็ป่วยการ”

ดังนั้น ในบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันในสังคมโลกมนุษย์ จำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีทั้ง “ผู้ให้อภัย” และ “ผู้รับการให้อภัย”

เพื่อที่สังคมนี้ จะเดินต่อไปได้อย่างไร้ความขุ่นข้องหมองใจ อันจะนำไปสู่ “ความขัดแย้ง” จากวงแคบๆ ไปสู่วงกว้าง จนยากเกินกว่าจะเยียวยาได้

หนักนิด….เบาหน่อย….ควรปล่อยผ่านไปบ้าง……แล้วจิตของเราจะว่าง เบาสบาย คลายความทุกข์

เพราะไม่มีใครในโลกมนุษย์ที่หนาไปด้วยกิเลสและตัณหาอย่างเราๆ ท่านๆ จะไม่เคยทำผิดพลาด กำลังทำผิดพลาด และก็รับประกันไม่ได้ว่าในอนาคตที่จะถึงข้างหน้านี้ เราจะมั่นใจได้อย่างแน่นอนว่าเราจะไม่ทำผิดพลาดอะไรเลย

เอาใจเขา….มาใส่ใจเรา….หนักนิด…เบาหน่อย ค่อยๆ ปล่อยๆ ค่อยๆ วาง ค่อยๆ มองข้ามไปบ้าง หากมันจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ ก็เป็นสิ่งที่เราท่านทั้งหลายจะพึงกระทำ …. มิใช่หรือ…???

ใส่ความเห็น