pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

เปิดวาร์ป !!! 6 วัคซีนที่ WHO รับรองแล้ว

โดย : แพรวพราว ดอท คอม

บทนำ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ Covid-19 ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก ณ ขณะนี้ ได้สร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของผู้คนแบบพังพินาศยากจะฟื้นฟูให้กลับมาดีได้ดังเดิม ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว

ดังนั้น การได้เข้าถึงวัคซีนหรือการได้รับการฉีดวัคซีนอย่างเร่งด่วน จึงเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกมีความปรารถนาอย่างสูงสุด ณ ขณะนี้

การได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึงและทันท่วงทีนี้เอง เป็นวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันจาด Covid-19 ที่ดีที่สุดในตอนนี้ เพราะนอกจาะสามารถระงับยับยั้งการแพร่เชื้อและการติดเชื้อดังกล่าวแล้ว ยังสามารถสร้างความอุ่นใจและความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตของประชากรของแต่ละประเทศ รวมไปถึงประชากรโลกโดยภาพรวมด้วย

แต่ว่า วิธีการที่จะเข้าถึงวัคซีนได้นั้น ก็ปรากฏว่า แต่ละประเทศก็มีความเหลื่อมล้ำกันค่อนข้างสูง ประเทศซึ่งเป็นมหาอำนาจหรือมีความเจริญทางด้านวิทยาการล้ำหน้า ก็สามารถผลิตวัคซีนเพื่อแจกจ่ายให้กับประชากรในประเทศของตนเองได้อย่างพอเพียงและทั่วถึง เหลือจากนั้นก็ทำการจำหน่ายจ่ายแจกให้กับประเทศที่มีความต้องการ หรือประเทศที่เสนอความต้องการวัคซีนเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขอซื้อ หรือไม่ว่าจะเป็นการเสนอขอรับการสนับสนุน (หรือการขอรับการบริจาค/การช่วยเหลือ) ก็ตาม

ส่วนบางประเทศที่ไม่สามารถผลิตวัคซีนเพื่อใช้เป็นภูมิคุ้มกันให้กับประชากรในประเทศของตนได้ หรือสามารถผลิตได้ แต่จำนวนไม่มากเพียงพอสำหรับประชากรในประเทศ ก็ต้องติดต่อเสนอความต้องการไปยังบริษัทผู้ผลิต หรือประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น เพื่อขอรับการช่วยเหลือในกรณีขาดแคลนวัคซีน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ถึงปัจจุบัน (7 มิ.ย. 2564) มีการผลิตวัคซีนออกมาหลากหลายยี่ห้อ จากหลากหลายประเทศ และจากหลากหลายบริษัท ทั้งในอเมริกา ยุโรป อินเดีย และจีน ซึ่งวัคซีนแต่ละยี่ห้อแต่ละชนิดนั้น ก็มีราคาต่อโดส คุณสมบัติ ประสิทธิภาพการป้องกันรักษาโรค Covid-19 สายพันธ์ุดั้งเดิม และสามารถป้องกันรักษาได้แม้กระทั่งโรค Covid-19 ซึ่งกลายพันธุ์แล้ว รวมถึงผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย

ดังนั้น การที่จะตัดสินใจเลือกใช้วัคซีนสักยี่ห้อหรือสักชนิดหนึ่งกับตัวเราเอง และกับคนที่เรารัก จึงต้องมีการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบเสียก่อนว่า วัคซีนและละชนิดนั้นมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร มีผลข้างเคียงเป็นอย่างไร และมีวัคซีนชนิดใด ยี่ห้อใดบ้าง ที่ได้รับการประกาศ อนุมัติ รับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วหรือยัง

วันนี้ แพรวพราว ดอท คอม ในเพจรวมบทความน่าสนใจ จะขออนุญาตนำพาทุกท่านไปเปิดวาร์ป 6 รายชื่อวัคซีน Covid-19 ที่ WHO ประกาศรับรองแล้ว จะมีชนิดใด ยี่ห้อไหนกันบ้าง ไปติดตามกันครับ

