pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

อยู่ให้รัก จากให้คิดถึง

ในการอยู่ร่วมกับคนอื่น ทำงานร่วมกันกับคนอื่น หรือแม้แต่การปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด อยู่ในตำแหน่งใด ในสิ่งแวดล้อมหรือในสังคมใดก็ตาม การรู้จักวางตัว รู้จักขอบเขตหน้าที่ รู้จักบทบาทที่พึงกระทำ การเว้นระยะห่างระหว่างกัน การรู้จักให้เกียรติผู้อื่น และยอมรับในความคิดเห็นและความแตกต่างของคนอื่นได้ ถือเป็นสิ่งที่พึงกระทำและมีความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก

ดังนั้น ใครก็ตามที่ต้องการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข จำต้องมีหลักปฏิบัติซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการอยู่ร่วมกัน เหมือนกับคำภาษิตที่ว่า “อยู่ให้รัก จากให้คิดถึง” ด้วยหลักปฏิบัติ “4 อย่า, 4 ต้อง” ดังนี้

1. อย่า “หยิ่ง” คือ อย่าสำคัญตัวผิด คิดว่าตนเองสำคัญ สูงส่ง โดดเด่น เก่งเหนือยิ่งกว่าทุกคน เพราะในความเป็นจริงแล้ว การอยู่ร่วมกันในทุกๆ สังคม ไม่มีใครสำคัญกว่าใคร การอยู่ร่วมกันต้องมีการถ้อยทีถ้อยอาศัย พึ่งพาอาศัยกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน ทำหน้าที่คอยสนับสนุนส่งเสริมกันอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถจำแนกแยกออกมาว่าใครเก่งกว่าใครได้

เพราะทุกภารกิจจะสำเร็จได้ด้วยความสมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง ก็เพราะการทำงานที่ประสานสอดคล้องกัน ไม่ว่าะได้รับหน้าที่ไหน หน้าที่ใด ก็ล้วนแล้วแต่เป็นหน้าที่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพียงแต่ว่าทำกันไปคนละบทบาทหน้าที่ ตามที่ตนเองถนัดหรือมีความเชี่ยวชาญชำนาญการ ไม่ได้หมายความว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้จากใครคนใดคนหนึ่งเป็นสำคัญ

ดังนั้น สิ่งสำคัญประการแรกของการอยู่ร่วมกันก็คือ อย่าหยิ่งทะนงตนว่าสำคัญโดดเด่นเก่งกาจเหนือกว่าใครๆ เพราะนั่นหมายถึงทางแห่งความเสื่อม คนที่หยิ่งทะนงตนมากๆ จะขาดโอกาสได้รับการแนะนำหรือการช่วยเหลือจากคนอื่น และทำให้คนๆ นั้น ขาดเสน่ห์ไปอย่างน่าเสียดาย

2. อย่า “หยาม” หลักปฏิบัติอย่างสำคัญประการต่อมาของการอยู่ร่วมกันในสังคมก็คือ อย่าดูถูกดูแคลน อย่างดูหมิ่นเหยียดหยามกัน เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราดูถูกเหยียดหยามคนอื่น ด้วยการเหยียดกันทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา การศึกษา เพศ ผิวพรรณวรรณะ ฐานะทางการเงิน การงาน หรือบทบาททางสังคม เมื่อนั้น ก็จงมั่นใจได้เลยว่า ย่อมจะก่อร่างสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคมการอยู่ร่วมกันอย่างแน่นอน เพราะแน่นอนว่า คนที่ถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้อื่น ย่อมจะเกิดความไม่พอใจ มีความคับแค้นใจ มีความน้อยใจ รู้สึกเป็นปมด้อย และหาทางออกด้วยวิธีการรุนแรงหรือวิธีการที่เหนือความคาดหมายได้

ดังนั้น การอยู่ร่วมกันของผู้คนที่มีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา การศึกษา เพศ ผิวพรรณวรรณะ ฐานะทางการเงิน การงาน หรือบทบาททางสังคม ก็ต้องยอมรับและให้เกียรติซึ่งกันและกัน แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่างระหว่างกัน จึงจะสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างเป็นปรกติสุข

3. อย่า “ยุ่ง” การอยู่ร่วมกันของคนในทุกสังคม จะเป็นไปได้อย่างราบรื่นและเป็นสุข ก็เพราะทุกคนในสังคมต่างคนต่างก็ทำหน้าที่ของตนๆ ไปอย่างสมบูรณ์ดีที่สุด โดยไม่ไปพูดหรือทำอะไร ที่เป็นการสร้างความลำบากใจให้กับคนอื่น การสอดรู้สอดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์ในทางเสียหาย การตำหนินินทา การเบียดเบียนล้ำเส้นคนอื่น หรือไปละเมิดสิทธิของคนอื่น ต้องเรียนรู้ที่จะเคารพ ให้เกียรติคนอื่น สังคมจึงจะน่าอยู่ และสามารถก้าวเดินไปด้วยกันได้อย่างกลมกลืมนและลงตัว

