pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

อ่อนแอก็แพ้ไป

คำว่า “อ่อนแอก็แพ้ไป” คำนี้ คงเป็นคำที่หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินได้ฟังกันจนติดหู เพราะเป็นชื่อและมีในเนื้อเพลงของเพลงดังทั้งไทยสากลและลูกทุ่ง ที่มีเนื้อหาพยายามสื่อว่า สำหรับโลกนี้แล้ว คนที่มีความเข้มแข็งเท่านั้นแหละที่จะเป็นฝ่ายชนะ เป็นฝ่ายได้เปรียบ หรือเป็นฝ่ายที่อยู่รอดได้ เพราะถ้าหากเมื่อใดก็ตามที่เราเริ่มอ่อนแอ ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนแอทางด้านร่างกายหรือจะเป็นความอ่อนแอทางด้านจิตใจก็ตาม นั่นก็หมายความว่าเรากำลังก้าวเดินไปสู่ความ “พ่ายแพ้”

จากข้อความข้างต้น ทำให้ดูเหมือนว่า มุมมองของคนที่แต่งเพลงนี้ หรือเลือกใช้คำพูดนี้ในเพลง หรือแม้กระทั่งในบทสนทนาของคนทั่วไปในสังคมประจำวันก็ตาม พยายามเตือนอยู่กลายๆ ว่า ให้เราทุกคนมีความเข้มแข็ง ไม่ยอมแพ้ ไม่ท้อแท้ พร้อมที่จะสู้ต่อไปเพื่อชัยชนะ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เพื่อให้มีพื้นที่ได้ยืนอยู่ในสังคม บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า “คนที่อ่อนแอกว่า ย่อมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และเสียเปรียบคนอื่นอยู่เสมอ”

พอกล่าวมาถึงตรงนี้ ทำให้ผู้เขียนนึกถึงพระพุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งที่เคยศึกษาผ่านหูผ่านตามา และเมื่อได้พิจารณาถึงเนื้อหาสาระในพระพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้อย่างลึกซึ้งแล้ว ก็ทำให้เห็นความละเอียดลึกซึ้งของความหมายมากยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งพระพุทธศาสนสุภาษิตบทนั้นก็คือ

ปะริภูโต มุทุ โหติ อะติติกโข จะ เวระวา”

ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า

อ่อนแอเกินไปก็ถูกข่มเหง แข็งเกินไปก็มักมีเวรมีภัย (มีคนเกลียด/หมั่นไส้) “

เมื่อพิจารณาจากบทพระพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้อย่างชัดเจนเห็นลึกซึ้งถึงความหมายแล้ว ก็พอจะสรุปใจความได้ว่า นอกจากพระพุทธองค์จะทรงสั่งสอนไม่ให้คนเราทำตัวให้อ่อนแอแล้ว ก็ยังได้ตรัสสอนต่อไปอีกว่า คนเราก็ไม่ควรประพฤติตนเป็นคนแข็งกระด้างมากจนกระทั่งนำเวรก่อภัยมาให้ตนเองและคนบริวารรอบข้าง จนต้องได้เดือดเนื้อร้อนใจ กลายเป็นคนอยู่ที่ไหนก็ไม่เป็นสุข มีแต่ทุกข์เพราะสร้างอริคู่อริไว้มากมายไปทั่วทุกหัวระแหง

เมื่อมาแยกพิจารณาเป็นข้อๆ แล้ว ก็พอสรุปประเด็นคำสอนได้ ดังนี้

1. คนที่อ่อนแอเกินไป มักจะถูกข่มเหง เพราะคนที่ไม่สู้คน คนที่ยอมคนอื่นง่ายๆ คนที่กลัวคนอื่น หวาดระแวงคนอื่น วิตกกังวล หวาดกลัว ขี้ขลาดตาขาว ไม่กล้าหือไม่กล้าอือกับใครๆ คนแบบนี้ เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่กับคนอื่นๆ ในสังคม ก็ย่อมถูกข่มเหงรังแก โดนเหยียดหยาม โดนหยามเกียรติ โดนดูถูก เป็นลูกไล่ให้คนอื่นอยู่ตลอดเวลา ก็เลยทำให้เป็นคนอยู่อย่างไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรี ลดคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่ทัดเทียมกับคนอื่นไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้น คนเราจึงไม่ควรทำตัว หรือทำจิตใจให้อ่อนแอมากจนเกินไป ดูอ่อนต่อโลก หรือดูเหยาะแหยะมากจนเกินไป จนเป็นเหตุให้คนอื่นเอาเปรียบ หรือเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเรา

สิ่งที่จะช่วยให้เราเข้มแข็งหรือมีความแข็งแรงทางความคิด มีความรู้ มีความเข้มแข็งทางร่างกาย มีความเข้มแข็งทางจิตใจ มีการวางตัวให้คนอื่นรู้สึกเกรงใจให้เกียรติ ยอมรับในความรู้ความสามารถ ยอมรับในศักดิ์ศรีของเรา ก็ด้วยการศึกษา การฝึกฝน การวางตัว การปรับตัวเข้ากับผู้คน การเรียนรู้ที่จะอยู่กับผู้คนในสังคมอย่างรู้กฎระเบียบ จารีต และประเพณีทางสังคม อย่างรู้เท่าเอาไว้กัน รู้ทันเอาไว้แก้ ไม่ยอมเป็นลูกไล่หรือเป็นเบี้ยล่างให้ใครมาเอารัดเอาเปรียบ อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ทำได้อย่างนี้แล้ว คนอื่นถึงจะไม่กล้ามาข่มเหงรังแก หรือเอารัดเอาเปรียบเรา ซึ่งพอจะกล่าวสรุปลงได้กับคำคมที่ว่า

