pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

ทำแค่ 4 อย่าง ก็สร้างศรัทธา

ที่มาของศรัทธา

คุณเคยสังเกตบ้างหรือเปล่าว่า ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา เราเคยได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากผู้อื่นบ้างหรือไม่ เคยได้รับความสงเคราะห์อนุเคราะห์จากผู้อื่นกี่ครั้งกี่ครา ก่อนอื่นให้มีความเชื่อเสียก่อนเถอะว่า ตั้งแต่เกิดจนตาย คนเรานั้น ไม่สามารถที่จะยืนหยัดอยู่ได้โดยลำพังแต่ผู้เดียว เพราะมนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม จำเป็นอยู่เองที่จะต้องรวมกลุ่มเป็นสังคม เป็นชุมชน เป็นชนเผ่า เป็นชาติพันธุ์ต่างๆ กัน

ดังนั้น การช่วยเหลือเกื้อกูล หยิบยื่นน้ำใจไมตรีให้กันและกัน จึงเป็นเรื่องที่ควรทำ และเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ สำหรับการอยู่อาศัยแบบสังคมที่ต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

แต่ก็บ่อยครั้ง ที่ชีวิตต้องมาพบเจอกับสิ่งที่เรียกว่าความอยุติธรรมในสังคม ซึ่งความอยุติธรรมนี้ ผู้ที่สามารถสร้างมันขึ้นมาได้ต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในฐานะของความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ได้รับการยอมรับจากสังคม อาจจะจำแนกโดยคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เช่น ความอาวุโสด้านอายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือผู้ที่ดำรงอยู่ในฐานะของฝ่ายที่ได้เปรียบหรือเป็นฝ่ายมีอำนาจให้คุณและให้โทษผู้อื่นได้ ซึ่งในที่นี้ขออนุญาตเรียกว่า “ผู้หลัก-ผู้ใหญ่”

คำว่า “ผู้หลัก-ผู้ใหญ่” ประกอบด้วยคำหลัก 2 คำ คือ 1) ผู้หลัก และ 2) คือคำว่า ผู้ใหญ่ ซึ่งจะขออนุญาตให้นิยามความหมายของคำ 2 คำ นี้ ต่อไป

1. ผู้หลัก

ผุ้หลัก หมายถึง บุคคลผู้ที่สามารถเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นผู้ป้องกัน เป็นผู้คุ้มครอง เป็นผู้สามารถให้คำปรึกษากับเราได้จริง หมายความว่า สามารถอยู่เป็นหลักพึ่งพิงให้กับเราได้ ว่าโดยความหมายก็คือเป็นผู้ที่เรียกว่า “ใจถึง พึ่งได้” นั่นเอง ไม่ใช่เป็นเพียง “ไม้หลักที่ปักกลางเลน” ที่เมื่อมีลมหรือกระแสน้ำพัดผ่านก็โยกคลอนเคลื่อนย้ายส่ายไปมา ไม่สามารถยึดเอาเป็นที่พึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวได้

2. ผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ ไม่ได้หมายถึง ผู้ที่มีอายุมาก ผู้ที่มีผมหงอก หัวล้าน ผิวหนังเหี่ยวย่น ชราวัย หรือเกิดมานาน อยู่ดูโลกมานานแต่อย่างใด

ผู้ใหญ่ในที่นี้ หมายถึง ผู้ที่มีจิตใจยิ่งใหญ่ มีคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่น่ารัก น่าเคารพ น่าศรัทธา และน่าเลื่อมใสของผู้น้อยหรือผู้ได้พบเห็นหรือได้สัมผัส โดยอาศัยการอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน หรือกริยาที่อนุเคราะห์สงเคราะห์ผ่านกิจกรรมหรือโอกาสต่างๆ

ซึ่งในที่นี้ อาจหมายความถึงผู้อาวุโส ผู้ทรงวัยวุฒิก็ได้ แต่ต้องมีเงื่อนไขสำคัญคือต้องมีคุณธรรมอันเป็นเครื่องหมายของผู้ใหญ่อย่างสำคัญ

แม้หากจะเป็นผู้อ่อนวัยกว่า แต่มีคุณวุฒิสูงกว่า มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่า อยู่ในฐานนะของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตัดสิน หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่บุคคลอื่น อย่างนี้ก็รวมความลงในความหมายของคำว่า “ผู้ใหญ่” ในที่นี้

ถามว่า “ผู้ใหญ่” ดังที่ได้ให้นิยามไปแล้วข้างต้นนั้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้มีวัยวุฒิสูงกว่า มีคุณวุฒิสูงกว่า มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่า ดำรงตนอยู่ในฐานะผู้ให้การตัดสินให้บุคคลอื่น ซึ่งมีผลผูกพันไปถึงการจะต้องให้ผู้อื่นได้รับคุณประโยชน์ ขาดจากประโยชน์ หรือต้องถูกลงทัณฑ์ลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม

