pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

อยู่เป็น

โดย : แพรวพราว ดอท คอม

ไหลตามน้ำ ลู่ตามลม ไม่ข่มคน ไม่ขัดใคร อยู่ที่ไหนก็ปลอดภัย อยู่กับใครก็ไร้ศัตรู

คติธรรม – เพจ บ. เรืองวิเศษ

ในสังคมแห่งการอยู่ร่วมกัน จำเป็นที่จะต้องมีการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ไม่มีใครที่จะอยู่ลำพังโดยตัวเองได้ โดยปราศจากการพึ่งพาอาศัยคนอื่น บางคนอาจจะมีความคิดขัดแย้งขึ้นมาในใจว่า

“ปัจจุบันนี้ก็ช่วยเหลือตัวเองอยู่แล้วทุกวิถีทาง ไม่เห็นจะมีใครหยิบยื่นมือเข้ามาช่วยอะไรเลย เงินทอง ข้าวของ เครื่องใช้ ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน เสื้อผ้าอาภรณ์ ฉันก็จัดก็หามาเองทั้งนั้น ใช้แรงกาย แรงใจ ความรู้ ความสามารถส่วนตัว ทุ่มเท เสียสละ ดิ้นรน หามาเองทั้งนั้น เพราะสังคมปัจจุบันนี้ เป็นสังคมเห็นแก่ตัว ใครดีใครได้ มือใครยาวสาวได้สาวเอา เป็นสังคมแห่งการแก่งแย่งชิงดี เป็นสังคมแห่งการแข่งขัน การที่จะรอให้คนยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ โดยไม่คิดค่าตอบแทนใดๆ ก็ไม่ได้มีเกิดขึ้นให้ได้เห็นกันบ่อยๆ นักในชีวิตจริงๆ ของคนในสังคมปัจจุบัน”

ถึงกระนั้นก็เถอะ ตราบใดที่มนุษย์เรายังคงได้ชื่อว่าเป็นสัตว์สังคม ไม่สามารถที่จะอยู่โดยลำพังตัวเองได้ จำเป็นอยู่เองที่จะต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่น หากไม่โดยทางตรงก็โดยทางอ้อมอยู่ดี

ในการอยู่ร่วมกันของคนเราในครอบครัว ในชุมชน ในหมู่บ้าน ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัด ในประเทศชาติ ในโลก และในจักรวาล ต้องมีกฎกติกาการอยู่ร่วมกัน มีกฎหมาย มีระเบียบ มีข้อบังคับ มีจารีต มีประเพณี ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าดีและมีประโยชน์ ก่อให้เกิดความสงบสุข และประกอบด้วยหลักศีลธรรมอันดีของการอยู่ร่วมกัน เป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมนั้นๆ บัญญัติขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้การอยู่ร่วมกันของคนในสังคม เป็นไปอย่างเรียบร้อยปกติสุข เราเองในฐานะเป็นเพียงสมาชิกเล็กๆ คนหนึ่งในสังคมก็พึงให้การยอมรับและปฏิบัติตาม หาไม่แล้วก็ไม่อาจจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกนในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข หรือจำต้องย้ายตัวเองตัดขาดจากสังคมไปเลยก็มี

การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัว การทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมงาน กับหัวหน้า กับเจ้าของหน่วยงาน เจ้าขององค์กร เจ้าของกิจการ เจ้าของห้างร้านหรือบริษัท การใช้รถใช้ถนนร่วมกับผู้ขับขี่คนอื่นๆ การใช้ประโยชน์สาธารณะร่วมกันกับผู้อื่น การใช้ประโยชน์จากระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณร่วมกับคนอื่นๆ ก็เช่นกัน เหล่านี้ทั้งหมด ล้วนแล้วแต่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นทั้งสิ้น

การปฏิสัมพันธ์

“การปฏิสัมพันธ์ร่วมกับคนอื่น” มีความหมายได้ใน 2 นัย ได้แก่

1. การปฏิสัมพันธ์เชิงบวก

การปฏิสัมพันธ์เชิงบวก หมายถึง การเข้าไปมีส่วนร่วม การเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับคนอื่นในทางที่ดี ก่อให้เกิดการยอมรับ ก่อให้เกิดการสร้างประโยชน์ร่วมกัน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับผลประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ร่วมกัน เกิดการเรียนรู้และยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ประนีประนอมกัน รักใคร่ กลมเกลียว สามัคคีกัน เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ฯลฯ แบบนี้เรียกว่า “การปฏิสัมพันธ์เชิงบวก”

