pin up1 winaviator mostbetpinup casino1 winmostbet kzmosbet casinoaviatorlucky jet1 winpin up casino india1win slotlucky jet casinopinup az4r betmosbet indiamosbet aviatormostbet casino1win kz1 win4rabet indiapin-up kzmosbetmosbet1 win1win1win aviatorpin upparimatchlucky jet4rabetмостбет1win loginpin up 777mostbet1 вин авиаторpin uplucky jet1 winpin up4rabetpinupmosbet1 winmostbet azluckygetmostbetmosbetmostbet casino1wınparimatch

ธรรมมีอุปการะมาก

ขาด 2 สิ่งนี้ อยู่ก็เหมือนตาย

จากการสำรวจ มนุษย์มีอายุขัยโดยประมาณอยู่ที่ 70-72 ปี จากเดิมที่มีความเชื่อว่ามนุษย์มีอายุยืนยาวได้ถึง 100 ปี

แต่จะมีสักกี่คนที่มีอายุยืนยาวได้ถึง 100 ปี เพราะจากการสำรวจพบกว่า อายุโดยเฉลี่ยของคนไทยนั้นอยู่ที่ 75 ปี เท่านั้น

นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมอีกว่า ผู้หญิงจะมีอายุโดยเฉลี่ยมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงนั้นมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรค อุบัติเหตุ หรืออัตราเสี่ยงต่อการพิการหรือเสียชีวิตน้อยกว่าผู้ชาย

ซึ่งสาเหตุก็มาจากผู้ชายมีกิจกรรมหรือประกอบอาชีพที่มีความลำบากตรากตรำหรือมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม มนุษย์ไม่ได้มีอายุยืนยาวมากมายเท่าใดนัก แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นบรมครูของโลก ก็ทรงดำรงพระชนม์อยู่ไม่ถึง 100 ปี เพราะพระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่ตลอดพระชนมชีพเพียงแค่ 80 ปี เท่านั้น

ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้คนเราไม่ประมาทในการใช้ชีวิต เพราะไม่สำคัญว่าคนเราจะมีอายุอยู่ยืนยาวสักเท่าใด แต่สำคัญอยู่ที่การใช้ชีวิตที่มีอยู่อย่างน้อยนิด ก่อนที่จะสิ้นลมหายใจจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกตามคติธรรมดาของทุกชีวิตนั้น “เรา” ได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ให้กับตนเอง คนที่เรารัก บุคคลอื่น สังคมโดยรวม ประเทศชาติ แก่โลกและจักรวาลนี้อย่างไรบ้าง

และสิ่งที่เราทำลงไปนั้น เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ เป็นความดีหรือเป็นความชั่ว มีความสร้างสรรค์จรรโลงโลกหรือว่าเป็นสิ่งที่เหลวไหลไร้สาระมากกว่ากัน หาไม่แล้วชีวิตของเราก็จะล้มเหลวไม่ประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา

ชีวิตคนเรานั้นช่างแสนสั้นนัก การใช้ชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาทจึงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักให้มาก เพราะผู้ที่ประมาทในการใช้ชีวิตพระพุทธองค์ตรัสว่า “เป็นหนทางแห่งความตาย” สมดังพุทธภาษิตที่ว่า “ปะมาโท มัจจุโน ปะทัง – ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย” หมายความว่า ผู้ที่มีชีวิตอยู่ หรือใช้ชีวิตอยู่ด้วยความประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็ตาม ก็เป็นประหนึ่งว่าได้ตายไปแล้ว

ถามว่า ผู้ประมาทหมายถึงบุคคลเช่นไร ทำไมผู้ประมาทถึงแม้ว่ามีชีวิตอยู่ ก็เปรียบเสมือนคนที่ตายแล้ว

ตอบว่า ผู้ประมาทก็หมายถึงบุคคลที่ขาดหลักธรรม 2 ประการในการดำเนินชีวิต ซึ่งหลักธรรม 2 ประการนี้ มีความสำคัญมากๆ เรียกได้ว่ามีอุปการะมาก คอยสนับสนุนประคับประคองชี้ทางชีวิตให้มีทิศทาง ให้ชีวิตมีคุณค่า ให้ชีวิตมีความหมาย ให้ชีวิตมีความแจ่มใสสดชื่น ให้ชีวิตเป็นชีวิตที่ไม่อับเฉาเศร้าหมอง เป็นชีวิตที่มีชีวิตชีวา ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควร ได้แก่

