pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

เอาใจเขา…มาใส่…”ใจเรา”

” ชายข้าวเปลือก หญิงข้าวสาร โบราณว่า

น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า อัชฌาสัย

เราก็จิต คิดดูเล่า เขาก็ใจ

รักกันไว้ ดีกว่าชัง ระวังการ….”

ความเหมือน (ที่แตกต่าง)

คนเราทุกคนที่เกิดมาในโลกใบนี้ ล้วนแล้วแต่ต้องตกอยู่ในสภาพเดียวกันทั้งสิ้น นั่นคือ ต้องตกอยู่ในฐานะของผู้ที่มีความทุกข์กาย คือ ต้องตกอยู่ในความเกิด เกิดมาเพื่อรับชะตากรรมคือความทุกข์มีประการต่างๆ ที่ยิ้มแป้นอ้าแขนรอรับเราอยู่เบื้องหน้าจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

ทุกข์กาย

ชีวิตทุกชีวิตต้องตกอยู่ในความแก่ชรา คร่ำคร่า ทรุดโทรม สังขารร่างกายต้องได้รับความเจ็บไข้ได้ป่วย และถึงแก่ความตายในที่สุด รวมถึงความทุกข์ทนทรมานจากการทำงานหนัก สภาพที่ต้องทนทุกข์ทรมานต่อการเสียดทานบีบคั้นของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความเบียดเบียนบีฑาจากศัตรูหมู่ปัจจามิตร ที่คอยบันดาลเวรภัยให้บังเกิดมีแก่เราได้ทุกขณะ

ทุกข์ใจ

นอกจากทุกชีวิตจะได้รับความทุกข์ทางกายมีประการดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สรรพชีวิตยังต้องประสบกับความทุกข์ทางใจ อันได้แก่ความไม่สบายใจ ความขัดใจ ความคับแค้น ความขัดเคืองใจ ความไม่สมหวัง ไม่สมความปรารถนา ความที่ต้องจำใจอยู่กับสภาพหรือกับบุคคลที่ไม่ชอบพอกัน หรือมีเวรภัยต่อกัน ความจำต้องพลัดพรากจากสิ่งหรือบุคคลที่เรารักใคร่ ชอบพอ หวงแหน อยากจะให้อยู่กับตนไปนานที่สุดเท่าที่จะนานได้

สิ่งเหล่านี้ คือความทุกข์ทางใจ ที่ทุกชีวิตจะต้องได้รับเสมอเหมือนกันอย่างแน่แท้ อาศัยเหตุแห่งเรื่องความทุกข์กายและทุกข์ใจที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสแสดง ชี้แจงเป็นแนวทางสำหรับการพิจารณาตัวเอง และมองผู้อื่นซึ่งเป็นเพื่อนร่วมโลกเดียวกันนี้ว่า ควรจะวางใจ-วางตัวกับเพื่อนร่วมโลกกันนี้อย่างไร จึงจะถูกต้อง และเป็นไปเพื่อความสงบสันติสุขทั้งกับตนเองและผู้อื่น

สมดังคำแผ่เมตตาที่ว่า “สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกใจเลย จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด”

จะพิจารณาเห็นได้ว่า บทแผ่เมตตานี้ กระตุ้นเตือนให้เราเห็นว่า ทุกชีวิตที่เกิดมา ล้วนแล้วแต่ต้องได้รับความทุกข์กายทุกข์ใจด้วยกันทั้งนั้น

ทำไมต้องยัดเยียดความทุกข์ให้แก่กันเพิ่มเติมอีกเล่า

ลำพังตัวเราเองก็มีความทุกข์อยู่แล้ว เพื่อนร่วมโลกของเรา เขาก็มีความทุกข์อันเป็นส่วนตัวของเขาอยู่แล้ว

คำถามคือ “เหตุใด เราจึงต้องยัดเยียดทุกข์ให้กับคนอื่นที่เขาก็มีทุกข์มากพออยู่แล้ว เพื่อให้เขาต้องมีความทุกข์ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก”

ซึ่งนอกจากเขาจะได้รับความทุกข์จากการกระทำและคำพูดของเราแล้ว ตัวเราเองก็ใช่ว่าจะมีความสุข จากการโยนความทุกข์ให้ผู้อื่นเสียเมื่อไหร่ ทั้งสองฝ่ายต่างก็ยิ่งเพิ่มความทุกข์ให้เกิดขึ้นทั้งกับร่างกายและจิตใจของกันและกันทั้งสิ้นดังนั้น