2. การปฏิสัมพันธ์เชิงลบ

การปฏิสัมพันธ์เชิงลบ หมายถึง การเข้าไปมีส่วนร่วม การเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับคนอื่นในทางที่ไม่ดี ในทางที่แย่ ในทางที่ไม่สร้างสรรค์ ในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมา ก่อให้เกิดการขัดผลประโยชน์ระหว่างกัน ก่อให้เกิดการปฏิเสธการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ก่อให้เกิการปฏิเสธการรับฟังและปฏิเสธความคิดเห็นระหว่างกัน มีการข่มขู่ ขัดขวง เอารัดเอาเปรียบ ชิงไหวชิงพริบ ขัดแย้ง ไม่ลงรอยกัน แตกแยกความสามัคคีกัน คิดอาฆาตปองร้าย มุ่งร้ายต่อกัน ฯลฯ แบบนี้เรียกว่า “การปฏิสัมพันธ์เชิงลบ” ซึ่งต้องบอกเลยว่า การปฏิสัมพันธ์เชิงลบในข้อ 2 นี้ เป็นการปฏิสัมพันธ์ที่นำไปสู่การจัดแตกแยก แตกร้าว และการล่มสลายของระบบความสัมพันธ์ของมวลมนุษยชาติ ในฐานะที่เป็นสัตว์สังคมและในฐานะที่เป็นพลเมืองโลก ในที่สุดก็จะนำไปสู่ภาวะของการก่อสงคราม การทำร้ายทำลาย การประหัตประหารซึ่งกันและกัน นำมาซึ่งความสูญเสียอยากยากที่จะกู้ฟื้นคืนกลับมาได้อีก

ในบทความนี้ จะขอกล่าวถึง “การปฎิสัมพันธ์ในเชิงบวก” ซึ่งโดยปกติแล้ว การอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคมทั้งในอดีตที่ผ่านมา และในปัจจุบัน รวมถึงในอนาคตด้วย ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถสร้างการปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกนี้ขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย เพราะบางทีอาจมองว่าเป็นการประจบประแจง เป็นการเสแสร้งแกล้งทำ เป็นการหน้าไหว้หลังหลอก เป็นการแสดงออกถึงความไม่จริงใจ หรือสารพัดคำพูดที่จะนำมากล่าวตำหนิติเตียนวิธีการเช่นนี้ เพราะวิธีการสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ คนในวงการรับรู้ เข้าใจ และเรียกกันติดปากว่า “อยู่เป็น”

แท้จริงแล้ว ในชีวิตของคนเราที่ต้องเจอะเจอผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างอายุ ต่างเพศ ต่างวัย ต่างการศึกษา ต่างระดับชั้นทางสังคม ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ต่างถิ่นที่มา ฯลฯ

การจะอยู่ร่วมกันโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างกัน หรือลดปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างกันให้ได้มากที่สุด คงเป็นเพียงวิธีการเดียวที่จะเอาตัวเองให้รอดไปได้ คงเป็นวิธีการเดียวที่จะนำพาผู้คนและสังคมนั้นๆ ให้อยู่รอดได้ และคงเป็นวิธีการเดียวอีกเช่นกัน ที่จะทำให้นำพาองค์กร สังคม ชุมชน ประเทศชาติ โลก และจักรวาลนี้ให้อยู่รอดได้ นั่นก็คือ ต้องรู้จักมีและใช้กลยุทธ์ของสิ่งที่เรียกว่า “อยู่เป็น” ให้ได้

หากแต่ว่า “การอยู่เป็น” ก็ไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ โดยปราศจากเหตุผลและวิธีการที่หนักแน่นมารองรับ ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้แบบลอยๆ หรือเกิดขึ้นมาได้เองโดยอัตโนมัติ แต่มีความจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องมีกลวิธีและวิธีการที่แยบยล เพื่อจะสร้าง “การปฏิสัมพันธ์เชิงบวก” ให้เกิดขึ้นในสังคมแห่งมวลมนุษยชาติได้ ซึ่งวิธีการสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกที่จะขอนำเสนอในบทความนี้ ได้แก่