1. สติ

สติ หมายถึง ความระลึกรู้ ความระลึกได้ ในทุกขณะที่ทำ ในทุกคำที่พูด คือรู้ปัจจุบันขณะว่า บัดนี้ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ เรากำลังทำ เรากำลังพูด เรากำลังรู้สึก เรากำลังนึกคิด เรากำลังเห็น เรากำลังได้ยิน เรากำลังได้กลิ่น เรากำลังลิ้มรส เรากำลังสัมผัส เรากำลังรับรู้อารมณ์ที่มากระทบอย่างไร

เพราะในทางพระพุทธศาสนานั้น “ปัจจุบันขณะ” ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญที่สุดในการใช้ชีวิต เป็นเข็มทิศชี้ทางให้สุขหรือทุกข์ก็ได้ ไม่ว่าจะในขณะจิตเดียวนั้นก็ตาม หรือว่าจะส่งผลไปสู่อนาคตกาลในชาติปัจจุบันหรือในชาติหน้าก็ได้เช่นเดียวกัน

หากคนเราขาดสติแล้ว ทุกการกระทำ ทุกคำพูด ก็จะมีความบกพร่อง ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ส่งผลกระทบในทางลบให้แก่ผู้ทำหรือผู้พูดนั้นได้อย่างแน่นอน เช่น เราทำงานกับเครื่องจักรเครื่องยนต์ หากขาดสติก็จะทำให้งานที่ทำเกิดความผิดพลาด เป็นอันตรายทั้งต่ออวัยวะ ชีวิตและทรัพย์สินได้

เมื่อเราพูดไปโดยขาดความยั้งคิดตริตรองให้ดีเสียก่อน ผลเสียจากการพูดนั้นก็จะส่งผลลบให้กับเราตามมาในภายหลังได้ หากเราคิดโดยปราศจากสติ ก็จะทำให้เราคิดในสิ่งที่เป็นบาปอกุศล คิดเพ้อเจ้อเลอะเทอะเหลวไหลไร้สาระ ซึ่งก็จะส่งผ่านมาทางการกระทำและคำพูด ผลลบหรือผลร้ายก็จะบังเกิดขึ้นกับตัวผู้คิดนั้นอย่างแน่นอน

เมื่อสติมีความสำคัญกับการใช้ชีวิตอย่างนี้แล้ว เราจึงควรเจริญสติให้มาก เพราะหากขาดสติไปแม้ชั่วขณะจิตเดียว ก็จะกลายเป็นผู้ประมาทพลาดพลั้ง เกิดผลเสียมากกว่าผลดี มีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนที่ได้ตายไปแล้ว อีกทั้งเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความตายได้จริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องอุปมาแต่อย่างใด

2. สัมปชัญญะ

สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้สึกตัว คือความรู้สึกตัวทั้งในปัจจุบัน อดีต และอนาคต ซึ่งเป็นผลจากการเจริญสติในข้อ 1 ได้เป็นอย่างดี ทำอย่างต่อเนื่องติดต่อกันจนเกิดความชำนิชำนาญคล่องแล้วเป็นพิเศษแล้ว สัมปชัญญะก็จะเกิดตามมา หรืออาจกล่าวได้ว่า สัมปชัญญะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันกับสติ และสติก็เป็นองค์ประกอบหลักของสัมปชัญญะ

เพียงแต่ว่าสัมปชัญญะนั้น เป็นองค์ความรู้อันเกิดจากความเชี่ยวชาญการใช้สติอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้เกิดปัญญา เกิดเป็นองค์ความรู้อย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง ทั้งในเหตุการณ์ในอดีต เหตุการณ์ ณ ปัจจุบันหรือปัจจุบันขณะ และสามารถล่วงรู้หรือคาดการณ์สิ่งหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