เมื่อพิจารณาเห็นแล้วว่า ตัวเราเองก็ชอบความสุขความสบาย และไม่ต้องการให้ชีวิตต้องมีความทุกข์แม้แต่เพียงเล็กน้อย ฉันใด ชีวิตของผู้อื่นก็ชอบความสุข ความสบาย และไม่ต้องการให้ชีวิตของเขามีความทุกข์เช่นเดียวกัน ฉันนั้น

ดังนั้น เราจึงควรตระหนักและสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ว่า เมื่อคิดจะทำอะไรอันอาจส่งผลหรือก่อให้เกิดผลกระทบกับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านบวกหรือด้านลบก็ตาม ให้เรารู้จักคิด “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา”

เอาใจเขา มาใส่ใจเรา

“เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” เป็นคำพูดพื้นๆ แต่เปี่ยมไปด้วยน้ำหนัก และคุณค่ามหาศาล ควรค่าแก่การน้อมนำเอามาเป็นธรรมะประดับจิตของเราให้งดงามและงอกเงย ควรแก่การยอมรับนับถือว่าเป็นกัลยาณชน

“เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” เป็นทางมาแห่งสันติภาพ เป็นทางมาแห่งความสุขของสังคมโลก

“เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” ทำให้คนเรายับยั้งการกระทำ หรือยั้งคิดได้ ก่อนที่จะใช้กิริยาหรือวาจาใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และส่งผลไม่ดีต่อจิตใจของผู้อื่น

“เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” ว่า การกระทำหรือคำพูดใดๆ ที่สร้างสรรค์และก่อให้เกิดผลดีและเสริมสร้างกำลังใจให้แก่ผู้อื่น การกระทำและคำพูดนั้นๆ เราควรแสดงออกหรือเอื้อนเอ่ยออกไป เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ก่อให้เกิดความรักใคร่ กลมเกลียวของสังคมโลก

อัตตานัง อุปะมัง กะเร – ใจเขาใจเรา

พระพุทธองค์ตรัสสอนเป็นพุทธศาสนสุภาษิต อันควรค่าแก่การน้อมนำรำลึกมาไว้ในจิตในใจของเราท่านทุกคนว่า“อัตตานัง อุปะมัง กะเร”พึงกระทำตนเองให้เป็นเครื่องเปรียบ (ตัวอย่าง)

ความหมายของพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้ แปลเอาความหรือเนื้อหาสาระได้ว่า “ควรทำตัวเองให้เป็นเครื่องเปรียบ” ว่า “เราไม่ชอบความทุกข์ทนทรมานทางกายและทางใจเช่นใด คนอื่นเช่นเดียวกัน”

และมีความหมายอีกนัยหนึ่งว่า “เราปรารถนาสิ่งที่เป็นความสุขทั้งทางกายและทางใจ คนอื่นก็ชอบเช่นเดียวกันกับเรา”

หรือแปลความหมายให้ตรงกับคำพังเพยของไทยว่า “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” ก็จะเข้ากับบริบทหรือความเข้าใจของคนไทยได้อย่างลึกซึ้งและกินใจมากกว่า

พุทธศาสนสุภาษิตของกระทรวงสาธารณสุข

พุทธศาสนสุภาษิตนี้ เป็นพุทธศาสนสุภาษิตประจำกระทรวงสาธารณสุขของไทย เพราะอาชีพของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีภาระหน้าที่หลักคือการรักษาอาการความทุกข์ทางร่างกาย และทางจิตใจของคนไข้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความเข้าใจคนไข้ เพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผล ไม่กระทบกระเทือนทั้งสภาพร่างกายและจิตใจของคนไข้

ตัวอย่างเช่น ในเวลาฉีดยา เจาะเลือด สอดใส่สายยางช่วยหายใจ ช่วยระบายขับถ่ายของเสียในร่างกาย หรือสายยางลำเลียงอาหารอ่อนเข้าสู่ร่างกายแทนระบบทางเดินอาหารตามปกติ การผ่าตัด การให้ยาแก่คนไข้ ต้องทำด้วยความระมัดระวังและพิถีพิถันอย่างที่สุด

เพราะเพียงแค่คนไข้ได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บไข้นั้นก็ถือว่าหนักเอาการอยู่แล้ว ไหนเลยจะต้องมาทนทุกข์ทรมานกับการที่ต้องให้แพทย์และพยาบาลใช้วิธีการรักษา หรือการใช้เครื่องมือแพทย์มาใช้ในการรักษา แบบไม่เอาใจเขามาใส่ใจเราอีก

