pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ : การหาเงินและใช้เงินอย่างชาญฉลาด

เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ : การหาเงินและใช้เงินชาญฉลาดในทัศนะของพระพุทธศาสนา

เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หมายถึงวิธีการหาเงินและวิธีการใช้เงินอย่างชาญฉลาด คงเป็นเคล็ดลับที่หลายๆ คน ต้องการที่จะเรียนรู้ และทำให้ได้ เพื่อประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการเงินของตนเอง เพราะว่า การทำเงิน หรือ การหาเงิน โดยรวมแล้ว ก็คงหมายถึงวิธีการหาเงิน หรือวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทองของตอบแทนต่างๆ ซึ่งเป็นทรัพย์สินเครื่องปลื้มใจ หรือเป็นหลักฐานเครื่องรับประกันความมั่นคงในชีวิตคฤหัสถ์ ในทางพระพุทธศาสนาหมายถึง หลักธรรมที่ทำให้ร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทอง ได้แก่ หลักหัวใจเศรษฐี หรือ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในปัจจุบันชาติ

การทำเงิน หรือการหาเงินนั้น ในทางพระพุทธศาสนามีข้อแนะนำว่า ต้องประกอบไปด้วยหลักธรรมอันเป็นหัวใจของเศรษฐี 4 ข้อ ดังนี้

1. อุฏฐานสัมปทา  ขยันหา  คือ มีความขยัน ไม่งอมืองอเท้า ขี้เกียจขี้คร้าน มองเห็นโอกาสของการทำงานหาเงินได้ตลอดเวลา

2. อารักขสัมปทา รักษาดี คือ เมื่อหาเงินมาได้แล้ว ก็ต้องรู้จักประหยัดอดออมเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่น ยามเจ็บป่วย ยามเดือดร้อนต้องการใช้เงิน หรือเก็บสะสมไว้เป็นทุนในการลงทุนเพื่ออนาคต

3. กัลยาณมิตตตา มีกัลยาณมิตร คือ คบเพื่อนดีที่สามารถส่งเสริมกิจการของเรา หรือชักจูงเราเพื่อให้ได้ทำงานสร้างเงินร่ำรวยไปด้วยกัน ไม่ใช่คบแต่เพื่อนที่ชักชวนไปในทางตกต่ำเสียหาย

4. สมานัตตตา ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง คือ ใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานของรายได้ ใช้จ่ายอยู่บนพื้นฐานของความจริง ตามสมควรแก่ฐานะทางการเงินที่มีอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ้งเฟ้อจนเกินตัว ซึ่งจะนำความลำบากมาให้ในภายหลัง

เมื่อทำได้ครบทั้ง 4 อย่างนี้แล้ว ความร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทองก็จะบังเกิดมีขึ้นกับเราได้อย่างแน่นอน เรียกว่า สามารถทำเงิน สร้างเนื้อสร้างตัวได้อย่างแน่นอน…

ติดตามรับฟังบทความผ่าน Youtube ได้ที่ :

ใส่ความเห็น