ลำดับที่ 1 Pfizer/BioNTech

WHO ประกาศรับรองเมื่อง : 31 ธันวาคม 2563

เรียกได้ว่า Pfizer/BioNTech เป็นวัคซีน Covid-19 ที่ได้รับการประกาศอนุมัติรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นเจ้าแรก จนเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเป็นอย่างมาก เพราะ Pfizer/BioNTech นี้ ถือเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน Covid-19 อยู่ในระดับสูง อีกทั้งผลข้างเคียงหลังจากการรับวัคซีนก็ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นสักเท่าไร จึงนับว่าเป็นวัคซีนที่หลายๆ คนตั้งตารอคอย (อย่างมีความหวัง)

ลำดับที่ 2 Astra Zeneca และ Covishield

WHO ประกาศรับรองเมื่อง : 15 กุมภาพันธ์ 2564

Astra Zeneca

Covishield ประเภทเดียวกันกับ Astra Zeneca แต่ผลิตในอินเดีย

Astra Zeneca และ Covishield เป็นวัคซีนประเภทเดียวกัน ต่างกันเพียง Covishield มีฐานการผลิตในประเทศอินเดีย เป็นวัคซีน Covid-19 ที่ได้รับการประกาศอนุมัติรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นลำดับที่ 2 ต่อจาก Pfizer/BioNTech ถือเป็นวัคซีนที่ได้รับการยอมรับในประสิทธิภาพการป้องกัน Covid-19 อยู่ในระดับที่ดีอีกชนิดหนึ่ง

สำหรับผลข้างเคียงหลังจากการรับวัคซีนก็มีน้อย จึงนับว่าเป็นวัคซีนที่หลายๆ คนตั้งตารอคอย (อย่างมีความหวัง)

Astra Zeneca เป็นวัคซีนทางเลือกที่รัฐบาลไทยตั้งใจจะฉีดให้กับประชาชนชาวไทยกลุ่มแรก ที่จะได้รับวัคซีนต่อจากบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 7 ชนิด รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไปอีกด้วย

แต่ผลจากการลงทะเบียนจองคิวรอรับการฉีดวัคซีน Astra Zeneca ของประชาชนในกลุ่มแรกของประเทศไทย ก็ดูจะมีปัญหาติดๆ ขัดๆ เนื่องจาก Astra Zeneca มาช้ากว่ากำหนดเอาไว้ และมีจำนวนโดสไม่เพียงพอสำหรับประชาชนที่ลงทะเบียนไว้ในกลุ่มแรก ซึ่งทำให้หลายๆ โรงพยาบาลได้ขอเลื่อนการฉีดวัคซีนให้ประชาชนในกลุ่มแรกนี้ออกไปก่อน ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า รัฐบาลไทยจะมีทางออกสำหรับปัญหานี้อย่างไร


ลำดับที่ 3 Johnson & Johnson

WHO ประกาศรับรองเมื่อง : 12 มีนาคม 2564

Johnson & Johnson เป็นวัคซีน Covid-19 ที่ได้รับการประกาศอนุมัติรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นลำดับที่ 3 ต่อจาก Pfizer/BioNTech และ Astra Zeneca/Covishield ถือเป็นวัคซีนที่ได้รับการยอมรับในประสิทธิภาพการป้องกัน Covid-19 อยู่ในระดับที่ดี ตลอดทั้งมีอาการซึ่งผลข้างเคียงหลังจากการรับวัคซีนแล้วค่อนข้างน้อย

อีกทั้งยังมีหมัดเด็ดดึงดูดใจ สำหรับคนกลัวเข็ม ซึ่งไม่ต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนบ่อยๆ เพราะทราบมาว่า Johnson & Johnson นั้น มีประสิทธิภาพต้านไวรัส Covid-19 ได้สูงมากๆ ฉีดเพียงแค่เพียงเข็มเดียวเท่านั้นก็เป็นอันจบสิ้นทุกสิ่งอย่าง ของเค้าดีจริงๆ นะ ขอ บอก…