จงอ่อนโยน แต่อย่าอ่อนแอ”

2. แข็งเกินไปก็มักมีเวรภัย (มีคนเกลียด หรือ ไม่ชอบขี้หน้าเรา) ถึงแม้ว่าพระพุทธองค์จะตรัสสอนไว้ว่า ไม่ให้ทำตัวอ่อนแอจนเป็นเหตุให้ต้องถูกข่มเหงรังแก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนอื่นก็จริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะตรัสสอนให้ประพฤติตัวเป็นคนแข็งกระด้าง กักขฬะ ประพฤติตนเป็นคนเกกมะเหรกเกเร ทำตัวกร่าง จองหอง อวดดี เบ่ง คุยโตโอ้อวด ระราน ละเมิด รุกล้ำ ข่มเหงรังแก หรือเอารัดเอาเปรียบคนอื่นไปทั่ว

โดยที่แท้แล้ว ทรงสอนให้คนเราควรมีความเข้มแข็งทั้งภายนอกและภายใน หมายถึง เข้มแข็งทั้งด้านร่างกายและจิตใจ กล้าที่จะยืนหยัดยืนยันในความถูกต้องชอบธรรม มีความกล้าหาญไม่เกรงกลัวที่จะต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบธรรม และประพฤติตัวให้เป็นที่น่าเชื่อถือ เชื่อมือ เชื่อใจ เป็นที่ยอมรับนับถือ เป็นที่เกรงอกเกรงใจของคนทั่วไป ไม่ทำอะไรเหยาะแหยะหยุบหยิบหยุมหยิมจนคนอื่นมองเป็นข้อด้อย หรือดูถูก ไม่ให้ราคาไปเสีย อันจะเป็นการลดคุณค่า เกียรติยศ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเราไปอย่างน่าเสียดาย

แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะตรัสสอนให้เป็นคนมีทิฏฐิมานะ ยืนกระต่ายขาเดียว เป็นคนถือเอาแต่ความคิดเห็นและความเชื่อในมุมมองของตนเองเป็นใหญ่ เป็นคนถืออัตตาธิปไตย เชื่อมั่นความรู้ความสามารถ ความคิด ทัศนคติ และมุมมองของตนเป็นใหญ่ ประพฤติตนเป็นคนยกตนข่มท่าน ไม่จักเหตุ ไม่รู้จักผล ไม่รู้จักบทบาทของตนเอง ไม่รู้จักประมาณ ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่รู้จักสังคม ไม่รู้จักบุคคล ว่าใครเป็นใคร ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้หลักผู้ใหญ่หรือผู้น้อย เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ทรงศีล ไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม วางตนใหญ่โต อวดเบ่ง กร่าง ประพฤติตนเป็นคนระรานเก่งกับคนอื่นไปทั่ว ไม่มีทีท่าว่าจะยอมใคร เก่งอยู่คนเดียว เด่นอยู่คนเดียว อย่างนี้เรียกว่าแข็งเกินไป

คนที่แข็งเกินไป พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสสอนเตือนไว้แล้วในบทพระพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้ว่า “คนที่แข็งเกินไป ก็มักมีเวรมีภัย” คือมีแต่คนเกลียด มีแต่คนไม่ชอบขี้หน้า มีแต่คนคอยจะแก้แค้น มีแต่คนที่คอยจะจ้องทำร้ายเอาคืน มีแต่คนก่นด่าสาปแช่ง มีแต่คนตำหนิติฉินนินทาไปทั่ว เพราะฉะนั้น จนมีความเข้มแข็ง แต่อย่าแข็งกระด้าง หรืออวดเบ่งเก่งเกินใครจนชาวบ้านเขารังเกียจเดียดฉันท์ไปทั่วทั้งบ้านทั้งเมือง ต้องทำตัวเข้มแข็งให้ได้ในระดับที่พอดี พอเหมาะ พอควร พองาม ตามคำคำที่ว่า

จงเข้มแข็ง แต่อย่าแข็งกระด้าง”

ดังนั้น ในตอนสุดท้ายของบทความนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ได้ร่วมกันพินิจพิเคราะห์พิจารณาตัวเราเองว่า จัดอยู่ในประเภทคนอ่อนแอ หรือเป็นคนอ่อนโยน, เป็นคนเข้มแข็ง เป็นคนแข็งกระด้างกันแน่

เมื่อพิจารณาเห็นตัวเราเองอย่างชัดแจ้งว่าจัดอยู่ในคนประเภทใดแล้ว ก็พยายามฝึกฝนปรับปรุงความคิด ทัศนคติ และอุปนิสัยของเราให้เป็นไปตามอย่างคำสอนของพระพุทธองค์ให้ประพฤติตนได้พอเหมาะ พอดี ไม่อ่อนแอจนถูกคนข่มเหงรังแก หรือว่าแข็งกระด้างเกินไปจนคนเกลียด สมกับพระพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นกล่าวอ้างในเบื้องต้นนั้นว่า

ปะริภูโต มุทุ โหติ อะติติกโข จะ เวระวา”

อ่อนแอเกินไปก็ถูกข่มเหง แข็งเกินไปก็มักมีเวรมีภัย

(มีคนเกลียดหรือหมั่นไส้) “

สวัสดีครับ….

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น