คิดถึงใจคนไข้ด้วย

ต้องไม่ลืมว่า ทุกครั้งที่บุคลากรทางการแพทย์จะรักษาคนไข้ หรือใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ มาใช้สอดใส่เข้าไปในร่างกายของคนไข้ ต้องทำอย่างพิถีพิถัน ระมัดระวังทุกขั้นตอน ไม่ทำแบบรีบๆ เร่งๆ เร็วๆ รัวๆ ด้วยความรู้สึกเอาตนเองเป็นที่ตั้ง อย่างขาดความใส่ใจ

ควรระลึกเสมอว่า หากตัวเราเองหรือบุคคลที่เรารักมากๆ เช่น บิดา มารดา บุตร ธิดา สามี ภรรยาของเราเป็นคนไข้และต้องมารับการรักษา เราจะต้องเข้าใจ พิถีพิถัน และใส่ใจพวกเค้ามากเพียงไร กับคนไข้คนอื่นๆ ก็คงจะไม่ต่างกัน

เพราะถึงพวกเขาไม่ได้เป็นคนที่มีความสัมพันธ์โดยส่วนตัวกับเราในทางใดทางหนึ่ง แต่พวกเขาก็เป็นคนที่มีคนรัก และครอบครัวต้องการให้พวกเขานั้นได้รับการรักษาและหายขาดจากอาการของโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่อย่างแน่นอนไม่ต่างกัน และคิดคาดหวังลึกๆ ในใจว่า คุณหมอและบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำการรักษาให้นั้น จะคิด “เอาใจเขามาใส่ใจเรา”

ในกระบวนการรักษาคนไข้ทุกๆ รายจะกล่าวถึงการอยู่ร่วมกันของคนในทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ร่วมกันในฐานะคนรู้จักกัน เพื่อนกัน ระบบผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาก็เช่นเดียวกัน ต้องรู้จัก “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา

เจ้านายเข้าใจลูกน้อง

เจ้านายหรือผู้บังคับบัญชาก็ต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะบางครั้ง ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจไม่มีความรู้ความเข้าใจ หรือเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนในสิ่งที่บังคับสั่งการ ก็อาจทำให้ผลการปฏิบัติออกมาไม่ถูกต้อง หรือตรงกับความมุ่งหมายของผู้บังคับบัญชา หรือการบังคับสั่งการบางอย่าง อาจเกินวิสัยที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำได้

กรณีอย่างนี้ ก็ต้องเห็นอกเห็นใจ เข้าอกเข้าใจว่า บางที คนที่ผิดพลาดแท้จริงอาจไม่ใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาก็เป็นได้ อาจจะเป็นเพราะผู้บังคับบัญชาเองไม่ได้ “เลือกใช้คน ให้ถูกกับงาน” หรือไม่ได้ “Put the right man in the right job” ก็เลยทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีผลงานออกมา หรือมีผลงานออกมาในแบบที่ไม่มีคุณภาพ และไม่ตรงตามที่มุ่งหมายที่ประสงค์จะให้เป็น

เจ้านายที่ดี จึงควรมีลักษณะที่ต้องเข้าใจลูกน้อง ว่าลูกน้องของเราเด่นด้านไหน ด้อยด้านใด ไม่ได้เรื่องในเรื่องใดบ้าง ก็เลือกที่จะวิเคราะห์และเลือกใช้งานเขาให้ตรงกับความสามารถและความถนัดของเขา อย่างนี้จึงจะได้ผลงานจากเขา ตามศักยภาพที่เขามีและสามารถที่จะสนองงานได้ของเขาในการอยู่ร่วมกัน

บางครั้งลูกน้องเจ็บไข้ได้ป่วย มีความจำเป็นต้องขาดงาน ต้องลางานบ้าง ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลยพินิจของเจ้านายหรือผู้บังคับบัญชาว่า ลูกน้องมีเหตุผลความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน อย่างไร หากมีความจำเป็นเร่งด่วน หรือมีความสำคัญมาก ผู้บังคับบัญชาก็ควรอนุญาตให้ลาป่วย-ลากิจได้ ให้ไปโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยได้ ซึ่งก็แล้วแต่กรณีไป

ในกรณีลูกน้องป่วย ไม่สบาย มีไข้ขึ้น มีอาการบาดเจ็บอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้จะเล็กน้อย ก็ควรให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะหาไม่แล้ว อาจจะมีอาการหนักขึ้นจนก่อให้เกิดการขยายตัวของโรคภัยหรืออาการทรุดหนักขึ้นจนยากแก่การรักษาได้