ลำดับที่ 4 Moderna

WHO ประกาศรับรองเมื่อง : 30 เมษายน 2564

Moderna เป็นวัคซีน Covid-19 ที่ได้รับการประกาศอนุมัติรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นลำดับที่ 4 ต่อจาก Pfizer/BioNTech, Astra Zeneca/Covishield และ Johnson & Johnson ถือเป็นวัคซีนที่ได้รับการยอมรับในประสิทธิภาพการป้องกัน Covid-19 อยู่ในระดับที่ดี มีผลข้างเคียงหลังจากการรับวัคซีนแล้วค่อนข้างน้อย จึงถือว่าเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีอีกชนิดหนึ่ง ที่เมื่อพูดถึงวัคซีน Covid-19 แล้ว ชื่อของ Moderna ก็มักจะปิ๊งขึ้นมาในแทบจะทันที แหม…ของเค้าดีจริงๆ นะ


ลำดับที่ 5 Sinopharm

WHO ประกาศรับรองเมื่อง : 7 พฤษภาคม 2564

Sinopharm เป็นวัคซีน Covid-19 ที่ได้รับการประกาศอนุมัติรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นลำดับที่ 5 ต่อจาก Pfizer/BioNTech, Astra Zeneca/Covishield, Johnson & Johnson และ Moderna ถือเป็นวัคซีนที่ได้รับการยอมรับในประสิทธิภาพการป้องกัน Covid-19 อยู่ในระดับที่ดี มีผลข้างเคียงหลังจากการรับวัคซีนแล้วอยู่บ้าง แต่ก็ค่อนข้างน้อย จึงถือว่าเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีอีกชนิดหนึ่ง

Sinopharm นับเป็นวัคซีนสังกัดค่ายในทวีปเอเชีย (ประเทศจีน) ที่สามารถขึ้นมาผงาดสู้กับวัคซีนชนิดอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค Covid-19 ในระดับโลก และมีขีดความสามารถการแข่งขันได้ในระดับโลก ณ ขณะนี้

ชื่อของ Sinopharm ปรากฏเป็นที่รู้จักและสร้างความฮือฮาในประเทศไทยเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาก็คือข่าวที่ว่า ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้รับอาญาสิทธิ์เป็นเด็ดขาด จากการประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สามารถนำเข้าวัคซีน Sinopharm เข้ามาเป็นอีกหนึ่งวัคซีนทางเลือกในประเทศไทยได้ โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลหรือองค์การเภสัชกรรมในประเทศไทย

แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ไม่ได้นำเข้าวัคซีน Sinopharm มาเพื่อแจกจ่ายให้ฟรีแก่ประชาชนแต่อย่างใด โดยมีตัวแทนของราชวิทยาลัยฯ ออกมาชี้แจงแถลงข่าวบอกให้รู้แต่เพียงว่า จะนำเข้า Sinopharm มาเพื่อจำหน่ายให้กับบุคลากรทางการศึกษา หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่สนใจและเสนอความต้องการเข้ามาซื้อซึ่งทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ก็ยินดีจำหน่ายให้ในราคาโดสละ 1,000 บาท นี่รวมทั้งค่าต้นทุน ค่าขนส่ง ค่าประกันอะไรต่างๆ นานา จิปาถะ สำเร็จเรียบร้อยอยู่ในวงเงินกลมๆ ที่ 1,000 บาท ต่อโดส