สิ่งต่างๆ อันเป็นคุณสมบัติดังที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น จะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลยต่อความเป็นผู้ใหญ่ของเขา หากขาดคุณธรรม 4 ข้อ ที่จะหล่อหลอมและสร้างความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่น่าเคารพรักศรัทธาให้เกิดขึ้นจนเป็นที่ยอมรับจากบุคคลอื่น ซึ่งคุณธรรม 4 ข้อนั้น ได้แก่

1. เมตตา

เมตตา แปลง่ายๆ ว่า มีความรักและปรารถนาดีต่อผู้อื่นอยู่เสมอ คุณธรรมข้อนี้เป็นคุณธรรมข้อแรกของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคม

เราอาจเคยได้ยินคำพูดเหล่านี้อยู่บ่อยๆ ในชีวิตประจำวันว่า “ท่านเมตตาต่อเรามากเลยนะ” หรือ “ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีเมตตาสูง” หรือว่า “ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาสูงมาก” อย่างนี้เป็นต้น

นั่นหมายความว่า ผู้ที่จะเป็นที่เคารพรักและศรัทธา เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ให้คนอื่นพึ่งพาอาศัยได้นั้น ต้องมีความรักและปรารถนาดีต่อผู้อื่นเป็นอย่างแรกเลย

หาไม่แล้ว ก็ไม่อาจจะให้คุณธรรมของผู้หลักผู้ใหญ่ข้ออื่นตามมาอีกได้เลย เพราะถ้าไม่รัก ไม่ปรารถนาดีต่อผู้อื่นแล้ว ก็ยากที่จะมีการอนุเคราะห์สงเคราะห์ผู้อื่นตามมาได้อย่างแน่นอน

ซึ่งความเมตตานี้ ใช้ในโอกาสที่ผู้น้อยหรือผู้ที่อยู่ในความดูแลรักษาป้องกันของเรานั้นอยู่ดีมีสุข ไม่ได้เดือดเนื้อร้อนใจอะไร เรียกได้ว่า ควรใช้เมตตาในสถานการณ์ปกติทั่วๆ ไปนั่นเอง

2. กรุณา

กรุณา แปลว่า สงสาร หมายความว่า นอกจากผู้หลักผู้ใหญ่จะรักและปรารถนาดีต่อผู้อื่นดังที่ได้กล่าวไปในข้อ 1 แล้วนั้น

ในความเป็นจริง ชีวิตทุกคนย่อมจะต้องมีปัญหาอุปสรรคหรือความยุ่งยาก ความพลัดพรากเสียใจมาด้วยกันทั้งนั้น ต่างแต่จะหนักหนาสาหัส มากหรือว่าน้อยเพียงใดเท่านั้นเอง

เมื่อเกิดมีข้อขัดข้องด้วยปัญหาอุปสรรคอุปัทวันตรายใดๆ หรืออยู่ในห้วงของวันเวลาที่ไม่เป็นใจ เป็นเหตุให้ต้องทุกข์ขมระทมใจ ก็เป็นหน้าที่ของผู้หลักผู้ใหญ่ที่จะต้องหยิบยื่นความกรุณาสงสาร ต้องการช่วยเหลือให้พ้นจากสภาวะความทุกข์ระทมอันนั้น

“ความกรุณา” ที่แปลว่า “ความสงสาร” ในภาษาไทย ตีความออกไปได้อีกก็คือ “ความปรารถนาจะช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์ ปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้อง ความเดือดร้อนนั้นๆ ”

คุณธรรมข้อนี้ ไม่ได้หมายความเพียงแค่ว่า “รู้สึกสงสารจนจับใจ” แล้วก็ไม่ทำอะไร ไม่คิดหาทางช่วยเหลือ ไม่ลงมือช่วยเหลือ หากแต่ลงลึกไปถึงการหาวิธีการช่วยเหลือและการลงมือช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ไม่สามารถที่จะทนเห็นผู้อื่นหรือผู้ที่อยู่ภายใต้ปกครองดูแลนั้นต้องประสบทุกข์ต่อไปได้

คุณธรรมที่เรียกว่า “กรุณา-สงสาร” นี้ จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ เหตุการณ์ไม่ปกติ เหตุการณ์ที่ผู้น้อยหรือผู้อยู่ใต้การปกครองดูแลนั้นประสบกับความทุกข์ ปัญหาอุปสรรคหรือภัยพิบัติอื่นใด ทั้งด้านกายภาพและจิตภาพ

3. มุทิตา

มุทิตา แปลว่า “ความยินดีด้วย” “ความดีใจด้วย” “การแสดงความยินดีด้วย” หรือตรงกับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “Congratulations”

ซึ่งคุณธรรมข้อนี้ จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อเกิดสถานการณ์ผิดปกติ เหตุการณ์ไมปกติ แต่เป็นเหตุการณ์ที่น่ายินดี น่าปลาบปลื้มใจ น่าปีติยินดี เช่น ในโอกาสที่เห็นผู้น้อยหรือผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองดูแลประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัล หรือได้รับการยกย่องในโอกาสต่างๆ