1. ไหลตามน้ำ

ไหลตามน้ำ หมายความว่า การรู้จักพิจารณาดูทีท่าของผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจเหนือเรา ผู้คุมกฎ ผู้ที่มีอิทธิพลเหนือเรา ผู้บังคับบัญชาของเรา ผู้ที่สามารถให้คุณหรือให้โทษแก่เรา ว่าพูดจาในลักษณะทำนองใด มีความมุ่งหมายหรือประสงค์ต้องการให้งานหรือสิ่งที่สั่งการนั้นออกมาในลักษณะใด ต้องตีความให้ออก แล้วปฏิบัติไปตามนั้น อย่าได้ขัดใจ หรือโต้แย้งให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจ ถึงแม้ว่าบางครั้ง สิ่งที่สั่งการ หรือความเห็นที่ได้รับฟังนั้น อาจจะขัดกับความรู้สึกของเราอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย แต่ก็ต้องไม่ไปสดงออกถึงความขัดข้อง ขัดแย้ง หรือขัดใจโดยประการทั้งปวงออกมาทั้งทางภาษากายและภาษาคำพูด ให้เลือกฉลาดพอที่จะทำตามไปก่อน ไม่เอาเรือไปขวางทางน้ำ ดูกระแสการไหบของน้ำ และให้ไหลไปตามน้ำก่อน

ทั้งนี้ ก็เพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโทษกับตัวเราเอง เพราะหากพิจารณาวัดกำลังกันแล้ว ไม่ว่าจะในทางใด เราก็เสียเปรียบไปเสียทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นฐานะ บทบาท ตำแหน่ง หรือความเหนือชั้นอื่นใด อย่างนี้ต้องให้ไหลไปตามน้ำก่อน เพื่อรักษาตัวรอดและลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นจากความคิดเห็นในเชิงโต้แย้งของเราเอง ทำให้เสียบรรยากาศ เพราะถึงแม้ว่าเราจะขัด หรือโต้แย้งด้วยเหตุผลที่ดี ที่สามารรับฟังหรือเข้าใจได้มากมายสักเพียงใดก็ตาม ก็อาจจะไม่เป็นผล ไม่ก่อให้เกิดผลดี ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซ้ำร้าย ยังจะก่อเวรภัยกับเราได้ คิดพิจารณาได้อย่างนี้แล้วก็ “ให้ไหลไปตามน้ำ” ก่อน ซึ่งการไหลไปตามน้ำนี้ ใช้ได้ในกรณีที่เจ้านาย ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอิทธิพลเหนือเรา แสดงความคิดเห็นหรือสั่งการในสถานการณ์ปกติ ไม่ได้เกรี้ยวกราดฉุนเฉียวแต่อย่างใด จึงจะใช้วิธีการ “ไหลไปตามน้ำ” ได้

2. ลู่ตามลม

ลู่ตามลม หมายถึง ในกรณีที่ผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจเหนือเรา ผู้คุมกฎ ผู้มีอิทธิพลเหนือเรา ผู้บังคับบัญชาของเรา ผู้ที่สามารถให้คุณหรือให้โทษเรา เกิดอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด โกรธเคือง หรือพูดจาแบบมีอารมณ์ ก็ให้เรายอมเป็นไผ่ลู่ลม หรือเป็นสนลู่ตามลมไปก่อน เพราะในสถานการณ์เช่นนี้ หากเรามัวแต่พยายามแก้ตัว หรือหาเหตุผลมาแก้ต่างสักเพียงใด ก็ไม่อาจก่อให้เป็นผลดีกับเราได้เลย เพราะลมพายุกำลังพัดแรง จะป่วยกล่าวไปไยถึงการกล่าวคำพูดในเชิงขัดแย้ง โต้แย้ง ทัดทาน ท้าทาย หรือโต้ตอบเล่า เพราะถ้าหากเรากระทำการอย่างนั้น ในสถานการณ์อย่างนั้น นอกจากจะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นมาเลย ก็รังแต่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายขึ้นกว่าเดิมเป็นร้อยเท่าพันทวี ไม่แน่นะครับ จากพายุดีเพรสชั่นธรรมดา ก็อาจกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นหรือไซโคลนได้ในบัดดล