ถ้าประชาชนคนไหนมีความปรารถนาจะฉีด ก็ต้องเตรียมเงินไว้ให้เพียงพอ 2,000 บาท ต่อคน เพราะ 1 คน ต้องฉีดคนละ 2 โดส จีงจะมีผลอย่างเต็มประสิทธิภาพแต่ก็ต้องผิดหวังไปตามๆ กัน เพราะได้ข่าวว่า ถึงแม้จะมีเงินมากมายสักเพียงใดก็ตาม ประชาชนคนธรรมดาทั่วไป ก็ไม่สามารถจะ Walk-in เข้าไปจ่ายเงินแล้วได้ฉีดวัคซีนในทันที เพราะต้องเป็นการจำหน่ายหรือเจรจากันระหว่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และตัวแทนของหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ เท่านั้น

รู้อย่างนี้แล้ว ประชาชนคนธรรมดาสามัญแบบเราๆ ท่านๆ ก็คงต้องมองตากันปริบๆ กันต่อไปอีกสักระยะหนึ่งก่อนนะครับ

ลำดับที่ 6 Sinovac

WHO ประกาศรับรองเมื่อง : 1 มิถุนายน 2564

Sinovac เป็นวัคซีน Covid-19 ที่ได้รับการประกาศอนุมัติรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นลำดับที่ 6 เป็นลำดับสุดท้ายในการจัดอันดับครั้งนี้ ต่อจาก Pfizer/BioNTech, Astra Zeneca/Covishield, Johnson & Johnson, Moderna และ Sinopharm

ถือเป็นวัคซีนที่ได้รับการยอมรับในประสิทธิภาพการป้องกัน Covid-19 อยู่ในระดับดีพอสมควร ผลข้างเคียงหลังจากได้รับวัคซีนแล้วอาจมีให้เห็นอยู่บ้าง แต่ก็ต้องบอกว่า มีผลข้างเคียงไม่ได้มากมายเท่าไรนัก เมื่อเทียบกับจำนวนเปอร์เซ็นต์ของผู้รับวัคซีนทั้งหมดแล้ว คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ จากสถิติที่ได้มีการรวบรวมบันทึกไว้ จึงถือเป็นวัคซีนทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่ก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย ในสถานการณ์ที่วัคซีนยังเป็นที่ต้องการสูง และยังมีความขาดแคลนอยู่เช่นนี้

เรียกได้ว่า สิ้นสุดการรอคอย…!!! สำหรับการลุ้นให้ Sinovac ได้รับการประกาศรับรองจาก WHO เสียที ท่ามกลางอาการอกสั่นขวัญแขวนของรัฐบาลไทย ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการสั่งนำเข้าวัคซีน Sinovac จากบริษัทผู้ผลิตในประเทศจีน เข้ามาเป็นวัคซีนตัวหลักสำหรับฉีดให้กับประชาชนคนไทยหลายล้านโดสด้วยกัน เรียกได้ว่า นำเข้ามาให้ได้ปริมาณ 1-2 เท่าของจำนวนประชาชนคนไทย เพราะต้องฉีดวัคซีน Sinovac จำนวนถึง 2 โดสด้วยกัน ต่อคนไทย 1 คน

ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า วัคซีน Sinovac ที่ว่านี้ จะสามารถส่งมอบได้ทันตามจำนวน และตามกำหนดเวลาที่รัฐบาลได้ตกปากรับคำไว้กับประชาชนคนไทยหรือไม่ อย่างไร

แต่อย่างน้อยที่สุด ผู้ที่มีความวิตกกังวลว่าวัคซีน Sinovac จะด้อยประสิทธิภาพ ยังไม่มีความปลอดภัย หรืออาจมีผลข้างเคียงตามมาได้ ก็ยังพออุ่นใจได้ว่า วัคซีน Sinovac ที่รัฐบาลสั่งนำเข้ามาฉีดให้กับประชาชนคนไทยก็มีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง เพราะได้รับการประกาศรับรองขาก WHO เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ถึงแม้ว่าจะได้รับการประกาศรับรองค่อนข้างช้ากว่าวัคซีนยี่ห้ออื่นๆ ก่อนหน้านั้นก็ตาม…

“แพรวด้วยความรู้ พราวด้วยประสบการณ์”

ใส่ความเห็น