4. อย่า “แย้ง” จริงอยู่ เราไม่สามารถที่จะให้คนทุกคนมีความเห็นในแบบเดียวกับกับเราได้เสียทีเดียว เพราะต่างคนต่างก็มีวิธีการคิด ความเห็น ทัศนคติในการมองโลกและชีวิตที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน ซึ่งก็ไม่สามารถจะบังคับบัญชา หรือกำหนดกะเกณฑ์อะไรให้ได้ดังใจเราไปเสียทั้งหมด

แต่สำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคมหนึ่งๆ นั้น หากมีความประสงค์จะให้เป็นสังคมแห่งความสงบสุขสันติอย่างแท้จริง ต้องการที่จะนำพาสังคมก้าวไปด้วยกัน มีความคิดความเห็นที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน มีวัตถุประสงค์และวิสัยทัศน์ที่จะนำพาให้สังคมเป็นไปในแบบเดียวกัน คนในสังคมนั้นๆ ก็จำเป็นต้องมีความคิดเห็นในแบบเดียวกัน โดยยอมรับในเสียงส่วนมาก พลังของเสียงส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าอาจจะเป็นแนวคิดที่ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันกับแนวทางของเราก็ตาม แต่ถ้าหากมีความประสงค์ที่จะให้สังคมของเราก้าวเดินไปข้างหน้าได้โดยความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ก็จำเป็นยึดถือประโยชน์ส่วนร่วมเป็นสำคัญ

ดังนั้น เมื่อเสียงส่วนใหญ่ตกลงใจหรือมีความเห็นไปในทิศทางใด ถึงแม้จะขัดกับความเห็นส่วนตัวของเรา หรือรู้สึกว่าเป็นแนวความคิดที่ไม่เวิร์คเท่ากับแนวความคิดของเราก็ตาม บางครั้งก็ต้องยอมให้ความคิดเห็นของเสียงส่วนใหญ่นำพาสังคมไป

เพราะบางทีแนวความคิดที่เราคิดว่ามันดีที่สุด ถูกต้อง และเหมาะสมที่สุดแล้ว ในความเป็นจริงอาจไม่ได้เป็นไปตามอย่างที่เราคาดหวังเอาไว้ก็ได้ การยอมรับความคิดเห็นของเสียงส่วนใหญ่ และยอมเป็นผู้ตามที่ดีบ้าง ก็อาจจะสร้างสังคมให้น่าอยู่ขึ้นอีกมากก็ได้

ไม่ควรทำตัวเป็นจรเข้ขวางคลอง หรือเป็นตัวปัญหาที่คอยแต่จะค้าน คอยแต่จะแย้ง คอยแต่จะถล่มความเห็นคนอื่นหรือความเห็นของเสียงส่วนใหญ่อยู่ร่ำไป เพราะนอกจากจะไม่สามารถทำได้สำเร็จแล้ว ก็ยังจะกลายเป็นการฟูมฟักความคิดเห็นในเชิงอัตตาธิปไตยหรือแนวความคิดในเชิงเผด็จให้เกิดขึ้นภายในตัวตนของเราอย่างทันได้ไม่รู้เนื้อรู้ตัวก็อาจเป็นได้

การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมจึงไม่ควรมี 4 ย. อันได้แก่ “หยิ่ง”, “หยาม”, “ยุ่ง” และ “แย้ง” หาไม่แล้ว ก็อาจเป็นการทำลายพลังแห่งความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ ทำลายความสนิทสนมกลมเกลียวกันของผู้คนในสังคมไปได้ในที่สุด

เพราะฉะนั้น การที่อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข นำความสมัครสมานสามัคคีมาสู่ผู้คนในแต่ละสังคมได้ จำเป็นต้องมี 4 ย. อันได้แก่

1 ต้อง “ยิ้ม” รอยยิ้ม เปรียบเสมือนคำเชื้อเชิญแห่งมิตรภาพ เมื่อมีใครสักคนยิ้มให้กับเรา ก็พอจะสื่อความหมายได้ในเบื้องต้นว่า คนๆ นั้น กำลังแสดงออกซึ่งความเป็นมิตรกับเรา มีความรักและความปรารถนาดีต่อเรา