ซึ่งการกล่าวถึงสัมปชัญญะในลักษณะนี้ ไม่ได้อ้างอิงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หรือองค์ญาณฌานสมาบัติแต่อย่างใด เพราะแม้กระทั่งบุคคลธรรมดาสามัญที่ประกอบอาชีพหน้าที่การงานอยู่ตามวิถีของปุถุชนก็สามารถมีสัมปชัญญะได้เช่นเดียวกัน ต่างแต่เป็นสัมปชัญญะที่มีความละเอียดหรือประณีตมากกว่ากันก็เท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรากำลังขับรถอยู่ สติก็ต้องคอยกำกับอยู่กับพวงมาลัยรถ เบรค คันเร่ง เกียร์ กระจกหน้า กระจกมองข้าง กระจกหลัง สัญญาณไฟจราจร รถที่ขับสวนเลนมา รถที่ตามหลังมา รถที่ตีไฟขอแซงขึ้นมา รถมอเตอร์ไซค์ที่อยู่ขนาบข้างแทรกอยู่ในระหว่าง ขณะนี้เราอยู่บนเส้นทาง หรืออยู่บนจุดหรือเส้นทางใด ก็มีสติกำกับอยู่ทุกขณะจิต หรือทุกเสี้ยววินาที

หากมีสติกำกับอยู่ได้เช่นนี้ การขับรถก็จะปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่การขับรถด้วยสติคอยระมัดระวังและกำกับอยู่เช่นนี้ ก็มีผลเพียงแค่ประคับประคองรถไปให้แล่นอยู่บนเลนบนเส้นทางที่แล่นไปไม่ให้ไปเฉี่ยวชน หยุดนิ่ง หรือปาดหน้ารถคันอื่นจนเกิดเป็นอุบัติเหตุบนท้องถนนเท่านั้น

แต่สัมปชัญญะมีอุปการะมากไปกว่านั้น หากเปรียบการใช้สัมปชัญญะกับการขับรถ ก็เสมือนหนึ่งว่า นอกจากเราจะสามารถมีสติควบคุมกำกับการขับรถได้อย่างปลอดภัยในปัจจุบันขณะแล้ว เรายังสามารถนึกย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นที่เราขับรถออกมา ผ่านเส้นทางไหน สถานที่ใดบ้าง

นอกจากนั้น ยังสามารถนึกวาดภาพเส้นทางในอนาคตที่เราจะต้องขับรถผ่านไปว่าจะต้องผ่านเส้นทางไหน หรือสถานที่ใดบ้าง ผ่านระยะทางยาวไกลแค่ไหนเพียงไร ใช้เวลาประมาณเท่าใด จนกว่าจะถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ และที่สำคัญที่สุด จุดหมายที่เราจะไปนั้นคือที่ใด

ตลอดจนสามารถคาดการณ์เส้นทางลัด เส้นทางที่มีรถติด เส้นทางสะดวก เส้นทางที่กำลังก่อสร้าง ผิวทางจราจรต่างระดับได้ คือสามารถวาดภาพเส้นทางที่จะต้องผ่านไปแต่ละเส้นทาง ผ่านสถานที่แต่ละสถานที่ แต่ละจุดได้จนกระทั่งถึงที่หมายได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญการ อย่างนี้เรียกว่า “สัมปชัญญะ”

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวอ้างมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่า สติ และ สัมปชัญญะ 2 สิ่งนี้ มีความสำคัญยิ่งกับการใช้ชีวิตของคนเรา เพราะหากคนเราใช้ชีวิตโดยปราศจากหลักธรรม 2 ประการนี้แล้ว ชีวิตก็ไร้สิ่งมากำกับควบคุมประคับประคองให้ไปสู่ทางรอดปลอดภัยได้

สุดท้ายก็จะต้องจ่อมจมอยู่ในวังวนแห่งความบกพร่อง ผิดพลาด ผิดหวัง หลงทาง และเสียหายทั้งต่อเวลา โอกาส ชีวิต ทรัพย์สินเงินทอง หน้าทีการงาน เพื่อนฝูงญาติพี่น้อง

ดังนั้น ผู้ที่มีชีวิตโดยปราศจากหลักธรรม 2 ประการนี้ ถึงมีชีวิตอยู่ พระพุทธองค์ก็ตรัสเรียกว่าเป็นเหมือนกับบุคคลที่ตายไปแล้ว มาถึงตอนนี้แล้ว ท่านผู้อ่านละครับ มี 2 สิ่งที่ว่านี้ครบแล้วหรือยัง…?

“แพรว…ด้วยความรู้ – พราว…ด้วยประสบการณ์”