ผู้ที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ก็จะคอยเป็นกำลังใจ คอยร่วมแสดงความยินดีในทุกครั้งทุกโอกาส เกิดเป็นจิตใจอ่อนโยน ประหนึ่งว่าตนเองได้รับความสุขและความสำเร็จอันนั้นเสียเอง ไม่มีจิตคิดอิจฉาริษยา หรือเกี่ยงงอนน้อยใจเลยแม้แต่น้อย ยิ่งประสบความสำเร็จหรือมีความสุขมากเพียงใด ตนในฐานะของผู้หลักผู้ใหญ่ก็รู้สึกมีความสุขและมีความยินดีเพียงนั้น

4. อุเบกขา

อุเบกขา แปลว่า “ความวางเฉย” แต่ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงความวางเฉย ความปลงแบบไร้สาระ ไร้เหตุผล แต่หมายถึง “ความเที่ยงแท้” “ความเที่ยงตรง” หรือ “ความบริสุทธิ์ยุติธรรม” ที่เป็นคุณธรรมสำคัญที่ผู้หลักผู้ใหญ่จำเป็นต้องมี

เพราะคุณธรรมข้อนี้มีความสำคัญมากๆ และทำได้ยากยิ่ง หากผู้หลักผู้ใหญ่ขาดคุณธรรมข้อนี้แล้ว ก็ไม่สามารถเรียกความเคารพรักและความศรัทธาจากใครได้เลย

ที่กล่าวอุเบกขาว่า หมายถึง “ความวางเฉย” ก็เพราะในบางสถานการณ์ ที่เมื่อรู้อยู่แก่ใจว่าผู้น้อยหรือผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองดูแลของตน ซึ่งตนรัก เมตตา ปรารถนาดีด้วยอย่างจริงใจนั้น ได้กระทำความผิดจนต้องได้รับโทษทัณฑ์อันสมควรแก่การกระทำผิดของตน

ตนในฐานะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ก็ไม่คิดจะแทรกแซงช่วยเหลือ หรือทำผิดให้กลายเป็นถูก-ทำถูกให้กลายเป็นผิด

แต่ให้ผลของการกระทำ (กรรม) หรือตัวบทกฎหมายเป็นครูสอนให้เขาได้เกิดความสำนึกได้ด้วยตัวของเขาเอง ไม่ทำตัวเป็นพ่อแม่รังแกฉัน หรือรักลูกไม่ถูกทาง

ตัวอย่างง่ายๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ลงโทษลูกศิษย์ที่กระทำความผิดให้สำนึกถึงความผิดที่ได้ทำลงไป ก็ถือว่าได้ใช้คุณธรรมข้อที่เรียกว่า “อุเบกขา” นี้ เช่นเดียวกัน

คุณธรรมข้อนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยวดยิ่งสำหรับผู้หลักผู้ใหญ่ เพราะจะเรียกความเคารพรักศรัทธาจากผู้อื่นได้ด้วยความจริงใจหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับคุณธรรมข้อนี้เป็นสำคัญ

นั่นหมายความว่า สามารถที่จะให้ความเป็นธรรมกับใครๆ ได้อย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ หาไม่แล้ว ก็จะกลายเป็นอุ้มคนผิด เข้าข้างคนผิด เป็นคนอยุติธรรมลำเอียง เสียผู้เสียคน เสียความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของเราไปในที่สุด

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับคุณธรรม 4 ข้อหลัก ที่หล่อหลอมและสร้างความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ และความเจริญเติบโตงอกงามทางความคิด เป็นบุคคลตัวอย่าง เป็นบุคคลต้นแบบให้กับผู้อื่นได้ดำเนินรอยตาม สร้างความเคารพรักและศรัทธาให้กับผู้คนทั่วไปได้อย่างเหลือเชื่อ

ซึ่งเคล็ดลับแห่งคุณธรรมทั้ง 4 ข้อนี้ ผู้เขียนได้เขียนขึ้นโดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือหลักพรหมวิหาร 4 ซึ่งเป็นคุณธรรมของผู้หลักผู้ใหญ่ ดังที่ได้นำเสนอไปแล้วในบทความนี้

เพราะถ้าหากผู้หลักผู้ใหญ่ท่านใดก็ตามที่ขาดคุณธรรมทั้ง 4 ข้อนี้ไปข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้งหมดทุกข้อ ก็จะกลายเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ไม่น่าเคารพนับถือ กลายเป็นข้อติฉินนินทาของคนอื่นตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และที่สำคัญคือ ทำให้เป็นผู้ที่ขาดเสน่ห์ไปอย่างน่าเสียดายเป็นที่สุด

แต่ถ้าหากผู้หลักผู้ใหญ่ท่านใดที่สามารถหล่อหลอมและสร้างตนเองให้เติบโตด้วยคุณธรรมทั้ง 4 ข้อนี้เป็นอย่างดี แน่นอนที่สุด ท่านก็จะได้รับความเคารพรัก นับถือ ศรัทธา และเชื่อมั่นจากบุคคลอื่นอย่างแน่นอน

“แพรว…ด้วยความรู้ – พราว…ด้วยประสบการณ์”