ดังนั้น หากทุกคนล้วนแล้วแต่มีรอยยิ้มอันสดใสส่งให้แก่กันและกัน ก็ย่อมเป็นการประกาศความเป็นองค์กรแห่งมิตรภาพ ที่มีแต่ความรักและความปรารถนาดีต่อกัน สร้างบรรยากาศที่ดีในการอยู่ร่วมกัน สร้างบรรยากาศแห่งความสุข สร้างบรรยากาศแห่งการโอบอ้อมอารี สร้างบรรยากาศแห่งอบอุ่นไปด้วยริ้วรอยแห่งไมตรีจริตระหว่างกัน “รอยยิ้ม” จึงเปรียบเสมือนใบเบิกทางแห่งความสุข ที่ผู้คนจะส่งมอบให้แก่กันและกัน โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรให้มากมาย แต่ผลที่ได้จากการส่งยิ้มเล็กๆ ของเรานั้น กลับกลายเป็นผลกำไรที่มากมายมหาศาลงอกเงยส่งกลับมาให้กับตัวเราและผู้คนในสังคมที่แวดล้อมตัวเราได้อย่างเหนือความคาดหมาย

2. ต้อง “ยก” การอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคมอย่างมีความสุขได้นั้น จำเป็นที่จะต้องรู้จักยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน เผื่อแผ่แบ่งปันความดี แบ่งปันความสุขให้กันและกัน ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน ไม่อิจฉาริษยา อาฆาตมาตรร้ายกัน แต่ต้องเรียนรู้ที่จะสนับสนุนส่งเสริมกันให้ได้ดีโดยทั่วกัน สมกับคำคมที่ว่า “แบ่งกันดี ได้ดีทุกคน แย่งกันดี ไม่ดีสักคน”

3. ต้อง “ยึด” การอยู่ร่วมกัน ต้องยึดหลักความถูกต้อง ยึดหลักความดี ยึดหลักความสามัคคีปรองดองกัน เพราะการจะผูกพันประสานความคิดเห็นของคนเราให้เป็นปึกแผ่นแบบแผนเดียวกันได้นั้น ต้องมีกรอบในการอยู่ร่วมกันเป็นหลักยึด ต้องมีเชื่อมประสานยึดโยงระหว่างกัน ซึ่งนั่นก็คือ หลักของความถูกต้อง ความดี และความสามัคคี

ความถูกต้อง ความดี และความสามัคคี เป็นหลักยึดของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม จะว่าไปแล้ว ทั้ง 3 สิ่งนี้ ว่ากันโดยความหมายก็คือความเป็นธรรม หรือความถูกธรรมนั่นเอง ไม่ใช่ความถูกใจของใครคนใดคนหนึ่ง หรือพวกใดพวกหนึ่ง สิ่งที่จะมาทำหน้าที่เป็นตัววัดความถูกต้องได้นั้นก็คือ สิ่งที่ทำไปแล้วเกิดประโยชน์ ไม่มีโทษ สิ่งที่ทำไปแล้วก่อให้เกิดสันติสุขตามมา ไม่ใช่นำความเดือดร้อนมาให้ สิ่งที่ทำไปแล้ว ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเบียดเบียนรำราญใจให้กับใครๆ แม้กระทั่งกับตัวเราเอง และเป็นสิ่งซึ่งนำมาซึ่งความสมัครสมานสามัคคี กลมเกลียว เป็นน้ำหนึ่งน้ำใจเดียวกันนั่นเอง

4. ต้อง “ย้ำ” หมายถึง ต้องย้ำตัวเองอยู่เสมอในหน้าที่ที่ต้องทำ ตอกย้ำ และตักเตือนตนเองอยู่เสมอว่า เรามีหน้าที่ต้องทำอะไร มีบทบาทหน้าที่อย่างไร หน้าที่ของตัวเราเองมีความเกี่ยวขัองสัมพันธ์กันกับหน้าที่ของคนอื่นอย่างไร ก็พยายามทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ไม่ไปเที่ยวจับผิดคนอื่น หรือไปคุกคามเบียดเบียนหน้าที่ของคนอื่น เข้าทำนองที่ว่า “รู้หน้าที่ ทำหน้าที่ และไม่ก้าวก่ายหน้าที่” หมายถึง เรียนรู้งานในหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจนถ่องแท้ จากนั้นก็ทุ่มเททำงานในหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด และในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ไปก้าวก่ายหน้าที่ของคนอื่นด้วย จึงจะเรียกได้ว่า “ผู้ที่เก่งในหน้าที่”

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับบทความนี้ ซึ่งพยายามนำเสนอเรื่องราวหรือหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข และเป็นหลักการที่จะช่วยกันสร้างสรรค์สังคมให้เป็นสังคมแห่งความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีไมตรีจิตระหว่างกัน เป็นสังคมแห่งความอบอุ่น และสรรค์สร้างสังคมที่น่าอยู่ไปด้วยกัน ตามหลัก “ไม่ 4 ย.” และ “ต้อง 4 ย.” ครับ

ใส่ความเห็น