3. ไม่ข่มคน

ไม่ข่มคน หมายความว่า เมื่อเราอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบกว่า เช่น มียศ มีตำแหน่ง มีหน้าที่การงานที่สูงกว่า ดีกว่า มีฐานะดีกว่า ความรู้ความสามารถดีกว่า เรียกว่าเหนือกว่าไปเสียทุกอย่าง แล้วนำเอาความได้เปรียบ หรือความเหนือกว่าของเรานั้น ไปข่มขู่ ไปรังแก ไปเบียดเบียน หรือไปกลั่นแกล้งผู้ที่อ่อนด้อยกว่าเรา หรืออยู่ในฐานะหรือสถานการณ์ที่เสียเปรียบกว่าเรา ด้วยมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างแท้จริง หรือเพื่อผลประโยชน์ขององค์กรและบริษัทตามความเป็นจริงก็ตาม

หรือไม่ว่าจะเป็นเพียงแค่ความสนุกสนาน หรือความสะสาแก่ใจก็ตาม ตลอดถึงเพื่อเบ่งอวดอำนาจบารมีความเหนือชั้นของตนเองก็ตาม ถึงแม้จะสามารถทำได้ แต่ก็ไม่ควรทำ เพราะหาไม่แล้ว ถึงคนจะกลัวเรา แต่ก็ไม่เกรงเรา ไม่เคารพเรา ไม่เห็นค่าเรา ไม่ให้คุณค่า ไม่ให้ราคาแก่เรา ซ้ำร้าย รังแต่จะสร้างความเกลียดชัง การสาปแช่งก่นด่าเราไปทั่วทุกหัวระแหง รอเวลาชำระแค้นเอาคืนก็เท่านั้น เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ก็พึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเช่นนี้เสีย แต่ถ้าหากต้องการให้คนเกลียดชัง คนก่นด่า คนสาปแช่ง หรือคนเอาคืนยามที่เราหมดอำนาจไร้วาสนาแล้ว อันนี้ก็ไม่ว่ากันครับ เชิญได้ตามสบายเลย

4. ไม่ขัดใคร

ไม่ขัดใคร ความหมายในข้อนี้ พิจารณาดูผิวเผินราวกับว่าจะพยายามบอกให้เราเป็นคนไร้จุดยืน ไร้หลักการ เป็นคนหน่อมแน้ม อิดออด เพราะไม่ไปขัดแย้งอะไรกับใครเลย ใครจะว่าอย่างไร จะพูดอะไรก็เห็นดีเห็นงาม อนุมัติตามเสนอ ถูกต้องครับพี่ ดีคับนาย ไปเสียทั้งหมด แบบนี้ก็ไม่ใช่เสียทีเดียว เพราะความหมายที่แท้จริงของข้อนี้ ลึกซึ้งกินความไปถึงกลยุทธ์และศิลปะในการอยู่ร่วมกับคนอื่นขั้นสุดยอดปรมาจารย์เลยก็ว่าได้ เพราะคำว่า “ไม่ขัดใคร” ในที่นี้หมายถึง กลยุทธ์และชั้นเชิงของศิลปะชั้นสูงในการที่จะไม่ไปสร้างความขัดแย้งกับคนอื่นนั่นเอง

เพราะว่า ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เรารับรู้ มีผู้สั่งการ หรือมีผู้นำเสนอมาทั้งหมดนั้น หากเห็นว่าไม่ถูกต้องแต่ขัดไม่ได้เพราะผู้สั่งการเป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือตน ให้คุณให้โทษตนได้อยู่ อย่างนี้ก็ไม่ขัด ถึงแม้ว่าความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่เห็นด้วย 100% หากเห็นว่าไม่ถูกต้อง เราเองไม่เห็นด้วย ถึงแม้ว่าเรามีอำนาจสิทธิ์ขาดที่จะฟันธงลงได้ว่าจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยตามอำนาจที่ชอบธรรมก็ตาม ก็ต้องมีวิธีการใช้วาทศาสตร์และวาทศิลป์อธิบายให้ทราบถึงเหตุผลที่มาที่ไปว่า ทำไมเราถึงไม่อนุมัติ ทำไมเราถึงไม่อนุญาต ทำไมเราถึงไม่เห็นด้วย

