pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

ความเหลื่อมล้ำ : มีมากไปใครเสียประโยชน์ ?

ความเหลื่อมล้ำ….ทำให้เศร้า

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศแถวหน้า ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสงคมสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

การถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าชื่นชมยินดีแต่อย่างใด หากแต่เป็นเครื่องชี้วัดให้เห็นว่า ประชากรในประเทศไทยนั้น มีระดับฐานะทางเศรษฐกิจหรือรายได้ต่อหัวห่างชั้นกันอย่างลิบลับ

ที่สำคัญ คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีมากๆ เป็นเพียงชนกลุ่มน้อยในสังคมประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณเพียงแค่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่มีโชควาสนาบารมีได้ถือครองทรัพย์สินและทรัพยาการต่างๆ ในประเทศเทียบเป็นสัดส่วนถึงกว่า 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ของสินทรัพย์หรือทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ ซึ่งคนกลุ่มนี้ เป็นชนชั้นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ การถือครองทรัพย์สินและทรัพยากรภายในประเทศรวมถึงในต่างประเทศสูงมากๆ เรียกว่ามีความรวยในระดับ “เศรษฐี-มหาเศรษฐี” กันเลยทีเดียว

คนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีมากถึง 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ในประเทศ กลับกลายเป็นผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ หรือจเรียกว่าเป็น “คนจน” เลยเสียทีเดียวก็คงไม่ผิดนัก

เชื่อหรือไม่ว่า คนไทยซึ่งมีจำนวนกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดนี้ กลับมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินและทรัพยากรรวมกันแล้วไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของสินทรัพย์และทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ และบางคนก็ไม่มีสิทธิ์แม้กระทั่งการได้เป็นเจ้าของถือครองทรัพย์สินและทรัพยากรใดๆ บนแผ่นดินเกิดของเขาเอง

ความเหลื่อมล้ำยังสามารถแบ่งประเภทออกได้ ดังนี้

  1. ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง
  2. ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
  3. ความเหลื่อมล้ำทางสังคม
  4. (ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา)

ซึ่งในบทความนี้ ขอเน้นไปที่เรื่องของความเหลื่อมล้ำทางระบบเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เพราะระบบเศรษฐกิจคือความอยู่รอดและดัชนีชี้วัดความสุขของผู้คนในสังคม

เพราะเมื่อเศรษฐกิจดี ก็หมายความว่า เป็นผลมาจากทางเมืองดี เป็นผลมาจากสังคมดี และเป็นผลมาจากการศึกษาของผู้คนในสังคมดีแล้วนั่นเอง

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวข้างต้นนั้น นั่นอาจเป็นเพราะ ความประมาท ความเขลา ความอ่อนด้อยประสบการณ์ ความไม่ขยันหมั่นเพียรของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศเอง หรือแท้จริงแล้วเป็นเพราะการถูกเอารัดเอาเปรียบของคนส่วนน้อยเหล่านั้น หรือมันเป็นเพราะระบบการบริหารจัดการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้กับคนในประเทศของรัฐ เกิดมีปัญหา มีจุดอ่อน และเกิดการตีบตันอย่างจงใจก็เป็นไปได้

ทำอย่างไร จึงจะทำให้เส้นแบ่งแห่งความเหลื่อมล้ำของรายได้ การถือครองทรัพย์สิน และทรัพยากรในประเทศไทย จะค่อยๆ ลดระดับและระยะห่างระหว่างกัน จนกลับมาอยู่ในระดับและระยะที่ไม่ทิ้งห่างกันมากเกินไปนัก

รัฐควรให้ความสำคัญ และตัวประชาชนชาวไทยทุกคนเองก็เช่นกัน ควรรีบสร้างความตระหนักรู้ และขวนขวายพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถลืมตาอ้าปากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพื่อสิทธิ์ในความเป็นคนไทยคนหนึ่งจะพึงได้รับ

ถามว่า “ได้รับอะไร” ตอบว่า “ได้รับสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินและทรัพยากรอันเป็นสมบัติส่วนรวมภายในชาติอย่างที่ควรจะเป็น แต่ก็นั่นแหละ ตัวระบบของรัฐเองน่าจะเป็นกลไกสำคัญที่สุดที่จะผลักดันการแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ดีที่สุด…”