เจ้านายหรือผู้บังคับบัญชาก็ควร “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” ว่า ถ้าหากเป็นตัวเราเอง หรือบุคคลที่เรารัก เช่น มารดาบิดา บุตรธิดา สามีหรือภรรยาของเรา เมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย ประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บอย่างนี้ เหตุผลความจำเป็นต่างๆ ก็คงจะพรั่งพรูออกมาจากความคิดความอ่านของเราในฉับพลันทันทีอย่างไร้เงื่อนไขข้อโต้แย้งมาหยุดรั้งอย่างแน่นอนว่า ต้องได้รับการรักษาเดี๋ยวนี้ หรือต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยทันที ไม่ควรปล่อยไว้นาน

นั่นเป็นเพราะว่าอะไร ? ตอบว่า นั่นก็เป็นเพราะว่า เรารักตัวของเราเองใช่หรือไม่ เรารักคนที่เป็นที่รักของเราเหล่านั้นใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ทำไม ??? เราจึงไม่เห็นใจผู้อื่น หรือผู้ที่เป็นลูกน้องของเราว่าจะต้องรู้สึกในแบบเดียวกันกับเราเช่นกันในการลากิจก็เช่นเดียวกัน

หากมีเหตุผลความจำเป็นอันเนื่องด้วยบิดามารดา บุตรธิดา สามีภรรยา หรือเนื่องด้วยครอบครัว ตลอดจนมรดกทรัพย์สินเงินทอง เทศกาลวันหยุดประจำปี วันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือเมื่อถึงวงรอบวาระที่จะต้องได้ลาพักเพื่อเดินทางไปเยี่ยมบ้าน ก็ควรอนุญาตให้ลูกน้องได้หยุดตามสิทธิที่จะพึงมีพึงได้เช่นเดียวกัน

เพราะเมื่อเอาความรู้สึกของเรามาจับ หรือเอาความรู้สึกของเรามาเปรียบเทียบ เมื่อถึงวันหยุดต่างๆ และวงรอบวาระที่จะต้องได้ลาพักตามสิทธิของเรา ตัวเราเองก็ยังอยากจะได้ลาพัก ได้ลาหยุดไปใช้ชีวิตกับครอบครัว กับคนที่เรารัก ได้ไปทำบุญร่วมกับชุมชน-สังคมอันเป็นภูมิลำเนาบ้านเกิด เพื่อได้พบปะญาติและคนที่เรารักใคร่หรือนับถือกัน ซึ่งชะเง้อชะแง้รอคอยการกลับไปของเรา ซึ่งมีผลมากๆ ทางด้านจิตใจ ถือว่าเป็นการอนุญาตให้ไปชาร์จพลังงานเพื่อมีกำลังในการกลับมาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในห้วงเวลาวันทำงานปกติ

หรือหากลูกน้องมีวาระเวรยามตรงกับวันหยุด เมื่อได้ปฏิบัติหน้าที่จนคบกำหนดแล้ว ก็พึงปล่อยให้ลาหยุดได้ในทันที เพื่อชดเชยวันหยุดอันเป็นสิทธิของเขาได้โดยปราศจากเงื่อนไข เพราะอย่าลืมว่าต้องรู้จัก “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา”

การ “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” มีอานิสงส์หรือผลดีอย่างไร ? คำตอบก็คือ เป็นการไม่เบียดเบียนทำร้าย ยัดเยียดโยนความทุกข์ให้กับคนอื่น เป็นการเพิ่มทุกข์ให้กับทั้งสองฝ่ายคือทั้งกับตนเองและคนอื่นไปพร้อมๆ กัน มีความรักใคร่ นับถือ ให้เกียรติ ไม่ละเมิดสิทธิของกันและกัน สังคมเกิดสันติสุข เกิดความสมัครสมานสามัคคีกลมเกลียวกัน

ผู้ที่เป็นเจ้านายก็ย่อมได้รับความนับถือ ยกย่อง เทิดทูน บูชาจากลูกน้องอย่างบริสุทธิ์ใจ ฝ่ายลูกน้องก็ได้รับสิทธิอันตนจะพึงมีพึงได้ โดยปราศจากการเบียดบัง เบียดเบียน หรืออคติต่างๆ จากผู้ที่เป็นเจ้านาย

ทำให้มีกำลังใจ และเสริมแรงให้มีศักยภาพในการทำงานให้เจ้านายอย่างเต็มศักยภาพ มีความเคารพนับถือเจ้านายอย่างจริงใจ และอาสาเป็นธุระให้นายได้โดยไม่ต้องรอให้บังคับสั่งการ เรียกว่างานนี้เจ้านายได้ใจลูกน้องไปแบบเต็มๆ

ขอเชิญทุกๆ ท่าน มาร่วมสำรวจตรวจสอบตัวเองว่า ที่ผ่านมา เราได้เคย “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” แค่ไหนอย่างไร เป็นกำลังใจให้กับนักสู้ชีวิตทุกๆ ท่านครับ

ใส่ความเห็น