ทั้งนี้ รวมถึงบอกกล่าวแนะนำวิธีการแก้ไขปรับปรุง บอกแนะถึงความเป็นไปได้ หรือวิธีการที่ดีกว่าที่ผู้รับฟังคำชี้แนะต้องสามารถทำความเข้าใจ ยินยอมทำตามอย่างเต็มใจ และสร้างความพึงพอใจในเหตุผลนั้นด้วย แล้วให้นำเสนอมาเพื่อขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบใหม่

ดังนั้น สิ่งที่ควรปฏิบัติจึงไม่ใช่เพียงแค่การไม่พูด ไม่บอก ไม่อธิบายถึงเหตุผลอะไรเลย พอใจจะไม่อนุมัติหรือไม่อนุญาต ก็ไม่อนุมัติ ไม่อนุญาต ใครจะทำไม..? แบบนี้เรียกว่า “เป็นผู้นิยมปิดกั้น หรือ ปิดทาง” ใครๆ ก็ไม่อยากจะเสนอ ไม่อยากจะบอกกล่าว ไม่อยากจะคิดสร้างสรรค์หรือคิดงานอะไรให้ เพราะรู้คำตอบอยู่แล้วว่าจักจะ “ไม่อนุมัติ” หรือ “ไม่อนุญาต” อย่างแน่นอน

เมื่อเป็นแบบนี้ คนก็จะคิดว่าไม่อยากเสนอแนะหรือสร้างงาน หรือไม่คิดอยากจะคิดสรรค์ผลงานอะไรออกมานำเสนออีกแล้ว สู้เราอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร หรือรอสั่งการดีกว่า จะได้ไม่เปลืองตัว

จากข้อความข้างต้นนั้น ทำให้เรามักจะเห็นจุดบอดของหน่วยงานหรือองค์กรหลายๆ แห่งว่า มักมีปัญหางานไม่เดิน คนทำงานไม่กล้าคิดงาน และหัวหน้า ผู้บริหาร หรือเจ้าของหน่วยงานหรือองค์กรนั้นก็มักพาลไปโทษคนที่ไม่กล้าคิดงานว่า ไม่มีหัวคิด ไม่รู้จักคิดช่วยเหลือหน่วยงานหรือองค์กร พึ่งพาอาศัยอะไรไม่ได้ เป็นตัวถ่วงความเจริญของหน่วยงานหรือองค์กร และพยายามหาทางกลั่นแกล้งบีบบังคับให้เขาอยู่ไม่ได้ บางคนมีวิธีการดีขึ้นมาหน่อย ก็คือ แนะนำบอกกล่าวว่าเป็นปัญหาอย่างไร แต่ก็ไม่ได้ช่วยชี้แนะแนวทางหรือวิธีการแก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนาอะไรให้บ้างเลย สุดท้าย ก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น ซ้ำร้ายยังจะสร้างความขัดแย้งกับคนอื่น สร้างความไม่พอใจกับคนอื่นได้อยู่เช่นเดิม

ถ้าคนเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกได้ทั้ง 4 อย่างข้างต้นนี้ ระหว่างตนเองและระหว่างผู้อื่น ก็มั่นใจได้ว่าสามารถสร้างมิตรภาพให้เกิดขึ้นได้มากกว่าสร้างศัตรูอย่างแน่นอน อย่างนี้เรียกว่า “อยู่เป็น”

แต่ถ้าหากสร้างปฏิสัมพันธ์ในเชิงลบกับคนอื่นรอบข้าง ก็ให้มั่นใจได้อีกเช่นกันว่า เป็นการสร้างศัตรูคู่แค้น คู่อาฆาต และสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นกับสังคมอย่างแน่นอน 100% ซึ่งในอย่างหลังนี้เรียกว่า “อยู่ไม่เป็น”

ฉะนั้นแล้ว ก็เรียนรู้และบ่มเพาะนิสัยที่จะเลือกให้คนรัก หรือเลือกให้คนเกลียด เลือกที่จะสร้างมิตร หรือเลือกที่จะสร้างศัตรู มีเพียงตัวเราเองเท่านั้นที่สามารถตัดสินใจได้

“ขอมิตรภาพจงเกิดขึ้นกับทุกสังคม”

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น